พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีเจ้าหนี้: การโอนที่ดินโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าทำให้โจทก์ไม่อาจที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพิพาท ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอจะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องเป็นการเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิดนั้น
ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ตามฟ้องของโจทก์ร่วม และบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์สินของตนให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเดือนละ 30,000 บาท ในคดีที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานโกงเจ้าหนี้นั้น มิใช่กรณีที่โจทก์ร่วมรับได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่ต่อเนื่อง ย่อมไม่เกิดกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
การที่ ร. แสดงเจตนาไว้เป็นคำมั่นสัญญาว่า เมื่อ ร. ถึงแก่ความตาย ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้อง แต่ขณะเดียวกัน ร. ก็ได้แสดงเจตนาที่ก่อให้เกิดผลผูกพันแก่ผู้ร้องในขณะที่ ร. ยังมีชีวิตอยู่ว่า อนุญาตให้ผู้ร้องมีสิทธิเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของ ร. ได้โดยมีข้อตกลงว่า ร. จะไม่ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 9183 ข้อตกลงดังกล่าวนี้รวมตลอดถึงการแสดงเจตนาล่วงหน้าของ ร. ที่ว่า จะยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องเมื่อตนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่า ร. ต้องการให้ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทได้ด้วยความมั่นใจว่าจะไม่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิ หรือได้รับความเดือดร้อนเมื่อ ร. ถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้น แต่หาได้มีความหมายไปถึงว่า ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตั้งแต่วันทำหนังสือยกให้ไม่ หาก ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องในทันทีก็ไม่จำต้องระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้าน และการยกที่ดินพิพาทให้โดยพินัยกรรมอันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายแต่อย่างใด
ขณะ ร. มีชีวิตอยู่ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ร. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองต่อ ร. ว่าจะยึดถือเพื่อตน จึงถือว่าผู้ร้องครอบครองแทน ร. ตลอดมา แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ขณะ ร. มีชีวิตอยู่ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ร. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองต่อ ร. ว่าจะยึดถือเพื่อตน จึงถือว่าผู้ร้องครอบครองแทน ร. ตลอดมา แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนจากการจำนำเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน แม้เป็นการครอบครองแทนผู้อื่น
ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" และมาตรา 4 (6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ความหมายของคำว่า "มี" ไว้ว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง เมื่อการจำนำนั้นผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้อยู่ในการครอบครองของผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 และมาตรา 758 การที่จำเลยที่ 3 รับจำนำอาวุธปืนของกลางจึงมีเจตนายึดถืออาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มิใช่เพียงแต่ยึดถือไว้แทนจำเลยที่ 1 ชั่วขณะ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์และอำนาจการริบของศาล: กรณีจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานขายไดอาซีแพม
จำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 จำเลยที่ 2 จึงมียาคลายเครียดไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ การที่จำเลยที่ 1 ขายยาคลายเครียดให้สายลับผู้ล่อซื้อในขณะที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้อยู่ที่ร้านขายยาเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 108 ได้ เพราะมาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้เภสัชกรขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 แก่ผู้ที่ไม่มีใบสั่งยา ส่วนมาตรา 108 กำหนดโทษแก่เภสัชกรผู้ฝ่าฝืน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเภสัชกรจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตราดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 คงเป็นความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ในระหว่างที่เภสัชกรมิได้อยู่ประจำควบคุมกิจการตามมาตรา 26 วรรคสอง และมาตรา 94 เท่านั้น
ตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543 มาตรา 4 ให้ริบวัตถุออกฤทธิ์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้ให้ริบตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนเมื่อริบแล้วกระทรวงสาธารณสุขจะให้ทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 116 ทวิ
ตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543 มาตรา 4 ให้ริบวัตถุออกฤทธิ์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้ให้ริบตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนเมื่อริบแล้วกระทรวงสาธารณสุขจะให้ทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 116 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคดีก่อนหน้าถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริิต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1905/2550 ของศาลชั้นต้น โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน เท่ากับอ้างว่าไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีผลสมบูรณ์บังคับได้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นของ ส. แล้ว และอ้างว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คำฟ้องคดีนี้จึงขัดกับคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อประโยชน์ในเชิงคดีของโจทก์เท่านั้น อันแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าการฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีเดิมเนื่องจากข้อผิดพลาดทางรูปแบบ
คดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นมาแล้ว และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 2322/2550 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเพราะโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในฟ้องและคดีถึงที่สุด จึงถือไม่ได้ว่าความผิดตามฟ้องคดีนี้ ศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงยังไม่ระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องมีเจตนาและวางแผนร่วมกัน การกระทำโดยไม่ได้วางแผนเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่า
วันเกิดเหตุพวกของจำเลยทั้งสองมีเหตุทะเลาะวิวาทกับกลุ่มคนที่เล่นสาดน้ำสงกรานต์ที่ปากซอยที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุพร้อมกับพวกที่มีเหตุทะเลาะวิวาทดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าที่จำเลยที่ 2 พกอาวุธปืนไปด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 2 กับพวกอีกคนหนึ่งจึงใช้อาวุธปืนยิงไปยังกลุ่มคนที่กำลังเล่นสาดน้ำสงกรานต์หลายนัดเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตายและผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายสาหัสและอันตรายแก่กายแล้วพากันหลบหนีไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาใช้อาวุธปืนในการวิวาท จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวก อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การจะเป็นตัวการร่วมฐานความผิดดังกล่าวจะต้องมีลักษณะมีการวางแผนและคบคิดมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น โดยคิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด อันเป็นเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำตามแต่ละคนและไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน แต่สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน โดยได้ความจากคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ว่า ฉ. มีสาเหตุทะเลาะวิวาทกับผู้ตายและได้แจ้งเหตุทางโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ช่วยเหลือโดยไม่ปรากฏว่าได้ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ มีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายและพบ ฉ. จำเลยที่ 1 ก็ถามว่าจะไปไหนกัน ฉ. ตอบว่า "ไปเลียบคลอง" อันแสดงว่าในตอนแรกขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบว่าจะขับรถจักรยานยนต์ไปที่ใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 ไปใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวกในที่เกิดเหตุจึงมีลักษณะเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11645/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11087/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง