คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะโจทก์เปลี่ยนแปลงหลังฟ้อง & ความเสียหายก่อนกระทำผิด ไม่กระทบอำนาจฟ้อง/ความรับผิด
ขณะยื่นฟ้องโจทก์ยังเป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์เป็นเพียงนิติบุคคลธรรมดาภายหลังฟ้องก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุกระทำผิดอาญาไม่ จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ การเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้ภายหลังตามที่จำเลยอ้างนั้นก็คงเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้า จึงไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายที่จำเลยได้ก่อขึ้น และไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากความผิดที่ได้กระทำนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็คและการบังคับใช้กฎหมายเช็คในขณะนั้น
ขณะเช็คตามฟ้องถูกปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ฟ้องคดีนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ยังมิได้ประกาศใช้บังคับการที่โจทก์บรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จึงเป็นฟ้องที่ขอให้บังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็คโดยอ้างอิงกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาที่เช็คถูกปฏิเสธ และความถูกต้องของฟ้อง
ขณะเช็คตามฟ้องถูกปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ฟ้องคดีนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้บังคับการที่โจทก์บรรยายฟ้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จึงเป็นฟ้องที่ขอให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: การยกฟ้องเนื่องจากกฎหมายโรงงานใหม่ยกเลิกข้อกำหนดเดิม
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8,12,43 และ 44 แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมดปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานตัดหรือเย็บเครื่องนุ่งห่มมีคนงานไม่เกิน 50 คน จึงเป็นโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้เช่นพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทพระราชบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้น จากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา โจทก์ไม่นำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่ผู้มีชื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ รับฟังได้เพียงว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่ผู้มีชื่อ โดยไม่ปรากฏว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้มีชื่อมีอยู่จริงบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ การออกเช็คพิพาทของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังจำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติใหม่ยกเลิกความผิดเดิม: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คฉบับใหม่
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนั้นแม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้นและต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติอาญาต้องเคร่งครัด และองค์ประกอบความผิดต้องครบถ้วน
บทบัญญัติ ป.อ.มาตรา 218 เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217โดยมาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 218 (1) ถึง (6)ต้องได้รับโทษหนักนั้น ดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน
ป.อ.มาตรา 217 บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด ไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"ก็เป็นความผิดแล้ว จะตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยมิได้ เพราะการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความออกไปถึงกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ เพราะขัดต่อหลักความรับผิดของบุคคลในทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 2
คำฟ้องบรรยายว่า จำเลยวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของบุคคลอื่น อันจะทำให้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 220 เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยมิได้หลงต่อสู้ก็ลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรานี้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้เป็นเจ้าของร่วม และองค์ประกอบความผิดฐานก่อให้เกิดอันตราย
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดยมาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักนั้นดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิด ไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" ก็เป็นความผิดแล้วจะตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยมิได้ เพราะการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความออกไปถึงกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ เพราะขัดต่อหลักความรับผิดของบุคคลในทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 คำฟ้องบรรยายว่า จำเลยวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของบุคคลอื่น อันจะทำให้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยมิได้หลงต่อสู้ก็ลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรานี้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงเผาทรัพย์เจ้าของร่วม และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา
การวางเพลิงเผาทรัพย์ที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 เพราะความผิดตามมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ดังนั้นถ้าการกระทำมิได้เป็นความผิด ตามมาตรา 217 แล้วแม้กระทำต่อทรัพย์ ตามมาตรา 218ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" จะตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น"ให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยย่อมมิได้เพราะการตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ของบุคคลอื่นอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)แม้จำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์ฯ กรณีรับอาวัลตั๋วเงิน - อัตราโทษ - อายุความ - การเปรียบเทียบ
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) บัญญัติว่า"ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทนั้นต้องระวางโทษ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย" ดังนี้ เมื่อบริษัทเงินทุนใดกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทเงินทุนนั้นจะต้องมีความผิดทันทีเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยกรรมการบริษัทเงินทุนลงลายมือชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกันอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งประกาศธนาคารแห่งประเทศกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนั้นนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันจนเป็นจำนวนหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทได้เข้ารับอาวัลตั๋วเงินนั้นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525อันเป็นวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ปรากฏว่าบริษัทและจำเลยไม่เรียกหลักประกันตลอดมาจนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะพ้นความผิดได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับบริษัทเมื่อจำเลยเป็นกรรมการมีหน้าที่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามเรื่องราวให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลวางหลักประกันแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว จำเลยจึงไม่พ้นความผิด
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ70(เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75(เดิม) ด้วยอันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิดทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามอาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้วให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่า หากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้องเมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75(เดิม)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522พ.ศ. 2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คนละ3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
of 28