พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าอาคารราชพัสดุและชำระค่าภาษีแทนกรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ทำกับโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับการประเมินย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6329/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่า, การสิ้นสุดสัญญาโดยปริยาย, และขอบเขตการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
สิทธิในการเลิกสัญญาของคู่สัญญาอาจเกิดจากข้อกำหนดในสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายอันเป็นหลักทั่วไปตามมาตรา 387 ถึง 389 หรือตามบทบัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา ลักษณะเช่าทรัพย์ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยไม่เป็นไปตามฐานะผู้ให้เช่าที่ควรให้ความสะดวกแก่ผู้เช่าตามสมควร แต่กลับไม่ให้ความสะดวกในการที่จำเลยให้เช่าช่วงนั้น เมื่อตามสัญญาเช่าไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังที่จำเลยกล่าวอ้างทั้งตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยก็มิได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา หนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยเป็นเพียงคำเสนอขอเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ตกลงเลิกสัญญาตามคำเสนอของจำเลย สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาได้เลิกกันไม่
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เงินช่วยค่าก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ต้องนำมารวมคำนวณค่ารายปี
โจทก์เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้วก่อสร้างอาคารตึกแถวลงบนที่ดินดังกล่าว โจทก์มีสิทธิ นำอาคารตึกแถวที่ปลูกสร้างให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โดยบุคคลภายนอกผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกเป็นการตอบแทน และผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามสัญญาอีก เงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เก็บจากผู้เช่าดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้ชำระให้ล่วงหน้าและเป็นเหตุให้ค่าเช่าที่จะต้องชำระรายเดือนลดลงต่ำกว่ามูลค่าของค่าเช่าที่แท้จริง เงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าจึงต้องรวมถือเป็นค่ารายปีด้วย
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 หากไม่มีกำไรสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปี คือจำนวนเงิน ซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ดังนั้น แม้โจทก์จะนำเงินช่วยค่าก่อสร้างไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ต้องนำเงินช่วยค่าก่อสร้างดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่ามารวมคำนวณเป็นค่ารายปีเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและ ที่ดินด้วยเพราะเป็นภาษีคนละประเภทไม่ซ้ำซ้อนกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างอาคารตึกแถวนำออกให้บุคคลภายนอกเช่า เป็นเวลา 30 ปี สัญญาเช่าที่ดิน ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาถ้าสัญญาเช่าระงับลงไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ผู้เช่ายินยอมให้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่ในที่เช่า? ที่เป็นกิจการของโครงการทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น? เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าบรรดาอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมี หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม มาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 หากไม่มีกำไรสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปี คือจำนวนเงิน ซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ดังนั้น แม้โจทก์จะนำเงินช่วยค่าก่อสร้างไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ต้องนำเงินช่วยค่าก่อสร้างดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่ามารวมคำนวณเป็นค่ารายปีเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและ ที่ดินด้วยเพราะเป็นภาษีคนละประเภทไม่ซ้ำซ้อนกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างอาคารตึกแถวนำออกให้บุคคลภายนอกเช่า เป็นเวลา 30 ปี สัญญาเช่าที่ดิน ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาถ้าสัญญาเช่าระงับลงไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ผู้เช่ายินยอมให้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่ในที่เช่า? ที่เป็นกิจการของโครงการทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น? เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าบรรดาอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมี หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม มาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินสำหรับผู้เช่าที่ชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า แม้มิใช่ผู้รับประเมิน
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินไป แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน กรณีสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648-1649/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีเพื่อคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาจากค่าเช่าที่สมควรและมีเหตุผลสนับสนุน
กรณีที่จะเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องร้องเอาจากผู้ที่ตนชำระหนี้แทน แต่กรณีของคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3)
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่