พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสิบดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และรุกล้ำที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาท การที่จำเลยทั้งสิบว่าจ้างผู้ออกแบบอาคารพิพาทและใช้วิศวกรควบคุมการก่อสร้างคนเดียวกัน ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทในคราวเดียวกัน และดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทพร้อมกัน จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเป็นตัวการร่วมกันดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและรุกล้ำที่สาธารณะ
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้พ้นจากตำแหน่งแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายจะดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยและการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นความผิดตลอดเวลาที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2547 อันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ตาม แต่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุไม่ หากจำเลยที่ 2 ต้องเสียหายจากการที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องดังกล่าวหลังจากนั้นอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าปรับตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันเกินกว่าที่ฟ้อง และการเพิ่มโทษเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกาแก้เป็นไปตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ไม่มีเลขที่ 1 หลัง ขนาดประมาณ 8.08 เมตร x 10.00 เมตร สูง 10.07 เมตร มีพื้นที่ 251 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29634 จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อพักอยู่อาศัย เมื่อระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารไม่มีเลขที่ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เป็น 4 ชั้น ขนาดกว้าง 8.08 เมตร ยาว 10.00 สูง 10.17 เมตร เพื่อพาณิชยกรรม อันเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่าจำเลยเจตนาก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบโดยขออนุญาตก่อสร้างเพื่อพักอยู่อาศัย แต่มาปรับเพื่อพาณิชยกรรม หรือจำเลยมีเจตนาหรือจงใจที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่ก่อสร้างเพื่อพาณิชยกรรม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคารรื้อถอน: จำแนกฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้ว โจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารผิดกฎหมาย จำเลยต้องรับโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ศาลจะลดโทษแล้ว
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ร่วมกันทำความผิดโดยดัดแปลงอาคารซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 31 เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทกำหนดโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 และมาตรา 70 แพ่งพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งในมาตรา 65 วรรคสองยังบัญญัติให้ลงโทษปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันอีกด้วย มิได้ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจที่จะไม่ลงโทษปรับรายวันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดเงื่อนไขใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฎีกาที่ไม่สามารถทำได้ในประเด็นข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิพากษาเกินคำขอและข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้างพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้างพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับ ศาลฎีกาพิจารณาโทษตามกฎหมายที่มีผลดีต่อจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่6 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65 วรรคหนึ่ง,70 แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิมซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษ ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 21 ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่า จะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี