คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 714

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจำนอง ห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญา หากไม่ได้อ้างเหตุสัญญาไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาจำนองมีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง(โจทก์) ได้รับเงินไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้น ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ใช่นำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจำนอง ห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่ระบุในสัญญา
ตามสัญญาจำนองมีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง (โจทก์) ได้รับเงินไปแล้วทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้วโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้นย่อมไม่ได้เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ใช่นำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนอง: สัญญาจำนองเป็นหลัก สารบัญญัติในสัญญาสำคัญกว่าพยานหลักฐานอื่น แม้มีการตกลงนอกสัญญา
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้ สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้ สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้น เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้น จำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง 16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอาสารสัญญากู้ที่ลูหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจำได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่น ๆ เป็ฯไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้อง แต่เมื่องสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างมากน้องเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่น ๆ นอกสัญญาจำนอง ดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลย+ถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องของให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็ฯประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่าง ๆ กัน ผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอ-ต่อศาลขอแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดี ศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองรวมทั้งโฉนดและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจำนองเป็นหลักสำคัญ ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นเมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้นจำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอกสารสัญญาก้ที่ลูกหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจะได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่นๆเป็นไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้องแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วยทั้งสิ้น (22 ห้อง) ข้อที่ว่าจะจำนองสิ่งปลูกสร้างมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่นๆนอกสัญญาจำนองดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยชักถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็นประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่างๆ กันผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอต่อศาลขอแบ่งแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคลดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดีศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันการชำระหนี้ต้องเป็นการจำนองตามกฎหมาย การยึดใบแจ้งการครอบครองที่ดินมิใช่หลักประกันที่ถูกต้อง
คำว่า "ประกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 (2) นั้น หมายความถึงการประกันการชำระหนี้
การที่จะให้อสังหาริมทรัพย์ใดเป็นการประกันการชำระหนี้ได้ ต้องกระทำด้วยวิธีการจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702, 703 และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 704
สัญญากู้ยืมเงินที่ระบุไว้ว่าผู้กู้ได้นำใบแจ้งการครอบครองที่ดินสวนยาง 1 แปลง เนื้อที่ 9 ไร่เศษให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันด้วยนั้น หาใช่เป็นการเอาสวนยางเข้าประกันการชำระหนี้ตามกฎหมายไม่ ฉะนั้น ถ้าผู้กู้ทำนิติกรรมยกสวนบางบางส่วนให้คนอื่นไป จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเกินจำนวนหนี้จริง การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาจำนองเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนหนี้ในสัญญาจำนองเกินข้อตกลงเดิม เป็นการขัดต่อหลักการนำสืบพยาน
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273-274/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการจำนอง: การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์สภาพที่แท้จริงของสัญญา
โจทก์จำนองที่ดินไว้เป็นประกันเงินกู้แต่ทำหลักฐานทางทะเบียนเป็นการขายฝากและโจทก์คงครอบครองที่ดินมาดังนี้ โจทก์ย่อมนำสืบว่าสัญญาขายฝากที่ทำต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นนิติกรรมอำพรางการจำนองได้ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร อันต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะถ้าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการจำนองก็เป็นโมฆะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้(ฎีกา 272/2498ประชุมใหญ่4/2498)
เมื่อคู่ความยังโต้เถียงข้อเท็จจริงกันว่ามีการทำนิติกรรมอำพรางนิติกรรมที่แท้จริงไว้และยังไม่ได้ความที่จะฟังว่าเป็นไปในทางใดศาลชั้นต้นก็สั่งงดสืบพยานเสียดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยทุจริตเป็นโมฆะ สิทธิจำนองที่จดทะเบียนกับผู้ไม่มีสิทธิไม่สมบูรณ์
จำเลยที่ 1 รับเอาโฉนดที่พิพาทของโจทก์ไปโดยบอกว่าจะซื้อ แล้วจัดการโอนเอาเสียเองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย เมื่อนิติกรรมการโอนที่ดินรายพิพาทมาเป็นของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการทุจริตและโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย นิติกรรมการโอนเป็นโมฆะแล้ว ก็ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิม หาตกเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินนั้นไปจำนองใครได้ การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับจำนองที่ดินรายนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจะจำนองได้ จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองนั้น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยทุจริตทำให้การจำนองจากผู้ไม่มีสิทธิทำสัญญาเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิม
จำเลยที่ 1 รับเอาโฉนดที่พิพาทของโจทก์ไปโดยบอกว่าจะซื้อ แล้วจัดการโอนเอาเสียเองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อนิติกรรมการโอนที่ดินรายพิพาทมาเป็นของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการทุจริตและโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมการโอนเป็นโมฆะแล้วก็ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิมหาตกเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินนั้นไปจำนองใครได้ การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับจำนองที่ดินรายนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจะจำนองได้ จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่2 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองนั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2501)
of 5