พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14206/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าจ้างก่อนพิพากษา: สิทธิของบุคคลภายนอกเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยขอให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และขอให้อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างและขอคืนเงินให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่เป็นคู่ความ จึงพอแปลได้ว่า เป็นกรณีที่ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 โดยความในวรรคหนึ่งของมาตรา 261 ได้บัญญัติให้นำมาตรา 312 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่ได้มีคำสั่งเรียกร้องเอาแก่ตนได้ตามมาตรา 312 ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี บทบัญญัติในมาตรา 312 เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 2 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ในลักษณะ 2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และการจ่ายเงินนี้ นอกจากให้สิทธิผู้ร้องที่ถูกบังคับตามสิทธิเรียกร้องชอบที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งสิทธิเรียกร้องที่เรียกเอาแก่ตนได้แล้ว ยังต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 311 วรรคสาม ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องได้ แม้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือมีเงื่อนไขหรือไม่ มาใช้บังคับด้วย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดโดยมีข้อโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ธนาคารตามข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องนั้น จึงไม่อาจรับฟัง ผู้ร้องในฐานะบุคคลภายนอกผู้ได้รับหมายอายัดย่อมไม่อาจขอให้เพิกถอนหมายคำสั่งอายัดชั่วคราวและขอคืนเงินที่อายัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์(ผู้รับประกันภัย)ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ ม. เบิกความโดยได้ฟังคำพยานของจำเลยก่อนก็ตาม แต่ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยนั้น ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์ที่ ส. ขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนทางมา ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยประกอบกับสภาพความเสียหายของรถและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุสนับสนุนกัน คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีบันทึกคำให้การของ ม. ในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานประกอบ จึงเป็นที่เชื่อฟังได้ และไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคสอง
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย การไม่จดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลย ก็มิได้กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำกัด มีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ดังนี้ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
การโอนหุ้น โจทก์จะต้องมีเอกสารหลายอย่างมามอบให้จำเลย ต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมดำเนินการได้ จำเลยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารก่อนนั้น เป็นเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการของจำเลยเท่านั้น รวมทั้งไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นสินสมรสของ ภ. หรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งการกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
การโอนหุ้น โจทก์จะต้องมีเอกสารหลายอย่างมามอบให้จำเลย ต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมดำเนินการได้ จำเลยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารก่อนนั้น เป็นเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการของจำเลยเท่านั้น รวมทั้งไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นสินสมรสของ ภ. หรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งการกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13531/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกล่าช้าจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการของจำเลย ไม่เป็นเหตุให้พิจารณาคดีใหม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลแรงงานกลางพิจารณาคำร้องของจำเลยเฉพาะเหตุในเนื้อหาแห่งคดีตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกัน โดยไม่ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยมาศาลไม่ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยชอบแล้วและโจทก์ไม่ได้คัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว
พนักงานรักษาความปลอดภัยลงชื่อรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ตามปกติพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเป็นกะจึงต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นผลัดเปลี่ยนปฏิบัติหน้าที่แทนคนที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นเห็นซองเอกสารบรรจุหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจ่าหน้าถึงจำเลยแล้วเพิ่งนำส่งจำเลยในวันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งล่วงเลยไปเป็นเวลาถึง 21 วัน จึงเป็นเรื่องผิดปกติ ความผิดพลาดที่ทำให้จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องล่าช้าเกิดจากการบริหารจัดการของจำเลยเอง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จึงไม่ใช่เหตุแห่งความจำเป็นที่เป็นการสมควรยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยชอบแล้วและโจทก์ไม่ได้คัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว
พนักงานรักษาความปลอดภัยลงชื่อรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ตามปกติพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเป็นกะจึงต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นผลัดเปลี่ยนปฏิบัติหน้าที่แทนคนที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นเห็นซองเอกสารบรรจุหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจ่าหน้าถึงจำเลยแล้วเพิ่งนำส่งจำเลยในวันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งล่วงเลยไปเป็นเวลาถึง 21 วัน จึงเป็นเรื่องผิดปกติ ความผิดพลาดที่ทำให้จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องล่าช้าเกิดจากการบริหารจัดการของจำเลยเอง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จึงไม่ใช่เหตุแห่งความจำเป็นที่เป็นการสมควรยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่