พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22714/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีข่มขืนใจ: การแจ้งความร้องทุกข์ของผู้ปกครองที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น โดยมีอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ความผิดดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 321 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งในความดูแลของ ค. บิดาผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ อันจะทำให้ ค. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 การที่ ค. ไปแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20348/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา การชดใช้ค่าเสียหาย และดอกเบี้ยผิดนัด กรณีตัวแทนกระทำผิด
ในการตีความสัญญานั้นต้องคำนึงความประสงค์หรือเจตนาอันมีร่วมกันของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจตนาที่คาดหมายในทางสุจริต และต้องคำนึงประเพณีปฏิบัติในระหว่างคู่สัญญาเอง หรือประเพณีในทางการค้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 จะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20100/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดพรากผู้เยาว์: ศาลยกฟ้องเมื่อความผิดกรรมเดียวกันได้รับการตัดสินเด็ดขาดแล้ว
แม้ตามฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเหตุเกิดระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความจากคำเบิกความของ ม. ผู้เสียหายที่ 1 และ ป. เพื่อนผู้เสียหายที่ 1 ตรงกันว่า ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ผู้เสียหายที่ 1 ได้ออกจากบ้านไปพักอยู่กับ ป. มาโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ผู้เสียหายที่ 1 จึงเดินทางจากบ้านของ ป. ที่จังหวัดนครราชสีมาไปหาจำเลยที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำเลยโอนเงินค่ารถไฟไปให้ 300 บาท แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่ด้วยกัน ดังนั้นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ของจำเลยจึงเกิดขึ้นและเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งข้อแตกต่างกันเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดเช่นนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามมาตรา 192 วรรคสามประกอบวรรคสอง กรณีจึงต้องถือว่าเหตุความผิดฐานพรากผู้เยาว์ในคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ตามที่พิจารณาได้ความ หาใช่เหตุเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกพนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมาเป็นโจทก์ฟ้องในข้อหาความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 538/2550 ของศาลจังหวัดนครราชสีมาอีกคดีหนึ่ง โดยบรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 กรณีจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ซึ่งคดีดังกล่าวจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยฐานพรากผู้เยาว์จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) การที่โจทก์นำเอาการกระทำของจำเลยที่พรากผู้เยาว์ในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19958/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กต้องมีการพาไปเสีย การกระทำอนาจารต่อเด็กแต่ละคนมีเจตนาเดียวกัน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 แม้จะมุ่งคุ้มครองมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวน หรือกระทำการใด ๆ อันจะกระทบต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก แต่กรณีจะเป็นความผิดดังกล่าวได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการพราก ซึ่งหมายถึงการพาไปเสียประกอบด้วย การที่เด็กทั้งห้ามาที่ห้องพักของจำเลยด้วยความสมัครใจ จำเลยไม่เคยเป็นผู้พามา และเด็กทั้งห้าสามารถกลับบ้านของตนเองได้เสมอหากต้องการเช่นนั้น เช่นนี้จำเลยจึงมิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการพรากเด็กทั้งห้าไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล จำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19944/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้ซื้อที่ดินก่อนการยึดทรัพย์: คุ้มครองตามมาตรา 1300 และ 287 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 จำนวน 26 แปลง รวมถึงที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงด้วย ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 และผ่อนชำระที่ดินครบในวันที่ 21 ธันวาคม 2551 ก่อนที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลง ในวันที่ 6 มีนาคม 2552 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่ผู้ร้องเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2551 ก่อนที่โจทก์จะนำยึดที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ทั้งได้รับการคุ้มครองสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18982/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: พฤติการณ์บ่งชี้ความรู้เห็นเป็นใจและช่วยเหลือ
จำเลยนั่งรถยนต์ที่มี ร. เป็นผู้ขับเพื่อส่งเมทแอมเฟตามีนให้สายลับ เมื่อถึงจุดนัดหมาย ร. จอดรถสายลับเดินไปทางด้านซ้ายของรถที่จำเลยนั่งอยู่แล้วกระจกประตูรถด้านซ้ายลดลงสายลับคุยกับบุคคลภายในรถแล้วคนในรถส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับและสายลับส่งธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อให้แก่คนในรถ หากจำเลยมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องสายลับก็ต้องเดินไปหา ร. ซึ่งเป็นคนขับ ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่า จำเลยรู้เห็นในการจำหน่ายและได้ช่วยเหลือในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจนทำให้การซื้อขายเป็นผลสำเร็จ อันถือได้ว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ร. ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง: การซื้อขายที่ดินและการครอบครองเพื่อเป็นเจ้าของ
คำให้การของจำเลยตอนต้นเป็นการกล่าวให้เห็นที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทว่าเนื่องมาจากการซื้อจากบุคคลภายนอกโดยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันเพื่อให้เห็นเหตุและเจตนาในการเข้าครอบครอง ส่วนที่ให้การต่อมาว่า จากนั้นจำเลยและครอบครัวจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 40 ปี ก็เพื่อให้เห็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแล้วโดยการครอบครอง อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าขัดแย้งกัน หากแต่เป็นการลำดับที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่แรกจนได้กรรมสิทธิ์โดยชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องวินิจฉัยตามประเด็นดังกล่าวซึ่งจะต้องพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ด้วย เพราะหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15641/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบงานก่อสร้าง ค่าเช่าบ้านข้าราชการเป็นค่าเสียหายพิเศษ จำเลยต้องคาดเห็นได้
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการในสังกัดโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนหรือขณะทำสัญญาว่าโจทก์จะให้ข้าราชการในสังกัดโจทก์เข้าอยู่อาศัยทันทีเมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาเนื่องจากโจทก์มีภาระต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ทั้งเมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์ยังขยายเวลาให้จำเลยอีก 3 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าการที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จโจทก์จะต้องจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่ข้าราชการในสังกัดโจทก์เป็นเงินเดือนละเท่าใด ค่าเช่าบ้านดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ แต่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์จะเรียกจากจำเลยได้เมื่อจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนี้ล่วงหน้าก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15033/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกินคุ้มครองการครอบครองที่ดิน แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่พิพาท โจทก์จดทะเบียนให้ ส. และ บ. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินใน ที่ดินพิพาทตลอดชีวิต ส. และ บ. ย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1417 วรรคหนึ่ง ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังไม่สิ้นไป เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงหามีสิทธิเช่นว่านั้นด้วยไม่ การบอกเลิกสัญญาเช่าหรือการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทจึงเป็นอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แม้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14660/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษเจ้าพนักงานรัฐในคดียาเสพติด และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 บัญญัติว่า "กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงหาใช่บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าวไม่ ส่วนจำเลยที่ 3 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างใด จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามบทกฎหมายดังกล่าวได้