คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1492

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าเป็นโมฆะ สินสมรส การจัดการสินสมรสโดยไม่ชอบ และสิทธิในการแบ่งทรัพย์
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการลดจำนวนภาษีย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแบ่งทรัพย์ซึ่งทำมาหาได้ จึงเป็นการขอเข้าจัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอได้ตราบเท่าที่โจทก์และจำเลยยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่และกรณีนี้มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยจัดการสินสมรสเพียงผู้เดียวตลอดมา จนกระทั่งปี 2543 โจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยมีภริยาอีกคน โจทก์จึงขอให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์และศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าการที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมแบ่งถือว่าจำเลยจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 วรรคสอง และมาตรา 1492
เงินค่าซื้อที่ดินและเงินสดที่ยกให้บุตรทั้งสี่คนรวมแล้วประมาณ 40,000,000 บาท เป็นการยกสินสมรสให้บุตรโดยความยินยอมของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสนี้ ส่วนเงินที่ได้มาจากการทำมาหาได้ของจำเลยหลังจากจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ แต่ศาลวินิจฉัยว่าการหย่าเป็นโมฆะ จึงต้องฟังว่า เงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอีก 660,000 บาท เป็นสินสมรส ต้องนำมาแบ่งกันสำหรับหุ้นด้อยสิทธิของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2546 จำเลยไปไถ่ถอนในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 อันเป็นการไถ่ถอนก่อนครบกำหนด และไม่แบ่งแก่โจทก์ ย่อมเป็นการจัดการสินสมรสโดยไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอเข้าจัดการสินสมรสในส่วนนี้ได้ จำเลยต้องแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง แต่ตามรายการโอนเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีที่โจทก์เสนอแสดง ไม่ปรากฏรายการโอนดอกเบี้ย 5,000,000 บาท เข้าบัญชีตามที่โจทก์เบิกความ จึงไม่อาจบังคับในส่วนของดอกเบี้ยได้ ส่วนที่ดินพร้อมบ้านพิพาท จำเลยซื้อที่ดินมาในปี 2541 และปลูกบ้านในปี 2544 ถึง 2545 ดังนี้ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าการหย่าเป็นโมฆะ ที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิใส่ชื่อร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวและสิทธิในทรัพย์สินสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัว และคู่สมรสที่ยกให้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสโดยปริยายและการขายสินส่วนตัว: โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งที่ดิน สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วนได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่1รู้เห็นด้วยต่อมาจำเลยที่1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่1ผู้เดียวเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้วที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่1จำเลยที่1ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสโดยปริยาย การขายที่ดินหลังแบ่งแล้ว ถือเป็นสินส่วนตัวโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน ต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วน ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้ว ที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3