พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การที่ตัวแทนผู้ขนส่งยกอายุความมีผลถึงผู้ขนส่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องในมูลสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์ผู้ส่งฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีส่งมอบของผิดบุคคล แม้ของไม่สูญหาย
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดในกรณีที่ของที่ผู้ขนส่งได้รับมอบหมายเกิดสูญหายหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งความรับผิดดังกล่าวหมายถึง กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ของที่ผู้ขนส่งรับมอบหมาย การสูญหายนี้หมายถึงของไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ขนส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งได้ตามสัญญา ดังนั้นกรณีที่ผู้ขนส่งไม่ยอมส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง แต่ได้ส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อซึ่งมิใช่เป็นบุคคลที่มีชื่อแสดงในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่ง จึงไม่เข้ากรณีของสูญหายหรือเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดไม่จำกัดจำนวน
การพิพากษาให้ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196
การพิพากษาให้ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: สัญญา vs. ละเมิด
โจทก์ผู้รับตราส่งฟ้องจำเลยผู้ขนส่งให้รับผิด เนื่องจากจำเลยมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534และสัญญารับขนของทางทะเลที่จะต้องนำสินค้าที่รับขนไปส่งมอบให้แก่โจทก์และรับเวนคืนใบตราส่ง แต่จำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ กลับส่งมอบให้ผู้ซื้อโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขนของทางทะเล แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะกล่าวอ้างมูลละเมิดมาด้วย แต่เมื่อจำเลยผิดสัญญารับขนของทางทะเลและโจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกิดจากมูลผิดสัญญาได้ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936-6937/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการรับขนของทางทะเล: การส่งมอบสินค้าและการเริ่มนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือเกาะสีชังโดยขนถ่ายสินค้าจากเรือลงบรรทุกในเรือลำเลียงและการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 ถือได้ว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วในวันดังกล่าว ซึ่งผู้รับตราส่งต้องฟ้องผู้ขนส่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแห่งสินค้าที่ขนส่งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งจึงต้องฟ้องผู้ขนส่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล และการชดใช้ค่าเสียหายตามข้อตกลง แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงตามความเห็นศาลฎีกา
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การสูญหาย/เสียหายของสินค้า และการตกลงกันของผู้ขนส่งและผู้ส่งของ
โจทก์ระบุชื่อฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า "พ.ในฐานะผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ" และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า "จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนบริหารงานและธุรกิจของจำเลยที่ 1 สาขาในประเทศไทยมีอำนาจเช่น ดำเนินกิจการประจำวันโดยทั่วไปของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทยลงนามในเอกสารต่าง ๆ ดำเนินการฟ้องร้องและต่อสู้ในศาลไทย ใช้และลงชื่อในนามสาขาของบริษัทและมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ เป็นการกล่าวบรรยายฟ้องถึงสถานภาพของ พ. โดยเฉพาะว่ามาเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 และสาขาของจำเลยที่ 1 คือสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ อย่างไร ซึ่งเห็นได้ชัดว่า พ.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ในประเทศไทยและได้รับแต่งตั้งจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ ด้วยเท่านั้น การที่ พ.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯกรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง พ. ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 40(3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และโจทก์ ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packinglist)สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นเงิน1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 58 ดังนี้ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 60(2)
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 40(3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และโจทก์ ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packinglist)สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นเงิน1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 58 ดังนี้ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 60(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การสูญหาย/เสียหายของสินค้า, ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่ง, การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ กรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลย มิใช่เป็นการฟ้องสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าเครื่องดับเพลิงที่โจทก์รับประกันภัยเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับสินค้าในการขนถ่ายสินค้าทางทะเล และความรับผิดชอบค่าเสียเวลาเรือจอดรอ
โจทก์มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ท่าปลายทางตรงตามความหมายของคำว่าไลเนอร์เทอมส์(LinerTerms)ในใบตราส่งและมีประเพณีปฏิบัติในการขนถ่ายสินค้าว่าผู้รับสินค้าข้างลำเรือจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเนื่องจากการจัดหาเรือลำเลียงอยู่ในอำนาจควบคุมของผู้รับสินค้าไม่ใช่ผู้ขนส่งเมื่อตัวแทนโจทก์แจ้งให้จำเลยเตรียมการรับขนถ่ายสินค้าข้างลำเรือและจำเลยได้เลือกวิธีการจัดหาเรือลำเลียไปรับการขนถ่ายสินค้าแล้วจึงถือเป็นข้อตกลงโดยปริยายระหว่างโจทก์และจำเลยว่าจำเลยจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเมื่อจำเลยจัดเรือลำเลียงไปขนถ่ายสินค้าล่าช้าจึงเป็นการผิดหน้าที่ตามข้อตกลงทำให้โจทก์ต้องเสียเวลาจอดเรือรอการขนถ่ายสินค้าของจำเลยโจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียเวลาที่โจทก์ต้องจอดเรือรอเนื่องในการที่จำเลยทำให้การขนถ่ายสินค้าล่าช้า จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ1ปีในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้อ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มาตรา46ดังนั้นฎีกาในเรื่องอายุความของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จัดหาเรือลำเลียงต่อเนื่องตาม Liner Terms และความรับผิดจากความล่าช้า
โจทก์มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ท่าปลายทางตรงตามความหมายของคำว่าไลเนอร์เทอมส์ (Liner Terms)ในใบตราส่งและมีประเพณีปฏิบัติในการขนถ่ายสินค้าว่าผู้รับสินค้าข้างลำเรือจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เนื่องจากการจัดหาเรือลำเลียงอยู่ในอำนาจควบคุมของผู้รับสินค้า ไม่ใช่ผู้ขนส่ง เมื่อตัวแทนโจทก์แจ้งให้จำเลยเตรียมการรับขนถ่ายสินค้าข้างลำเรือและจำเลยได้เลือกวิธีการจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าแล้ว จึงถือเป็นข้อตกลงโดยปริยายระหว่างโจทก์และจำเลยว่า จำเลยจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เมื่อจำเลยจัดเรือลำเลียงไปขนถ่ายสินค้าล่าช้าจึงเป็นการผิดหน้าที่ตามข้อตกลง ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลาจอดเรือรอการขนถ่ายสินค้าของจำเลย โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียเวลาที่โจทก์ต้องจอดเรือรอเนื่องในการที่จำเลยทำให้การขนถ่ายสินค้าล่าช้า
จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ.มิได้อ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 ดังนั้น ฎีกาในเรื่องอายุความของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ.มิได้อ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 ดังนั้น ฎีกาในเรื่องอายุความของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย