พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีประกันภัย การบรรยายฟ้องต้องให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหา แม้รายละเอียดบางส่วนจะวินิจฉัยในชั้นพิจารณาได้
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วแม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ฝ. ขับรถแท็กซี่โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ฝ. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ฝ. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ณ. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด คำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้จาก ฝ. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ฝ. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากคำฟ้องของโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ฝ. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องยกข้อไม่เชื่อถือพยานโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและเพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมา ว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น จำเลยไม่อาจที่จะไปกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ โดยเชื่อตามที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสาร แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์อ้างว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักในการรับฟังด้วยเหตุผลตามที่พยานเบิกความและข้อความในเอกสารมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือในข้อไหนอย่างไรกลับอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาโต้เถียงว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบพิมพ์เปล่ามาให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จนกระทั่งถูกฟ้องจำเลยจึงทราบว่าแบบพิมพ์เปล่าที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อไว้เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์เติมข้อความโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม หนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีคำขอนอกเหนือจากที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า ให้ย้อนสำนวนคืนให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีด้วย โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การว่าไม่ชอบมาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ โดยเชื่อตามที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลและพยานเอกสาร แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์อ้างว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักในการรับฟังด้วยเหตุผลตามที่พยานเบิกความและข้อความในเอกสารมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือในข้อไหนอย่างไรกลับอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่มีอยู่ในสำนวนขึ้นมาโต้เถียงว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบพิมพ์เปล่ามาให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ จนกระทั่งถูกฟ้องจำเลยจึงทราบว่าแบบพิมพ์เปล่าที่จำเลยเคยลงลายมือชื่อไว้เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์เติมข้อความโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม หนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีคำขอนอกเหนือจากที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า ให้ย้อนสำนวนคืนให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีด้วย โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การว่าไม่ชอบมาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8448/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ อุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะพยานโจทก์ที่นำสืบเท่านั้น ข้อเท็จจริงใหม่ไม่อาจอุทธรณ์ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง นั้น จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะในพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาว่าศาลไม่ควรเชื่อหรือรับฟังไม่ได้เท่านั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้นำสืบหรือที่ไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องหักล้างข้อสันนิษฐานความเป็นเจ้าของตามทะเบียนที่ดิน ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์การยึดถือโดยเปิดเผย
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ น. มิใช่เป็นของจำเลย คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจาก น. และ น. ส่งมอบที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว เป็นเพียงการอ้างถึงที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นการยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเองมาแต่เดิมไม่ คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหลังจากที่ซื้อมา จึงมิได้ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกหรือเท่ากับเป็นการอ้างครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใดไม่
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: จำเลยต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานความเป็นเจ้าของของโจทก์ที่ปรากฏในทะเบียนที่ดิน
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ น. มิใช่เป็นของจำเลย คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจาก น. และ น. ส่งมอบที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว เป็นเพียงการอ้างถึงที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นการยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเองมาแต่เดิมไม่ คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหลังจากที่ซื้อมา จึงมิได้ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกหรือเท่ากับเป็นการอ้างครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้แต่อย่างใดไม่
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในทะเบียนที่ดิน ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะที่พิพาทกัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้สันนิษฐานว่าเป็นการยึดถือเพื่อตน และ ป.พ.พ. มาตรา 1370 ให้สันนิษฐานว่าครอบครองโดยสุจริตโดยความสงบและโดยเปิดเผย เป็นเพียงบทบัญญัติของการยึดถือครอบครองทรัพย์สินทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการยึดถือครอบครอง จึงต้องบังคับตาม มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรวม และการครอบครองปรปักษ์: การปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ & การพิสูจน์การครอบครอง
การใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่บุคคลหลายคนถือกรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีได้เพียงลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 หาใช่เป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการฟ้องคดี หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างใช้สิทธิของตน การมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน จึงเป็นกรณีที่ผู้มอบอำนาจมีหลายคนแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องปิดแสตมป์ 60 บาท มิใช่เพียง 30 บาท
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของทรัพย์สินในลานจอดรถ และขอบเขตความรับผิด
การที่โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา จึงมีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลทรัพย์สินของลูกค้า แต่จำเลยที่ 1 และพนักงานไม่ตรวจตราดูแลให้ดี ทำให้มีคนเข้ามาลักเอารถยนต์ไป จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เข้าพักในโรงแรม ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 โต้เถียงบรรยายโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ม. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทระบุเวลาที่รถหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2549 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่ตรงกันนั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของผู้บันทึก ไม่ใช่ ม. แจ้งแตกต่างกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเฉพาะทรัพย์สินที่สูญหายภายในห้องพัก แต่ลานจอดรถอยู่ด้านนอกโรงแรม และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับฝากรถยนต์ จึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่จอดไว้นั้น เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 674 และมาตรา 675 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้พามา แม้ความสูญหายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม ก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้อื่น แม้ผู้รับประกันภัยจะเสียค่าซ่อมรถ
แม้ขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับชนกับรถที่ ส. ขับสวนมา จำเลยและ ม. นั่งมาในรถคันเดียวกันและ ม. เข้าเบิกความหลังจากนั่งฟังจำเลยเบิกความแล้ว แต่การรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลพิเคราะห์จากพฤติการณ์ที่ ส. ขับรถบรรทุกซึ่งมีน้ำหนักมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิดขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนมา และพิจารณาจากคำเบิกความของจำเลยประกอบสภาพความเสียหายของรถ บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ สนับสนุนกัน ทั้งมีบันทึกคำให้การในคดีอาญาของ ม. เป็นพยานประกอบ คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปทำนองเดียวกับจำเลยจึงเป็นที่เชื่อฟังได้ ไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ โจทก์ครอบครองที่ดิน น.ส.3ก. ไม่สำเร็จ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันโดยจำเลยที่ 1 ยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปี ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1382 จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทกับโจทก์ หากแต่โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะโดยวิสาสะด้วยความสัมพันธ์ฉันญาติ แม้โจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์อันเนื่องมาจากโจทก์ครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีแล้ว
ทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินเลขที่ 54893 ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 นับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ยังไม่ถึงสิบปี แม้โจทก์จะอ้างว่าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในขณะนั้นทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2623 ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจนับระยะเวลาที่ครอบครองอยู่แต่เดิมมารวมเข้ากับระยะเวลาครอบครองที่ดินได้ เพราะการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ฉะนั้น ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไม่ว่าโจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินเลขที่ 54893 ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 นับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ยังไม่ถึงสิบปี แม้โจทก์จะอ้างว่าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในขณะนั้นทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2623 ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจนับระยะเวลาที่ครอบครองอยู่แต่เดิมมารวมเข้ากับระยะเวลาครอบครองที่ดินได้ เพราะการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ฉะนั้น ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไม่ว่าโจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย การไม่จดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลย ก็มิได้กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำกัด มีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ดังนี้ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
การโอนหุ้น โจทก์จะต้องมีเอกสารหลายอย่างมามอบให้จำเลย ต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมดำเนินการได้ จำเลยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารก่อนนั้น เป็นเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการของจำเลยเท่านั้น รวมทั้งไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นสินสมรสของ ภ. หรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งการกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
การโอนหุ้น โจทก์จะต้องมีเอกสารหลายอย่างมามอบให้จำเลย ต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมดำเนินการได้ จำเลยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารก่อนนั้น เป็นเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการของจำเลยเท่านั้น รวมทั้งไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นสินสมรสของ ภ. หรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งการกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว