คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายแสดง รายการในที่ดินที่ทำการปลูกสร้าง มิได้ฟ้องว่าติดตั้งป้ายไม่ถูกต้อง จึงไม่มีเหตุและความจำเป็นที่จะต้องบรรยายขนาดความกว้างยาวของป้ายและรายการตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 100 ฟ้องโจทก์เพียงบรรยายว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายในที่ดินที่ทำการปลูกสร้างก็ครบองค์ประกอบแห่งความผิดและทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม อาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างติดกับซอยซึ่งเป็นทางสาธารณะมีผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ต่อจากผิวจราจรเป็นทางเท้าด้านหน้าอาคารกว้าง 2 เมตร รวมเป็น 9 เมตรเสาอาคารที่ก่อสร้างด้านหน้าอยู่ห่างจากขอบถนนเพียง 2 เมตรเมื่อตามแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตกำหนดระยะที่ตั้งของอาคารห่างจากขอบถนน 3.15 เมตร อาคารที่ก่อสร้างจึงมีระยะที่ตั้งถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตถึงร้อยละ 36.50 เกินกว่าข้อยกเว้นที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1 จึงเป็นการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1(3) เป็น เรื่องการดัดแปลงอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิมจะนำมาใช้กับการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ไม่ได้ ตามแบบแปลนแผนผังบริเวณอาคารตึกแถวแต่ละห้องที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างมีความกว้างห้องละ 4.50 เมตรเมื่อจำเลยทั้งสองก่อสร้างทางด้านหลังห้องหนึ่ง ๆ ยื่นออกไปอีก 0.90 เมตร ทำให้ห้องมีความกว้างเป็น 5.40 เมตรความกว้างของแต่ละห้องที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละยี่สิบเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละห้า จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ทำได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารซึ่งจะต้องเว้นที่ว่างด้านหลังอาคารโดยปราศจากสิ่งปกคลุม .05 ถึง 2.85 เมตรจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ แต่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยเว้นที่ว่างหลังอาคารเพียง 1.50 ถึง 2 เมตรและก่อสร้างด้านหลังอาคารออกไปปกคลุมตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไปตลอดแนวอาคาร จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จะนำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะข้อบัญญัติดังกล่าวใช้ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ควบคุมการรื้อถอนอาคารที่ผิดแบบและประมาทเลินเล่อจนเกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการรื้อถอนอาคาร ถือได้ว่าเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุ เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารอันอาจจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 วรรคแรกแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมงานในความหมายตามมาตรา 4 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 31 วรรคสองอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุได้ดำเนินการรื้อถอนโดยทุบพื้นคอนกรีตทุกชั้นก่อนเพื่อให้วัสดุที่รื้อถอนหล่นลงมาข้างล่างตามช่องพื้นที่ทุบไว้ และเศษอิฐเศษปูนที่ไม่สามารถผ่านช่องพื้นที่ทุบไว้ได้คงค้างอยู่จนพื้นชั้นที่ 6 รับน้ำหนักไม่ไหว เป็นเหตุให้อาคารที่กำลังรื้อถอนอยู่นั้นพังลงมาทับคนงานที่กำลังรื้อถอนอาคารอยู่ถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการรื้อถอนที่ผิดไปจากแบบแปลนและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดและเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31,70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: เจ้าของอาคารและผู้ควบคุมงานมีส่วนร่วมความผิดได้ แม้สร้างผิดเฉพาะแบบแปลน
ผู้กระทำผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้จำกัดเฉพาะผู้ควบคุมงานเท่านั้น แต่หมายความถึงผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารผิดไปจากแผนผัง บริเวณแบบแปลน ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดตามมาตรานี้ด้วย ส่วนตามบทบัญญัติของวรรคสอง มาตราเดียวกันนี้หมายถึงว่า ผู้ควบคุมงานก็มีความผิดด้วย และเป็นตัวการร่วมกันกับผู้จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ผู้กระทำผิดตามมาตรา 31 นี้ เพียงแต่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้เพียงประการเดียวก็เป็นความผิดแล้ว คือ กระทำการดังกล่าวให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณ ผิดไปจากแบบแปลน ผิดไปจากรายงานประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต หาจำเป็นจะต้องกระทำการทุกอย่างร่วมกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องและการรับสารภาพของจำเลย ศาลลงโทษได้แม้ไม่ได้อ้างมาตราลงโทษ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดหลายกรรม แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตราอันเป็นบทลงโทษไว้ด้วยก็เห็นเจตนาได้ว่าข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพแล้วนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสาม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและลงโทษจำเลยไม่เกิน5 ปี จำเลยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดหลายกรรม และการลงโทษตามบทกฎหมายที่โจทก์ประสงค์ แม้ไม่ได้อ้างมาตราลงโทษโดยตรง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดหลายกรรม แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตราอันเป็นบทลงโทษไว้ด้วยก็เห็นเจตนาได้ว่าข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพแล้วนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสาม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและลงโทษจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและไม่ต่อใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรม การลดโทษต้องมีเหตุเฉพาะตัว
จำเลยปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้างแต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกย่อมเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71 อีกกรรมหนึ่ง เหตุบรรเทาโทษเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยที่ไม่มีเหตุบรรเทาโทษย่อมไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ควบคุมงานละเลยหน้าที่ก่อสร้างผิดแผน ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้โดยระบุว่ามีจำเลยทั้งสองเป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา31 วรรคสองตอนแรก ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังฟ้อง ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัยและอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร การละเลยควบคุมงานทำให้เกิดการก่อสร้างผิดแบบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานตามใบอนุญาตก่อสร้างที่ ว. ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เป็นการกระทำของผู้อื่นมิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 31 วรรคสองตอนแรก จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัย และอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการเพิ่มเติมโครงสร้างอาคารที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงสี่ชั้น แต่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารสูงห้าชั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มทั้งจำนวนชั้นและความสูงของอาคาร เมื่อความสูงของอาคารเป็นส่วนที่จะต้องนำมาใช้คำนวณโครงสร้างของอาคารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การก่อสร้างอาคารของจำเลยจึงเป็นการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคาร เป็นการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการดัดแปลงโครงสร้างอาคารที่ผิดกฎหมาย
จำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงสี่ชั้น แต่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารสูงห้าชั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มทั้งจำนวนชั้นและความสูงของอาคาร เมื่อความสูงของอาคารเป็นส่วนที่จะต้องนำมาใช้คำนวณโครงสร้างของอาคารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การก่อสร้างอาคารของจำเลย จึงเป็นการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารเป็นการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31
of 5