พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10834/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: ขายฝากเป็นเพียงรูปแบบซ่อนเร้นของการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่าง อ. กับจำเลยโดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน และให้โฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ หาได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากไม่ แม้การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการทำนิติกรรมอำพรางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสองนั้น คู่กรณีจะต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรมคือ นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยเปิดเผย คู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับอย่างใดตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่เปิดเผยเรียกว่านิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ แม้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจะต้องมีเพียงคู่เดียวก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์เป็นสามีของ อ. ผู้กู้ ทั้งยังเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญากู้เงิน โดยโจทก์มีความประสงค์ต้องการใช้เงิน แสดงว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในเงินกู้ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์และ อ. ทำนิติกรรมดังกล่าวจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน และถือได้ว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน ดังนี้ แม้คู่กรณีในนิติกรรมขายฝากจะเป็นนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมเป็นนิติกรรมระหว่าง อ. กับจำเลย ก็ถือได้ว่าคู่กรณีในนิติกรรมทั้งสองนิติกรรมนั้นเป็นคู่กรณีเดียวกัน ฟังได้ว่านิติกรรมขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยจำเลยยังมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันได้
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากกับขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินพิพาทได้ และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นโมฆะดังกล่าว ศาลฎีกาก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากกับขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินพิพาทได้ และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นโมฆะดังกล่าว ศาลฎีกาก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ตายมีส่วนร่วมกระทำผิด ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต้องไปฟ้องแพ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า ผู้ตายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย คำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันตกไป กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมต้องว่ากล่าวเอากับจำเลยเป็นคดีแพ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา แม้เกินอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายทดแทนแก่ตนก็ได้" การที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยและต้องไปดำเนินคดีในส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน ดำเนินคดีในส่วนแพ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องกันไปได้เพื่อให้การพิจารณาคดีในส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็ว ดังเช่นกรณีที่พนักงานอัยการร้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย กรณีจึงไม่ต้องคำนึงว่าศาลที่พิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) วรรคหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย และผู้เสียหายขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้ แม้คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง และโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำนวนเงินที่ขอเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8058/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การนับอายุความเมื่อฟ้องคดีแพ่งก่อนคำพิพากษาคดีอาญา และการพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิด
คดีนี้ ได้มีการยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาจะมีคำพิพากษายกฟ้อง อายุความคดีนี้จึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง ซึ่งมีความหมายว่า อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) ถึง (5) แล้วแต่กรณีนั้น เป็นอันสะดุดหยุดลง เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงแล้ว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งในกรณีนี้อายุความจะเริ่มนับใหม่เมื่อศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสามหรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งวรรคสามและวรรคสี่ดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาเด็ดขาดไปก่อนที่จะมีการฟ้องคดีแพ่ง ดังนั้น ในกรณีของคดีนี้ จึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่กรณีของวรรคสี่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในคดีอาญาดังกล่าวศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่แน่นอนสำหรับให้คดีนี้จำต้องถือตาม ดังนั้น จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้กันต่อไปให้เป็นที่ยุติ ยังไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุตามที่จำเลยฎีกาโต้แย้ง
แม้จะเห็นได้ในตัวว่าแก๊ปวงและดอกไม้เพลิงที่จำเลยมีอยู่ในครอบครองในขณะนั้น เป็นทรัพย์อันอาจเกิดอันตรายได้โดยสภาพตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าเหตุการณ์ทุกกรณีจะต้องเกิดจากสภาพหรือลักษณะของตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุเสมอไป เพราะการกระทำของบุคคลต่อทรัพย์ที่มีลักษณะเช่นนี้ ก็อาจสามารถเป็นเหตุก่อให้เกิดผลเช่นที่เกิดในคดีนี้ได้ เหตุนี้ ความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องจึงต้องปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
ในคดีอาญาดังกล่าวศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่แน่นอนสำหรับให้คดีนี้จำต้องถือตาม ดังนั้น จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้กันต่อไปให้เป็นที่ยุติ ยังไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุตามที่จำเลยฎีกาโต้แย้ง
แม้จะเห็นได้ในตัวว่าแก๊ปวงและดอกไม้เพลิงที่จำเลยมีอยู่ในครอบครองในขณะนั้น เป็นทรัพย์อันอาจเกิดอันตรายได้โดยสภาพตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าเหตุการณ์ทุกกรณีจะต้องเกิดจากสภาพหรือลักษณะของตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุเสมอไป เพราะการกระทำของบุคคลต่อทรัพย์ที่มีลักษณะเช่นนี้ ก็อาจสามารถเป็นเหตุก่อให้เกิดผลเช่นที่เกิดในคดีนี้ได้ เหตุนี้ ความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องจึงต้องปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยไม่ถึงขั้นดูหมิ่น ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ตำรวจแม่ง...ใช้ไม่ได้" เพราะรู้สึกว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ความสำคัญต่อคำชี้แจงของตน ทำให้จำเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงกล่าวตำหนิการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียบหยามหรือสบประมาทเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641-6642/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้เอกชนเสียประโยชน์
โจทก์ที่ 1 มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทุกชนิด ยื่นใบเสนอราคางานรับจ้างในราคาต่ำสุดทุกโครงการ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติงานจ้าง โดยจำเลยในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติกลับอนุมัติให้ร้าน ซ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งเสนอราคาสูงกว่าโจทก์ที่ 1 เข้าเป็นคู่สัญญากับเทศบาลตำบลบึงโขงหลง หากได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเสนอราคาตามเงื่อนไขของเทศบาลตำบลบึงโขงหลงได้รับความเสียหายไม่ได้รับงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่เป็นการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ซึ่งนับเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว นอกจากนี้การเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาในการรับจ้างเหมาทุกชนิด ตามวิสัยของวิญญูชนย่อมเห็นได้ชัดว่าหากงานจ้างเหมามีแต่การขาดทุน ย่อมไม่มีผู้ใดเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาอย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 เสียโอกาสไม่ได้เข้ารับเหมาทำงาน ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียรายได้จากงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ได้ แต่ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การชำระค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัย ไม่ถือเป็นลาภมิควรได้
แม้คดีอาญาศาลจะยกฟ้อง พ. ระบุว่า พ. มิได้กระทำโดยประมาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า พ. เป็นคนขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล่นข้ามเกาะกลางถนนพุ่งชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยสารมาด้วยเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสี่ได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจาก พ. และโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก พ. และโจทก์ โจทก์ยอมชำระค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสี่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินที่จำเลยทั้งสี่รับมาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เงินที่จำเลยทั้งสี่รับมาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายที่จะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง ส่วนสาเหตุที่รถที่ พ. ขับเสียหลักเป็นเพราะความประมาทของผู้ใดก็เป็นเรื่องที่ พ. จะไปว่ากล่าวกับบุคคลนั้น ไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบเสนอราคาไม่ผูกพันสัญญา หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อสาระสำคัญ และไม่มีมูลฟ้อง
จำเลยทำใบเสนอราคาคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างต่อโจทก์มีการระบุถึงรายละเอียดของรายการสินค้าประเภทคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างพร้อมราคาไว้ และจำเลยยังระบุเงื่อนไขเพื่อประกอบการพิจารณาของโจทก์ไว้รวม 9 ข้อ ในใบเสนอราคาดังกล่าว โดยข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา และในข้อ 9 ระบุถึงการที่ผู้ซื้อมีเหตุจำเป็นต้องซื้อคอนกรีตจากผู้ขายรายอื่นเนื่องจากเหตุที่ผู้ขายไม่สามารถให้บริการได้ ผู้ขายยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อในอัตราค่าเสียหายตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อ 4 และข้อ 9 นี้เท่านั้นที่ได้กล่าวถึงสัญญาและสัญญาซื้อขายไว้ แม้จะมิได้ระบุว่าสัญญาและสัญญาซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือกันในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาใบเสนอราคาดังกล่าวในข้อ 7 ที่ระบุให้ผู้ซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารเท่ากับมูลค่า 2,000,000 บาท โดยผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดขึ้นด้วย แต่โจทก์กลับมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 นี้ โดยขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามวงเงินประกันแต่อย่างใดและแสดงให้เห็นว่า โจทก์เองก็มิได้ตกลงโดยยินยอมที่จะผูกพันและปฏิบัติตามใบเสนอราคาดังกล่าวทั้งหมดทุกข้อ ที่โจทก์ให้จำเลยปฏิบัติตามใบเสนอราคาเฉพาะในข้อ 9 ซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ แต่กลับไม่ยอมปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะต้องตกลงด้วยในข้อนี้ การที่โจทก์ยังมิได้ขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามใบเสนอราคาข้อ 7 นี้ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงตามใบเสนอราคากันทั้งหมดทุกข้อแล้ว ใบเสนอราคาที่จำเลยทำถึงโจทก์เป็นเพียงการทำความเข้าใจกันกับโจทก์ไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่างในเบื้องต้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ก็หาเป็นการผูกพันจำเลยไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่โจทก์ซื้อคอนกรีตจากจำเลยเรื่อยมา ก็เป็นเพียงการซื้อขายสินค้าเฉพาะสิ่งตามรายการที่มีการส่งมอบให้แก่กันเป็นคราว ๆ ไปเท่านั้น มิได้เป็นคำสนองเข้ารับทำสัญญาตามใบเสนอราคาดังกล่าว
โจทก์ว่าจ้าง ส. เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนและปรับพื้นที่ในส่วนที่จำเลยก่อสร้างขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตส่งให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อตามใบเสนอราคาข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา แสดงให้เห็นว่าจำเลยก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีตขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่และต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป แต่โจทก์กลับว่าจ้าง ส. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป โดยจำเลยมิได้ตกลงว่าจะเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีความรับผิดตามสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เมื่อคดีโจทก์ไม่มีมูลให้รับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญา ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร 600,000 บาท ที่จำเลยยึดถือไว้คืนแก่โจทก์ ก็ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยได้ยึดถือไว้เกี่ยวด้วยกับใบเสนอราคาหรือไม่อย่างไร จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ว่าจ้าง ส. เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนและปรับพื้นที่ในส่วนที่จำเลยก่อสร้างขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตส่งให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อตามใบเสนอราคาข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา แสดงให้เห็นว่าจำเลยก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีตขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่และต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป แต่โจทก์กลับว่าจ้าง ส. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป โดยจำเลยมิได้ตกลงว่าจะเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีความรับผิดตามสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เมื่อคดีโจทก์ไม่มีมูลให้รับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญา ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร 600,000 บาท ที่จำเลยยึดถือไว้คืนแก่โจทก์ ก็ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยได้ยึดถือไว้เกี่ยวด้วยกับใบเสนอราคาหรือไม่อย่างไร จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าประเวณี: ผู้ดูแลสถานและผู้ควบคุมการค้าประเวณี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
ขณะที่สิบตำรวจตรี ศ. กับพวกเข้าตรวจค้นร้านเกิดเหตุและจับกุมจำเลยทั้งสองนั้น ก็มีเพียงจำเลยทั้งสองและหญิงค้าประเวณีเท่านั้นที่อยู่ในร้านดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ในร้านเกิดเหตุทั้งหมดตั้งแต่เชียร์ลูกค้า เก็บเงินค่าบริการ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่หญิงค้าประเวณีแต่ละคนขายบริการในแต่ละเดือนจนกระทั่งจ่ายเงินให้แก่หญิงค้าประเวณี ทั้งจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รวบรวมเงินรายได้ดังกล่าวมอบให้แก่นายทุน เมื่อเข้ามาที่ร้านเกิดเหตุ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจบริหารงานและจัดระเบียบในการค้าประเวณีของหญิงค้าประเวณีในร้านเกิดเหตุและให้คุณให้โทษแก่หญิงที่ค้าประเวณีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลหรือผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีร้านเกิดเหตุ โดยผู้ค้าประเวณีทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทางร้านกำหนดไว้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ดูแลสถานการค้าประเวณีและเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงแม่บ้านและช่วยแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับหญิงที่ค้าประเวณีเท่านั้น โดยไม่ได้ดูแลกิจการของร้านเกิดเหตุทั้งหมด และไม่มีอำนาจสั่งการหรือกำหนดกฎเกณฑ์ให้หญิงค้าประเวณีปฏิบัติเพื่อกิจการค้าประเวณี จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั่วไป เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ คดีนี้ แม้โจทก์จะหลุดพ้นจากการล้มละลายโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 71 แต่ที่ดินและอาคารพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายและเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ทั้งอยู่ในระหว่างการขายทอดตลาดตามประกาศของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น และนำเงินมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาทนั้นเป็นการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง