พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9888/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอาญา: การรับคำสารภาพ, การนับโทษต่อ, และการไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม 2558 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยข้อ 2.4 ซึ่งจำเลยอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงให้จำเลยทราบ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับว่าขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยข้อ 2.4 ชอบแล้ว และเมื่อฎีกาของจำเลยในข้อนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่วินิจฉัยมาแล้ว ประกอบกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาแล้ว จึงไม่เป็นการจำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบแต่อย่างใด
จำเลยฎีกาว่า จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาพิเศษใช้ยานพาหนะ เพื่อวัตถุประสงค์ในการขนย้ายทรัพย์หรือบรรทุกทรัพย์ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่วินิจฉัยให้นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ 1 คัน เป็นยานพาหนะบรรทุกทรัพย์ที่ลัก เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือพาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิด อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
แม้คำให้การจำเลย มีข้อความว่า จำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์หรือข้อหารับของโจรก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยดังกล่าวแล้ว โดยศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ด้านบนซ้ายของคำให้การจำเลยดังกล่าวว่า สอบสวนจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณา ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ แต่ให้การปฏิเสธข้อหารับของโจร โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อข้อหาลักทรัพย์มิใช่เป็นข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบให้ศาลฟังจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับมาในฎีกาแล้วว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้ในวันเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ซึ่งเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1104/2557 ของศาลชั้นต้นได้
จำเลยฎีกาว่า จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาพิเศษใช้ยานพาหนะ เพื่อวัตถุประสงค์ในการขนย้ายทรัพย์หรือบรรทุกทรัพย์ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่วินิจฉัยให้นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ 1 คัน เป็นยานพาหนะบรรทุกทรัพย์ที่ลัก เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือพาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิด อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
แม้คำให้การจำเลย มีข้อความว่า จำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์หรือข้อหารับของโจรก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยดังกล่าวแล้ว โดยศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ด้านบนซ้ายของคำให้การจำเลยดังกล่าวว่า สอบสวนจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณา ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ แต่ให้การปฏิเสธข้อหารับของโจร โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อข้อหาลักทรัพย์มิใช่เป็นข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องนำพยานเข้าสืบให้ศาลฟังจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับมาในฎีกาแล้วว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้ในวันเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 306/2557 ซึ่งเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1104/2557 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9667/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิฟ้องอาญา หากไม่มีข้อตกลงสละสิทธิชัดเจน
ข้อความตามบันทึกระบุได้ความว่า จำเลยนำเหรียญหลวงพ่อคูณมาขายให้โจทก์ร่วมหลายครั้ง เป็นเงิน 1,030,000 บาท ซึ่งปรากฏว่าเป็นเหรียญปลอม ทำเลียนแบบ จำเลยยอมรับที่จะนำเงินมาคืนโจทก์ร่วมเป็นเงิน 1,030,000 บาท โดยจะผ่อนชำระให้เดือนละ 50,000 บาท ทุกเดือน เริ่มงวดแรกวันที่ 2 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป จนกว่าจะผ่อนหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง ยินยอมให้โจทก์ร่วมดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ทันที เมื่อไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง จึงมิใช่การยอมความ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คฉบับละ 50,000 บาท อีก 14 ฉบับ รวมเป็นเงิน 700,000 บาท ให้โจทก์ร่วม เพื่อชำระเงินตามบันทึก ส่วนที่เหลืออีก 280,000 บาท จะชำระเป็นเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในเช็ค 2 ฉบับ ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้ โดยโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลแขวงพระนครใต้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนเช็คฉบับอื่น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คทั้ง 14 ฉบับให้โจทก์ร่วมนั้น เป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อผ่อนชำระหนี้ตามที่ตกลงในบันทึกเท่านั้น ทั้งเช็ค 14 ฉบับก็ไม่ได้ชำระหนี้ทั้งหมด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆ รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมดังกล่าวเป็นเพียงการชำระหนี้ในทางแพ่งตามข้อตกลงในบันทึกเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดียาเสพติดเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 19
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ดังนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อจำเลยยื่นฎีกาโดยไม่ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัยอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องยื่นคำร้องขอรับฎีกาต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มิฉะนั้นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 คดีนี้จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นฎีกาโดยไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัยอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภ.ท.บ.5 ไม่แสดงสิทธิในที่ดิน การแจ้งเอกสารหายไม่ทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.ท.บ. 5) ไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าผู้ชำระค่าภาษีมีสิทธิในที่ดิน คือ สิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะเอกสารที่แสดงถึงสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมเป็นไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 1 คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดิน การกระทำการเกี่ยวกับใบภาษีบำรุงท้องที่ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่กระทบถึงการที่โจทก์ยึดถือที่ดินซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิที่จำเลยทั้งหกมอบให้ไว้เป็นหลักประกันเมื่อเข้าร่วมโครงการปลูกพืชพลังงานทดแทนกับโจทก์ ทั้งโจทก์ก็ไม่เคยมีเจตนาจะชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งต้องนำใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.ท.บ. 5) ท่อนที่มอบให้เจ้าของที่ดินนี้มาแสดงด้วยเมื่อมาติดต่อขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ การที่จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความว่าใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่มอบให้โจทก์ยึดถือไว้หาย แล้วไปขออกใบแทนใหม่ จึงไม่ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9185/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคดีแพ่ง และการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์
สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วม 10,000 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 40,000 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมสูงเกินสมควร จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยให้ในส่วนนี้จึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์: การไม่ต้องวางเงินซ้ำเมื่อศาลยกคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งแรกให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่โดยให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ แต่จำเลยยังไม่ได้ขอรับเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่วางไว้ต่อศาลชั้นต้นคืน ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งที่สอง ให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนด ค่าทนายความ 3,000 บาท กรณีถือว่าจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางพร้อมอุทธรณ์เพิ่มเติมอีก ทั้งไม่จำต้องมีคำขอให้เอาเงินดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ครั้งที่สองด้วย อุทธรณ์ของจำเลยครั้งที่สองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ครั้งแรก ทำให้ไม่ต้องวางซ้ำในการอุทธรณ์ครั้งที่สอง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งแรก ให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ โดยให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ เงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นเคยสั่งให้จำเลยต้องรับผิดใช้แทนโจทก์จึงถูกยกไป แต่จำเลยยังไม่ได้ขอรับเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่วางไว้ต่อศาลชั้นต้นคืน ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาครั้งที่สอง ให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท เงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยรับผิดใช้แทนโจทก์ จึงมีจำนวนเท่ากันกับจำนวนเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยได้วางต่อศาลชั้นต้นในครั้งก่อนซึ่งจำเลยยังไม่ได้รับคืนไป กรณีถือว่าจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางพร้อมอุทธรณ์เพิ่มเติมอีก ทั้งไม่จำต้องมีคำขอให้เอาเงินดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ครั้งที่สองด้วย อุทธรณ์ของจำเลยครั้งที่สองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ถึงที่สุด หากคดีอาญาไม่รับฟังสิทธิครอบครอง คดีแพ่งก็ต้องถือตามนั้น
คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลในความผิดฐานบุกรุกว่า โจทก์และ ส. ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) โจทก์กับ ส. แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนคนละครึ่ง ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยเป็นภริยา ส. ก่อสร้างห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยมีเจตนาแย่งการครอบครองและเจตนาถือการครอบครองที่ดินทั้งหมดเป็นของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทมาแสดง ส่วนแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) เป็นเพียงแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อการชำระภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ใช่เอกสารสิทธิ พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลฎีกา โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ นั้น ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อคดีนี้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ ปรากฎว่า คดีส่วนอาญาวินิจฉัยแล้วว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิจารณาความเสียหายต้องดู ณ เวลาที่กระทำผิด แม้มีการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) บัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ..." ซึ่งบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวต้องพิจารณาในขณะที่ความผิดเกิดขึ้นว่า บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ อีกทั้งสิทธิของการเป็นผู้เสียหายเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่อาจโอนสิทธิความเป็นผู้เสียหายไปยังบุคคลอื่นได้ สิทธิในการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาจึงต้องพิจารณาในขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีแพ่งให้แก่บริษัท บ. แล้วก็ตาม แต่วันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ยังเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เมื่อจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่ น. เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลย โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้