พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ต้องเสียภาษีและการเรียกคืนเงินกรณีสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิต ไม่ใช่ทดแทน
โจทก์สั่งเครื่องตักฝุ่นและแผงสวิทซ์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในการผลิต ไม่ใช่สั่งเข้ามาภายหลังแทนของเดิม โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เรียกคืนได้ ไม่ใช่เงินที่โจทก์ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจหรือชำระหนี้ที่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินสมรสและการติดตามทรัพย์คืน ความแตกต่างระหว่างละเมิดกับสัญญา
ฟ้องว่าจำเลยแกล้งยึดทรัพย์ละเมิดสิทธิของโจทก์ แต่โจทก์ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์กับดอกเบี้ย เป็นเรื่องติดตามเอาทรัพย์คืน ไม่ใช่ละเมิดที่ใช้อายุความ 1 ปี
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรวมทั้งหุ้นในบริษัทจำกัดหรือสิทธิการเช่า สิ่งที่ซื้อมาด้วยสินส่วนตัวหรือดอกผลของสินส่วนตัวไม่เข้า มาตรา 1465 เป็นสินสมรส สิ่งที่ได้มาโดยหนังสือยกให้ไม่มีระบุว่าเป็นสินส่วนตัว ก็เป็นสินสมรส ดอกผลของสินเดิมเป็นสินสมรส เครื่องใช้ส่วนตัวตามฐานะเป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์ซึ่งอยู่ที่คนภายนอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยึดตามประมวลรัษฎากร ไม่ได้ใช้คำว่าอายัด ผลก็คือต้องส่งมอบแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงไม่แตกต่างกัน
ฟ้องเรียกสินเดิมและสินส่วนตัวคืน แต่ไม่ระบุว่าเครื่องประดับและรถยนต์ที่เรียกคืนมีอะไรบ้าง รถคันไหนเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรวมทั้งหุ้นในบริษัทจำกัดหรือสิทธิการเช่า สิ่งที่ซื้อมาด้วยสินส่วนตัวหรือดอกผลของสินส่วนตัวไม่เข้า มาตรา 1465 เป็นสินสมรส สิ่งที่ได้มาโดยหนังสือยกให้ไม่มีระบุว่าเป็นสินส่วนตัว ก็เป็นสินสมรส ดอกผลของสินเดิมเป็นสินสมรส เครื่องใช้ส่วนตัวตามฐานะเป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์ซึ่งอยู่ที่คนภายนอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยึดตามประมวลรัษฎากร ไม่ได้ใช้คำว่าอายัด ผลก็คือต้องส่งมอบแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงไม่แตกต่างกัน
ฟ้องเรียกสินเดิมและสินส่วนตัวคืน แต่ไม่ระบุว่าเครื่องประดับและรถยนต์ที่เรียกคืนมีอะไรบ้าง รถคันไหนเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีนำเข้า กรณีผู้ประกอบการค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายศุลกากร และการประเมินภาษี
โจทก์ขอคืนภาษี จำเลยไม่คืนให้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศเสียภาษีการค้าเหมือนผู้ประกอบการ ค่าระวางเรือหักลดหย่อนได้
ตัวแทนในประเทศไทยของบริษัทต่างประเทศต้องเสียภาษีการค้าดุจเป็นผู้ประกอบการค้าเอง เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีจากตัวแทนรวมกันทุกบริษัทได้ โดยไม่ต้องแยกแต่ละบริษัทที่ตัวแทนทำการแทน ในส่วนค่าระวางเรือที่ได้รับส่วนแบ่งคืน(REBATE หรือ DISCOUNT)นั้น ถือเป็นค่าระวางส่วนหนึ่ง หักออกก่อนยื่นระบุเป็นค่าระวางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตใบมอบอำนาจและการรับฟังพยานที่ไม่ถูกต้องในศาล
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องความคดีเดียว เป็นการกระทำครั้งเดียวไม่ใช่มอบอำนาจทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ข้อนี้เป็นปัญหาที่ศาลรับฟังพยานผิดกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่อ้างในศาลชั้นต้นจำเลยยกขึ้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เพื่อผลิต ไม่ใช่ขาย เป็นอะไหล่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้า
โจทก์นำชิ้นส่วนเข้ามาเป็นวัตถุดิบประกอบรถยนต์ มิได้ขายเป็นอะไหล่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสอง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า ซึ่งกฎหมายในขณะนั้นยกเว้นตามมาตรา 79 ทวิ (1) จำเลยรับชำระภาษีโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตาม ประมวลรัษฎากรจึงมิใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในอายุความตาม มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุดิบนำเข้าเพื่อผลิตสินค้า ไม่ถือเป็นรายได้จากการค้า ไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อขาย ไม่ถือว่าโจทก์มีรายรับจากการประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เรียกคืนจากกรมสรรพากรได้ ไม่ใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ แม้มีการอ้างถึง
คำให้การว่า ค. มีอำนาจทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่รับรอง และโจทก์มอบอำนาจฟ้องคดีให้ บ.ฟ้องคดีหรือไม่จำเลยไม่รับรอง ไม่ถือเป็นคำรับว่าได้มอบอำนาจ เมื่อคู่ฉบับใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายต้องการ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี, เงินได้พึงประเมิน, และหลักฐานการได้มาซึ่งเงิน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดหลักเกณฑ์อุทธรณ์การประเมินภาษีไว้ ถ้าโจทก์ไม่อุทธรณ์การประเมินตามนั้น โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้
เงินที่มีผู้ให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ มิใช่ให้ในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่ยกเว้นภาษีเงินได้
เงินสดนำฝากธนาคาร 7 รายการ 921,542 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มาอย่างไร ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ไม่ใช่หน้าที่กรมสรรพากรจำเลยพิสูจน์ว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่มีผู้ให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ มิใช่ให้ในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่ยกเว้นภาษีเงินได้
เงินสดนำฝากธนาคาร 7 รายการ 921,542 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มาอย่างไร ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ไม่ใช่หน้าที่กรมสรรพากรจำเลยพิสูจน์ว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีเงินได้ การยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษี และอายุความของสิทธิเรียกร้องภาษี
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องนึกถึงว่าเงินสุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่ มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ,43,44,45, และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42(4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่นพึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40(8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิหรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจารค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษีพ.ศ. 2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจำต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องนึกถึงว่าเงินสุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่ มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ,43,44,45, และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42(4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่นพึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40(8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิหรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจารค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษีพ.ศ. 2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจำต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้