พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6113/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนใหม่ที่คล้ายคลึงกัน การกระทำที่ไม่สุจริต
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลที่จะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่ต้องบังคับต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีเช่นนี้ ในขั้นตอนภายหลังจากที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้จดทะเบียนไว้แล้วได้เป็นอีกกรณีหนึ่ง ต่างหากจากกรณีที่จะใช้สิทธิคัดค้านในระหว่างการพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่มีบทบัญญัติจำกัดว่าการใช้สิทธิตามมาตรา 67 นี้จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ใช้สิทธินั้นได้คัดค้านในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วแต่อย่างใด
การแจ้งและการรับแจ้งลงในบัญชีแสดงการรับแจ้งเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติบังคับให้เจ้าของเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องแจ้งและมีการลงบัญชีเช่นว่านี้ โดยหากไม่แจ้งไว้ให้ถือว่าไม่เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้คำว่า "Watson's" และ "Watsons" เป็นสาระสำคัญโดยการเห็นคำดังกล่าวและเรียกขานคำดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสังเกตจดจำว่าเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่จดทะเบียนไว้ก็มีคำว่า "Watson" เป็นสาระสำคัญแม้จะมีอักษรโรมันว่า "WS" ในเส้นวงรีประกอบก็มีลักษณะเป็นอักษรย่อของคำว่า "Watson" นั่นเอง และมีลักษณะเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนสำคัญในการสังเกตและเรียกขานที่คำว่า "Watson" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าว จึงย่อมมีเหตุที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเดียวกันได้ ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 662878 แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังไม่มีคำสั่งให้จดทะเบียน จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้เสียเองจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยที่ 1 การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้เพื่อมิให้เสียหายแก่โจทก์ต่อไป โดยหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
การแจ้งและการรับแจ้งลงในบัญชีแสดงการรับแจ้งเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติบังคับให้เจ้าของเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องแจ้งและมีการลงบัญชีเช่นว่านี้ โดยหากไม่แจ้งไว้ให้ถือว่าไม่เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้คำว่า "Watson's" และ "Watsons" เป็นสาระสำคัญโดยการเห็นคำดังกล่าวและเรียกขานคำดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสังเกตจดจำว่าเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่จดทะเบียนไว้ก็มีคำว่า "Watson" เป็นสาระสำคัญแม้จะมีอักษรโรมันว่า "WS" ในเส้นวงรีประกอบก็มีลักษณะเป็นอักษรย่อของคำว่า "Watson" นั่นเอง และมีลักษณะเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนสำคัญในการสังเกตและเรียกขานที่คำว่า "Watson" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าว จึงย่อมมีเหตุที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเดียวกันได้ ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 662878 แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังไม่มีคำสั่งให้จดทะเบียน จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้เสียเองจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยที่ 1 การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้เพื่อมิให้เสียหายแก่โจทก์ต่อไป โดยหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า 'Von Dutch' ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2543) เรื่อง เครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ข้อ 2 (2) กำหนดว่า เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับชนิดของสินค้า แหล่งกำเนิดของสินค้า หรือความเป็นเจ้าของสินค้า เป็นเครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน ซึ่งประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (13) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นบทบัญญัติที่ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ ดังนั้น การตีความบทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับ "แหล่งกำเนิดของสินค้า" นั้น หมายถึง เครื่องหมายหรือคำบรรยายที่สื่อความหมายถึงหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นประเทศ เมือง หรือสถานที่อันเป็นแหล่งกำเนิดหรือที่มาของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยตรงเท่านั้น ไม่อาจตีความโดยขยายความให้หมายความรวมถึงเครื่องหมายหรือคำบรรยายที่สื่อความหมายถึงหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสัญชาติของประเทศหรือบุคคลซึ่งอาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ ด้วยได้ เพราะหากตีความโดยขยายความเช่นนั้นจะมีผลเท่ากับเป็นการไม่ให้นำคำที่สื่อความหมายถึงคนสัญชาติของประเทศหรือบุคคลซึ่งอาศัยอยู่ในสถานที่นั้นมาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามไว้โดยชัดแจ้ง สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยคำว่า "Von" เป็นคำในภาษาเยอรมันที่แปลว่า "จาก ของ มาจาก" ส่วนคำว่า "Dutch" เป็นคำในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "ชาวเนเธอร์แลนด์" เมื่อนำคำทั้งสองคำมารวมเข้าด้วยกันเป็น "Von Dutch" ย่อมแปลความหมายได้ว่า "มาจากชาวเนเธอร์แลนด์" มีความหมายที่สื่อถึงคนชาติเนเธอร์แลนด์โดยตรง หาได้สื่อความหมายถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ อันเป็นชื่อเรียกสถานที่ซึ่งอยู่ในความหมายของ "แหล่งกำเนิดของสินค้า" ตามข้อ 2 (2) ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวไม่ เครื่องหมายการค้า คำว่า "Von Dutch" ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ จึงไม่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้า ทั้งยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเพราะอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วย และเมื่อนำไปใช้กับสินค้าที่ขอจดทะเบียนสามารถสื่อความหมายได้เพียงว่า สินค้าดังกล่าวมาจากหรือเป็นของคนชาติของประเทศเนเธอร์แลนด์โดยรวมเท่านั้น ไม่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านี้เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง อันจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้านั้นได้
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 กระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวมีคำวินิจฉัยโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 นั้น ในปัญหานี้ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการออกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96 (1) มิได้ตั้งข้อหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ว่ากระทำการโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการออกคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการส่วนตัว จึงไม่ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2534 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 กระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวมีคำวินิจฉัยโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 นั้น ในปัญหานี้ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการออกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96 (1) มิได้ตั้งข้อหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ว่ากระทำการโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการออกคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการส่วนตัว จึงไม่ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2534 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าและการจดทะเบียนโดยไม่ชอบ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยถูกต้องตามกฎหมาย
คำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ในชั้นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 35 วรรคหนึ่ง ซึ่งนอกจากระบุว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์แล้ว ยังระบุว่าการที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานและดำรงตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 3 ในขณะนั้นไปดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในนามของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์กลับนำไปจดทะเบียนในนามของตนเอง อันเป็นการละเมิดสิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 3 ด้วย คำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว จึงเป็นการแสดงว่า เครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่มีลักษณะอันพึงจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 (2) เพราะต้องห้ามตามมาตรา 8 (9) คือ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยคำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ข้อนี้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้ไว้เช่นกัน ดังนั้น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยประเด็นนี้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต