พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11153/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน: ประเด็นฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, อายุความ, และการปรับรายวัน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติความหมายคำว่า อาคาร ว่าให้หมายความรวมถึงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และคำว่า ดัดแปลง ว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการดัดแปลงอาคารตึกแถวจากเดิมซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ดัดแปลงเป็นอาคาร 5 ชั้น โดยทำการก่อสร้างเสาเหล็กขึ้นตามชั้นต่าง ๆ และทำการก่อสร้างพื้น ค.ส.ล. ในชั้นที่ 5 ด้วย อันเป็นการเพิ่มขยายขอบเขต รูปทรง น้ำหนัก ทำให้รูปแบบโครงสร้างของอาคารที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและไม่ได้รับยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมายให้กระทำได้ พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10915/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิด จำเลยทั้งหมดพ้นผิด
ส. เป็นผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของคนร้ายโดยตรง ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 และมาตรา 30 และหาก ส. ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ผู้สืบสันดานและภริยาของ ส. ย่อมมีอำนาจจัดการแทน ส. ได้ แต่กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ประการสำคัญไว้ใน มาตรา 5 (2) แห่ง ป.วิ.อ. ว่า ผู้สืบสันดานและภริยาจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ เมื่อพิจารณาคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้วได้ใจความว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ของ ส. ไปและร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย ผลักและฉุดกระชาก ส. เข้าไปในรถยนต์ของจำเลยทั้งห้ากับพวก อันเป็นการข่มขืนใจ ส. ให้ต้องจำยอมเข้าไปในรถยนต์ของจำเลยทั้งห้ากับพวกด้วยการทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือเสรีภาพ และขณะนี้ไม่ทราบว่า ส. ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ซึ่งแม้คำบรรยายฟ้องดังกล่าวจะแสดงว่า จำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันใช้กำลังทำร้าย ส. แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องยืนยันว่า ส. เสียชีวิตแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายตามความหมายของกฎหมาย อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผลักและฉุดกระชาก ส. เข้าไปในรถยนต์ของจำเลยทั้งห้ากับพวกก็ไม่ได้ความตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นเหตุให้ ส. ได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ และแม้ต่อมาในปี 2552 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งแสดงว่า ส. เป็นคนสาบสูญซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ก็ตาม แต่ก็เป็นการตายโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีถูกทำร้ายถึงตายตามความเป็นจริง เมื่อในขณะที่ภริยาและผู้สืบสันดานของ ส. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในปี 2547 และปี 2548 ตามลำดับ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ประกอบกับโจทก์แถลงยอมรับต่อศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า อ. ภริยาของ ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของ อ. โจทก์ร่วมที่ 1 และบุตรของ ส. โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 จึงเป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10915/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา: การพิสูจน์ความเสียหายถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บสาหัส
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ของ ส. ไปและร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย ผลักและฉุดกระชาก ส. เข้าไปในรถยนต์ของจำเลยทั้งห้ากับพวก อันเป็นการข่มขืนใจ ส. ให้ต้องจำยอมเข้าไปในรถยนต์ของจำเลยทั้งห้ากับพวกด้วยการทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือเสรีภาพ และขณะนี้ไม่ทราบว่า ส. ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แม้คำบรรยายฟ้องจะแสดงว่า จำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันใช้กำลังทำร้าย ส. แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องยืนยันว่า ส. เสียชีวิตแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายตามความหมายของกฎหมาย แม้ต่อมาศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า ส. เป็นคนสาบสูญซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ก็ตาม แต่ก็เป็นการตายโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีถูกทำร้ายถึงตายตามความเป็นจริง
ขณะที่ภริยาและผู้สืบสันดานของ ส. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในปี 2547 และปี 2548 ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ประกอบกับโจทก์แถลงยอมรับต่อศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า อ. ภริยาของ ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของ อ. โจทก์ร่วมที่ 1 และบุตรของ ส. โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 จึงเป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) แล้ว
ขณะที่ภริยาและผู้สืบสันดานของ ส. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในปี 2547 และปี 2548 ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ประกอบกับโจทก์แถลงยอมรับต่อศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า อ. ภริยาของ ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของ อ. โจทก์ร่วมที่ 1 และบุตรของ ส. โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 จึงเป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10488/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับโทษทางอาญาด้วยการตายของผู้กระทำผิด และสิทธิในการรับคืนค่าปรับของทายาท
ป.อ. มาตรา 38 บัญญัติว่า "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด" เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โทษตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายยื่นคำร้องขอคืนค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่แจ้งวันนัดและไม่ออกหมายจับจำเลยที่ไม่ได้มาฟังคำพิพากษาเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นไม่ได้ออกหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในวันที่ 2 มิถุนายน 2558 และไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟัง ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน 2558 โดยไม่เชื่อว่าจำเลยไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ กรณีจึงมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ศาลชั้นต้นต้องออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นเคยออกหมายจับจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ก็ตาม แต่การออกหมายจับดังกล่าวเป็นการออกหมายจับจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟังและไม่ได้ออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ทนายจำเลยฟังก็ตาม แต่ทนายจำเลยไม่ใช่คู่ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (3) และ (15) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10073/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยในศาลชั้นต้นเป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตาม จะส่งผลต่อคำพิพากษาในความผิดฐานมีพืชกระท่อม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว ต้องสอบถามจำเลยด้วยว่าจะให้การรับสารภาพในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งรถยนต์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของยังมิได้เสียภาษี การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามคำให้การของจำเลยให้ชัดแจ้ง กลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและมีผลให้กระบวนพิจารณาต่อไปตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมในครอบครองเพื่อจำหน่าย และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี ผู้ประกันยังต้องส่งตัวจำเลยต่อศาล
การบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย แต่ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามนัดอันเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกัน การบังคับตามสัญญาประกันจึงเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกันจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยผู้ประกันมีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลตามกำหนด ตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลต้องถือว่าผู้ประกันยังผิดสัญญาประกัน แต่หากผู้ประกันขวนขวายนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งศาลภายในอายุความทางอาญา ศาลก็อาจลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันได้ตามพฤติการณ์แห่งคดี แม้ผู้ประกันนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งปรับผู้ประกันทั้งสองได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสอง โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีอีก ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดีแก่ผู้ประกันทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองและคืนเงิน 500,000 บาท แก่ผู้ประกันที่ 1 โดยเหตุอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10068/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต้องเป็นผู้เสพก่อน แล้วจึงจำหน่ายยาเสพติดจำนวนน้อย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติดที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นผู้เสพยาเสพติดก่อน แล้วผู้เสพยาเสพติดจึงมาจำหน่ายยาเสพติดจำนวนเล็กน้อยในภายหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ต่อมาวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นเวลาที่อยู่ในระหว่างที่ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นความผิดฐานอื่นที่มีโทษจำคุก การเสพเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะส่งไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9952-9953/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ที่เกินกำหนดตาม ป.วิ.อ.
โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลล่างทั้งสองรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกา อุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงมิใช่อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ร่วม แต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งในเรื่องที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งหลังจากครบกำหนดแล้ว เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม กรณีเช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9889/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับผู้เสียหายและอำนาจฟ้อง ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยอ้างว่า ตามคำเบิกความและคำเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมรู้อยู่แล้วว่าการที่บุตรของโจทก์ร่วมจะเข้ารับราชการทหารได้จะต้องมีการนำเงินไปให้ผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยให้บุตรโจทก์ร่วมเข้าทำงานเป็นทหารได้ ซึ่งเป็นการวิ่งเต้นให้บุคคลที่เกี่ยวข้องช่วยให้เข้ารับราชการอันเป็นการผิดระเบียบของทางราชการ จึงเป็นกรณีที่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้จำเลยกระทำความผิดนั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรชายโจทก์ร่วมให้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อต้องการได้เงินจากโจทก์ร่วมเท่านั้น ดังนี้ ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยดังกล่าว ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยเพื่อนำไปให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุเข้ารับราชการทหารกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว