พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง รังวัดที่ดินไม่ชัดเจน
ตามบันทึกตกลงไว้เป็นหลักฐานได้ความว่า วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 โจทก์และจำเลยกับพวกตกลงกันได้โดยโจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 1,500,000 บาท ในวันดังกล่าว แล้วจำเลยกับพวกต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินทั้ง 3 แปลง ออกไปภายใน 15 วัน โดยวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เวลา 8 นาฬิกา ต้องให้ช่างรังวัดจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามรังวัดที่ดินทั้ง 3 แปลง (รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 40775) เพื่อให้ทราบแนวเขตที่ชัดเจน เมื่อได้แนวเขตที่ชัดเจนแล้ว โจทก์และจำเลยตกลงเป็นอันยุติตามผลการรังวัด และต่างฝ่ายจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินของกันและกันอีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย แสดงว่าโจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยมุ่งที่จะรังวัดที่ดินเพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินให้ชัดเจนเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าได้มีการรังวัดที่ดินเพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินที่ชัดเจนตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในข้อนี้ได้ความจากนายช่างรังวัดชำนาญงาน สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ทำแผนที่พิพาท เบิกความตอบคำถามค้านว่า ในการรังวัดจัดทำแผนที่พิพาทไม่พบหลักหมุดของที่ดินทั้งหมด เช่นนี้ ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าบ้านหลังดังกล่าวจะอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 40775 หรือไม่ เนื่องจากยังไม่ทราบแนวเขตที่ดินที่แน่นอน กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความให้ครบถ้วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้และยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การใช้สิทธิเกินขอบเขตถือเป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
ทางรถยนต์หรือถนนในที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์ทุกแปลงที่จะใช้ทางภาระจำยอมดังกล่าว และโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ก็มีสิทธิใช้สอยอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ การที่จำเลยนำกรวยมาวางบนทางรถยนต์หรือถนนซึ่งเป็นทางภาระจำยอมหน้าอาคารพาณิชย์ของจำเลยและหน้าอาคารพาณิชย์อื่นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถยนต์ส่วนตัวของจำเลยและบริวารนั้น เป็นการใช้สิทธิในภาระจำยอมเพิ่มขึ้นมากกว่าเจ้าของสามยทรัพย์อื่น ทำให้เจ้าของสามยทรัพย์อื่นและโจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์จากทางภาระจำยอมในบริเวณดังกล่าวได้อย่างสะดวก การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงเป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องขนย้ายกรวยหรือวัสดุอื่นใดที่อยู่บนทางภาระจำยอมออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์ให้ตนเองแล้วโอนต่อโดยไม่สุจริต ทายาทมีสิทธิเพิกถอน
จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมรับซื้อฝากที่ดินพิพาทจาก จ. โดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเพื่อกลับคืนสู่กองมรดกได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวกลับมาเป็นของ จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. หรือ ต. เพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับสู่กองมรดกของ ก. หรือ ต. ดังนี้ ตามคำขอดังกล่าวจึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่า โจทก์ทั้งสามมีคำขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่าง จ. ในฐานะส่วนตัวกับ จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพียงพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากและสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่จากการขายฝากที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงยังไม่ครบถ้วนตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ แต่ที่โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษา หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมตามคำขอท้ายดังกล่าวของโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้ที่ดินกลับสู่กองมรดกของ ก. หรือ ต. โดยผลของคำพิพากษา อีกทั้ง ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวโดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแชร์: รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ผู้เสียหายรายบุคคลไม่มีอำนาจฟ้อง
การประกอบธุรกิจเป็นนายทุนวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ นอกจากจะมีผลกระทบต่อการออมของประชาชนแล้วยังกระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัฐให้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 จึงเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง โจทก์เป็นราษฎรจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเองขัดระเบียบ ก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงข้อเท็จจริงที่ร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือโต้แย้งคัดค้านการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียง 1 วัน อันแสดงว่าจำเลยมิได้ยอมรับว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแต่อย่างใด และมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่จะต้องให้จำเลยแถลงหรือโต้แย้งคัดค้านอีก ซึ่งในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยไม่มีทนายความ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเป็นความผิดพลาดของศาลชั้นต้น จึงไม่สมควรให้จำเลยต้องรับผลร้ายดังกล่าว การที่จำเลยไม่ได้แถลงหรือโต้แย้งคัดค้านในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงหาเป็นการให้สัตยาบันยอมรับการผิดระเบียบ เห็นได้จากจำเลยยังฎีกาโต้แย้งในปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งเองให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 กับต่อมารับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ตลอดจนศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องพิจารณาพิพากษาใหม่ และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการยินยอมโดยสุจริตของบุคคลภายนอก ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการซื้อที่ดินพิพาท โดยโจทก์ไม่เคยไปดูที่ดินพิพาท และหลังจากซื้อที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท กับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทไว้ แสดงให้เห็นว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและรับจดทะเบียนจำนอง แสดงว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ถูกต้อง ทั้งโจทก์ยังเป็นมารดาจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ แม้หนังสือมอบอำนาจจะเป็นเอกสารปลอม แต่การที่โจทก์มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เก็บรักษาไว้ และจำเลยที่ 1 ยังมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ไว้ประกอบหนังสือมอบอำนาจ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสที่จะนำโฉนดที่ดินไปทำนิติกรรมใด ๆ นอกเหนือวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์ต้องรับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยไม่ได้รับความยินยอม แต่จำเลยยินยอมและลงลายมือชื่อในบันทึกตรวจค้น ย่อมเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้การค้นบ้านที่เกิดเหตุเป็นการค้นโดยไม่มีหมายค้น และร้อยตำรวจโท ถ. ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ได้ไปปรากฏตัวที่บ้านที่เกิดเหตุเพื่อแจ้งชื่อหรือตำแหน่งแก่ พ. เจ้าของบ้านก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าก่อนที่จะดำเนินการค้นร้อยตำรวจเอก ศ. ได้ขอความยินยอมจาก พ. เจ้าของบ้าน รวมทั้งจำเลยและ ช. ผู้อาศัยอยู่ในบ้านก่อน แล้วจำเลยเป็นผู้นำการค้นด้วยตนเอง แสดงว่าการค้นดังกล่าวกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุรวมทั้งจำเลยและ ช. ผู้อยู่อาศัยในบ้านที่เกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าร้อยตำรวจเอก ศ. ได้ขู่เข็ญหรือหลอกลวงให้ พ. จำเลยและ ช. ให้ความยินยอมในการค้นแต่ประการใด แม้การค้นดังกล่าวจะกระทำลงโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบและฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่อย่างใดไม่
นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกการตรวจค้นซึ่งได้ระบุข้อความว่า ...เนื่องจากมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนอยู่หรืออยู่ในนั้น และมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ทรัพย์นั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน อันเป็นข้อยกเว้นที่ให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นอีกกรณีหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ด้วย ดังนี้ เครื่องกระสุนปืนของกลางที่ร้อยตำรวจเอก ศ. ยึดได้จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่ชอบและใช้ยันจำเลยเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยได้
นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกการตรวจค้นซึ่งได้ระบุข้อความว่า ...เนื่องจากมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนอยู่หรืออยู่ในนั้น และมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ทรัพย์นั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน อันเป็นข้อยกเว้นที่ให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นอีกกรณีหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ด้วย ดังนี้ เครื่องกระสุนปืนของกลางที่ร้อยตำรวจเอก ศ. ยึดได้จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่ชอบและใช้ยันจำเลยเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็ก การฟังข้อเท็จจริงใหม่ของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า อวัยวะเพศของผู้ร้องที่ 1 มีขนาดเล็ก อวัยวะเพศของจำเลยทิ่มถูกบริเวณอวัยวะเพศของผู้ร้องที่ 1 ทำให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าใจว่าสอดใส่เข้าไป จึงเป็นเพียงการพยายามกระทำชำเราเท่านั้น และพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ 1 (2) ถึงข้อ 1 (28) และข้อ 1 (29) ถึงข้อ 1 (37) ฐานพยายามกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องข้อดังกล่าวว่าอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้ร้องที่ 1 เป็นการกระทำชำเราสำเร็จแล้ว ถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ซึ่งแตกต่างจากศาลชั้นต้น แต่เมื่อคดีนี้โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายต้องทำ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
การปิดหมาย เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งต้องปิดหมายไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การที่ผู้ส่งหมายเพียงแต่วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่โต๊ะของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณชั้นล่างของอาคารที่จำเลยมีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 5 จึงไม่ชอบ กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและภายหลังแต่นั้นมาย่อมไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีต่างๆ แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด และผลของการพิพากษาให้ยกฟ้องในบางคดีต่อการนับโทษ
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 993/2558 ของศาลชั้นต้น และเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 821/2560 ของศาลชั้นต้น ซึ่งในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 993/2558 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 10 เดือน 20 วัน และในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 821/2560 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 3 ปี 9 เดือน แม้คดีทั้งสองจะยังไม่ถึงที่สุดเพราะอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ฎีกา แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังต้องถูกบังคับตามผลของคำพิพากษาในคดีทั้งสองอยู่ ศาลฎีกาชอบที่จะนำโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในคดีทั้งสองมานับต่อจากโทษจำคุกคดีนี้ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 821/2560 ของศาลชั้นต้น จึงไม่มีโทษจำคุกในคดีดังกล่าวที่จะนำมานับโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้