พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำระงับผลเนื่องจากผู้จำนำเข้าใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน สัญญาโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพปรับราคาสินทรัพย์ได้
ที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การฟ้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เนื่องจากโจทก์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายบริษัท ท. โดยที่โจทก์มิได้มีสิทธิอื่นใดเหนือหลักประกันอันเป็นเครื่องจักร เนื่องจากการจำนำระงับไปแล้ว เพราะทรัพย์จำนำตกอยู่ในครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำซึ่งเป็นผู้แทนผู้จำนำ สาระที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ให้การเกี่ยวกับเหตุผลของการจำนำที่ระงับไปแล้วตั้งแต่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ฉะนั้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายล้วนเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้อง ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก และข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองสามารถนำสืบพยานหลักฐานได้ตามประเด็นข้อพิพาท เช่นนี้ การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสองย่อมไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
ตามสัญญาจำนำเครื่องจักรและสัญญารักษาทรัพย์ ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพนำเครื่องจักรมาจำนำไว้แก่โจทก์โดยตกลงให้ ศ. ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้เป็นผู้เก็บรักษาเครื่องจักรที่จำนำไว้ที่โรงงานของลูกหนี้ โดย ศ. จะได้รับค่าตอบแทนการรักษาทรัพย์จำนำเพียงเดือนละ 100 บาท และยังมีข้อตกลงว่า ตลอดเวลาที่ทรัพย์จำนำอยู่ในความครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำ แม้ผู้จำนำจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่จำนำ ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่ให้ถือว่าเครื่องจักรกลับคืนสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม แต่เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย เพราะเจตนาอันแท้จริงของสัญญาจำนำดังกล่าวประสงค์ให้ลูกหนี้ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่จำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) สิทธิจำนำของโจทก์จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจบังคับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 764 ได้
ตามสัญญาจำนำเครื่องจักรและสัญญารักษาทรัพย์ ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพนำเครื่องจักรมาจำนำไว้แก่โจทก์โดยตกลงให้ ศ. ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้เป็นผู้เก็บรักษาเครื่องจักรที่จำนำไว้ที่โรงงานของลูกหนี้ โดย ศ. จะได้รับค่าตอบแทนการรักษาทรัพย์จำนำเพียงเดือนละ 100 บาท และยังมีข้อตกลงว่า ตลอดเวลาที่ทรัพย์จำนำอยู่ในความครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำ แม้ผู้จำนำจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่จำนำ ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่ให้ถือว่าเครื่องจักรกลับคืนสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม แต่เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย เพราะเจตนาอันแท้จริงของสัญญาจำนำดังกล่าวประสงค์ให้ลูกหนี้ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่จำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) สิทธิจำนำของโจทก์จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจบังคับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 764 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14729/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ตกไปพร้อมคำฟ้องเดิม ศาลต้องพิจารณาต่อไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสามบัญญัติว่า "จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก" บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจจำเลยจะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้ ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้งคดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิมคงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้นหามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14493/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การบังคับชำระหนี้จำนอง vs. ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา แม้มีการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อน
คำร้องของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งเป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น ส่วนคำฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะลูกหนี้สามัญตามสัญญากู้ยืมเงิน หาได้ฟ้องขอบังคับจำนองแก่ที่ดินที่จำนอง และฟ้องเฉพาะมูลหนี้ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับจากการขอรับชำระหนี้ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เท่านั้น ซึ่งเป็นฟ้องคนละประเด็นกัน ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุผลอย่างเดียวกันกับคำร้องของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13969/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มจากที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ การครอบครองใน น.ส.3ก. ไม่นำซึ่งกรรมสิทธิ์
บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่น ที่ดินนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะถูกอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง แม้จะมีเจตนาครอบครองอย่างเป็นปรปักษ์ก็หาได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกับสิทธิครอบครองที่มีอยู่แต่เดิมไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน น.ส. 3 ก. ที่มีเพียงสิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทได้
โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สิทธิครอบครองจะเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่อยู่ในอันดับรองจากกรรมสิทธิ์ แต่ก็หาใช่สิทธิที่กฎหมายรับรองให้มีการร้องขอแสดงสิทธิได้เช่นเดียวกับกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ กรณีจึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไปเสียในคราวเดียวกันในชั้นนี้เพราะสิทธิครอบครองในที่ดินของผู้อื่นจะมีได้ก็แต่การแย่งการครอบครองเท่านั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง เมื่อคดีไม่มีประเด็นพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง ประกอบกับไม่ได้ความว่าโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 จึงต้องรับฟังว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการครอบครองแทนจำเลยตลอดมา กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามคำขอของโจทก์
โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สิทธิครอบครองจะเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่อยู่ในอันดับรองจากกรรมสิทธิ์ แต่ก็หาใช่สิทธิที่กฎหมายรับรองให้มีการร้องขอแสดงสิทธิได้เช่นเดียวกับกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ กรณีจึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไปเสียในคราวเดียวกันในชั้นนี้เพราะสิทธิครอบครองในที่ดินของผู้อื่นจะมีได้ก็แต่การแย่งการครอบครองเท่านั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง เมื่อคดีไม่มีประเด็นพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง ประกอบกับไม่ได้ความว่าโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 จึงต้องรับฟังว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการครอบครองแทนจำเลยตลอดมา กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12945/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบพยานนอกสัญญาขัดหลัก ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) และการตีความสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือโดยมีการวางเงินมัดจำด้วยการวางเงินมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางเงินมัดจำ การฟ้องร้องบังคับคดีจึงต้องอาศัยหลักฐานตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้ กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายในข้อ 1. มีข้อความระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อจะขายที่ดินตารางวาละ 100,000 บาท โดยส่วนที่เป็นถนนตามสภาพจริงจะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นราคาที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยไม่มีข้อความว่าให้จำเลยกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินจะซื้อจะขายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่ข้อความไม่ชัดเจนหรืออาจแปลความได้หลายนัย ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาอีก ดังนี้ จะนำบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 171 มาบังคับใช้เพื่อสืบพยานบุคคลประกอบการตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงว่าให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินที่จะซื้อจะขาย นอกเหนือข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11115/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายเพิ่มเติมจากรถยนต์ชำรุดหลังคืนทรัพย์: ฟ้องบังคับได้แม้มีคำพิพากษาแล้ว
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายและชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลยทั้งสามได้ส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมชำระค่าเสียหายกับค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีแก่โจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์มีสภาพชำรุดและโจทก์นำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามราคารถยนต์ที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดชดใช้ราคารถยนต์ส่วนที่ยังขาดจำนวนอยู่ได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนไปแล้ว ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ เนื่องจากการบังคับคดีจำต้องอาศัยคำพิพากษาที่วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ใดบ้าง กรณีจึงไม่อาจนำมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังศาลมีคำพิพากษาไปบังคับคดีเอากับจำเลยทั้งสามในคดีดังกล่าว ดังนั้นคำพิพากษาในคดีนี้จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนและเกิดขึ้นภายหลังศาลในคดีก่อนพิพากษาไปแล้ว หาใช่ค่าเสียหายที่กำหนดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10596/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 97 กรณีกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3328/2553 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง" เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10594/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามแผนฟื้นฟูก่อนฟ้องคดี
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟื้นฟู ไม่มารายงานตัวตามกำหนดนัดและไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษา พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเตือนให้มารายงานตัวและติดตาม ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ทำให้ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง ซึ่งเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดแล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ
การที่จำเลยมาพบพนักงานสอบสวนหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนจึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน การที่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการดังกล่าวแต่กลับนำตัวจำเลยมาฟ้องเป็นคดีนี้ การสอบสวนจึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
การที่จำเลยมาพบพนักงานสอบสวนหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนจึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน การที่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการดังกล่าวแต่กลับนำตัวจำเลยมาฟ้องเป็นคดีนี้ การสอบสวนจึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9955/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีทุจริต: การตีความบทบัญญัติขยายอายุความโดยเคร่งครัด และผลกระทบต่อคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีผลบังคับใช้
ขณะเกิดเหตุ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งให้นำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลมยังไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 เป็นบทบัญญัติที่มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มิได้มีบทเฉพาะกาลให้นำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การตีความกฎหมายจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง กรณีจึงนำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลย จึงต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 83 และ 86 ที่โจทก์ฟ้องมีอายุความยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เกินกว่ายี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9440/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: อำนาจฟ้องเมื่อผู้ต้องหาต้องโทษจำคุกคดีอื่น
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด คำว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลนั้น หมายถึง วันที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดนั้นจำเลยต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอื่นหรืออยู่ระหว่างรับโทษจำคุก หาใช่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามที่จำเลยแก้ฎีกาไม่ จำเลยกระทำความผิดคดีนี้วันที่ 13 ธันวาคม 2554 ซึ่งในขณะนั้นจำเลยต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1801/2553 ของศาลชั้นต้น จำเลยจึงเป็นผู้อยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่ต้องนำตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง