คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมยศ เข็มทอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และการฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การสิ้นสุดกระบวนการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8576-8578/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. เป็นส่วนควบของที่ดินตามโฉนดที่ดิน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ สรุปได้ความว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุด ร. โดยเจ้าของที่ดินยินยอมให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิเหนือพื้นดิน ทั้งยังปรากฏตามสัญญาซื้อขายว่า ซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง และงบการเงิน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสินค้าคงเหลือเป็นอาคารชุด ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดิน อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่เกี่ยวกับบริษัท กรณีจึงเป็นที่แจ้งชัดว่า กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดิน เป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารชุด ร. บนที่ดินดังกล่าวหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อ้างอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8496/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เรื่องอายุความคดีอาญา: ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการรู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดก่อน หากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์จึงต้องห้าม
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดอย่างช้าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 โจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไร อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย หาใช่เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งและคดีอาญาต่างกัน แม้มีส่วนเชื่อมโยงจากเช็ค แต่เป็นหนี้คนละส่วน
บริษัท ท. สั่งซื้อสินค้ากระดาษจากโจทก์ โดยบริษัท ท. ออกเช็คสั่งจ่ายชำระหนี้ 1 ฉบับ และจำเลยในฐานะกรรมการของบริษัท ท. ออกเช็คสั่งจ่ายชำระหนี้อีก 4 ฉบับ เมื่อเช็คทั้ง 5 ฉบับ ถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องบริษัท ท. เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 เป็นคดีก่อนให้รับผิดชำระหนี้ค่ากระดาษตามเช็ค 4 ฉบับ โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันได้ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ท. ออกเช็คฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม 2553 สั่งจ่ายชำระหนี้ค่ากระดาษแก่โจทก์ เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงดุสิต จำเลยให้การรับสารภาพ และทำบันทึกยอมรับว่าออกเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ค่ากระดาษแก่โจทก์จริง ขอผ่อนชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงในคดีอาญาภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนี้ ยอดหนี้ในคดีก่อนกับยอดหนี้ในคดีนี้จึงเป็นคนละจำนวนกัน การที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงในคดีอาญา เป็นคดีนี้จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นข้อพิพาทที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8426/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จต่อศาล ผลกระทบต่อการลงโทษและการลุแก่โทษ
แม้คดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น มีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ลุแก่โทษต่อศาลเช่นเดียวกับการถอนฟ้อง ตาม ป.อ. มาตรา 176 ย่อมได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างบ้าน ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินจากการบังคับคดีได้
ผู้ร้องประกอบธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี 2546 เมื่อผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วได้สร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวซึ่งมีรูปแบบเดียวกันกับบ้านหลังอื่นที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านจัดสรรของผู้ร้อง และประกาศขายแก่บุคคลทั่วไป หากผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็คงไม่สร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวเพราะต้องใช้เงินลงทุนมาก และที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นของตนเนื่องจากต้องการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อผู้ซื้อเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียมในการโอนนั้น ก็เป็นเหตุผลทางด้านการประกอบธุรกิจที่รับฟังได้ไม่ถึงกับเป็นข้อพิรุธแต่อย่างใด
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 และชำระราคาครบถ้วนแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของตน ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินที่ยึดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึดไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง ขอให้ถอนการยึดจึงเป็นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ศาลชั้นต้นชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องได้ ส่วนค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ก็เป็นจำนวนที่อยู่ระหว่างอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้ว ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินและการคืนทรัพย์สินแก่เจ้าของที่แท้จริง ผู้มิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ...." เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1666/2555 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นคดีหลักของคดีนี้ โจทก์ขอให้ริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 32 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ซึ่งเป็นการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 32 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้คืนอาวุธปืนของกลางตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน โดยพิจารณาจากทุนทรัพย์และข้อกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ประกอบมาตรา 83 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยหลังจากลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงปรับ 40 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกิน 10 ปี: เจ้าหนี้ยังคงดำเนินการได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 10 ปีไม่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินโบนัสและเงินค่าตอบแทนกรณีจำเลยที่ 2 ออกจากงาน ซึ่งบริษัท บ. ได้ส่งเงินตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดและจ่ายให้แก่โจทก์ไปแล้ว 6 ครั้ง เป็นเงิน 279,727.72 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระหนี้ยังไม่ครบตามหมายบังคับคดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด ดังนี้ แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้จนกว่าการบังคับคดีจะแล้วเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาพรากเด็ก และขอบเขตค่าเสียหายที่เรียกได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กชาย ม. ซึ่งมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองและหน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กชาย ม. ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยพรากเด็กชาย ม. ซึ่งมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปจากโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับผิดในทางแพ่งฐานละเมิดโดยอาศัยมูลคดีอาญาความผิดดังกล่าว อันเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาจำเลยเฉพาะความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ไม่ได้ฟ้องจำเลยในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล และคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่หน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กชาย ม. ให้ปราศจากเสรีภาพโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นการพาและแยกเด็กชาย ม. ไปจากความปกครองดูแลของโจทก์ทำให้ความปกครองดูแลของโจทก์ที่มีต่อเด็กชาย ม. ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลด้วย เมื่อมูลคดีนี้ไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทางอาญา สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นต้องนำ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง มาใช้บังคับ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก มีอายุความทางอาญา 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) ซึ่งเป็นกำหนดอายุความที่ยาวกว่าอายุความทางแพ่งในมูลละเมิด จึงต้องเอาอายุความ 15 ปี มาใช้บังคับ จำเลยกระทำละเมิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ยังไม่พ้นกำหนด 15 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 30