พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันสำหรับอาคารผิดแบบ ต้องมีคำสั่งรื้อถอนก่อน
การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 นั้นจะลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวตามมาตรา 42แล้วแต่เจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตาม หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามแล้ว ก็ไม่อาจลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้กำหนดให้ใช้เสาในการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีเสาทั้งสองข้างของตัวอาคารสำหรับรับน้ำหนักของอาคารข้างละ 5 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาจำนวน 10 ต้น และให้เสาแต่ละต้นเป็นเสาของอาคารนั้นเอง ไม่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียง แต่จำเลยกับ ร.ไ้ดร่วมกันก่อสร้างโดยใช้เสาสำหรับรับน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้างของตัวอาคารดังกล่าวเพียงข้างละ 4 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาเพียง 8 ต้น และตำแหน่งของเสาแต่ละต้นดังกล่าวก็ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ทั้งเสาทางด้านซ้ายมือของตัวอาคาร 4 ต้นก็ไม่ได้เป็นเสาของตัวอาคารนั้นเอง หากแต่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียงที่อยู่ติดกัน อันเป็นการผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และตามแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้กำหนดให้มีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่จำเลยกับ ร.ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินทั้งหมดโดยไม่เว้นที่ว่าง โดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติดังกล่าว ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการก่อสร้างผิดจากแผนผัง บริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตอย่างไร เป็นการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยชัดแจ้งแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2522 ในข้อใดอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร การลงโทษและความผิดหลายกระทง
การก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนตามที่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 อยู่ในตัว เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่จำเลยได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และมีโทษตามมาตรา 65 กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งมาตรา 43 วรรคสาม บัญญัติถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสองวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม การฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 69 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 65 วรรคสอง ไม่ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยฝ่าฝืนโดยยังคงทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสองและมาตรา 42 วรรคหนึ่ง และหากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอน แม้โครงสร้างแข็งแรง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ระบุใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้ แต่ในการดำเนินการ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 21 อีกด้วย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ทำให้ต้องรื้อถอน แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและ ดัดแปลงอาคารพิพาทได้ ระบุให้ใช้ โครงสร้างเดิม ซึ่ง เป็นไม้แต่ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ออกทั้งหมด แล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ขึ้นทั้งหลังโดย ใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยาย ความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก เป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่และมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 21 ด้วย นอกจากนั้น แนวอาคารหลังใหม่ด้าน ทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะเพียง 1.35 เมตรและห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศใต้เพียง 1.25 เมตรไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 วรรคแรก ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้ อาคารนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือ ได้ ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้อง รื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอนได้ แม้มีความมั่นคง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทได้ระบุให้ใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้แต่จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมดแล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลังโดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 อีกด้วยและแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัด ต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72วรรคแรก หากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้านทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้นเมื่อที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวแม้จะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรจะต้องรื้อถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซม และดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ ระบุใช้ โครงสร้างเดิมซึ่ง เป็นไม้แต่ ในการดำเนิน การ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยายความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 21 อีกด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้าน ทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่น ระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้าน ละ 3 เมตรที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ ว่ามีเหตุสมควรจะต้อง รื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมจากการก่อสร้างผิดกฎหมายและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 ด้วยนั้น เมื่อตามมาตรา 65 ดังกล่าวระบุว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา42 วรรคสอง...ต้องระวางโทษ..." ดังนี้ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ย่อมหมายถึงจำเลยได้กระทำความผิดฐานนี้ด้วย จำเลยจึงต้องรับโทษตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวอีกกรรมหนึ่ง การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้วเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยยังคงสร้างต่อไปอีก จึงเป็นการกระทำผิดกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการปรับเรียงรายตัวเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องการปรับรวม – การเพิ่มโทษโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ.2522 โจทก์อุทธรณ์เฉพาะเรื่องที่ศาลชั้นต้นคำนวณวันที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ถูกต้อง ส่วนที่ศาลชั้นต้นปรับจำเลยทั้งสองฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมกันนั้นโจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาปรับเรียงรายตัว ซึ่งรวมแล้วเกินไปกว่าที่ปรับรวมกัน เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และอุทธรณ์ของโจทก์ถือไม่ได้ว่าอุทธรณ์ให้เพิ่มโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการปรับเรียงรายตัวเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องการปรับรวมกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์อุทธรณ์เฉพาะเรื่องที่ศาลชั้นต้นคำนวณวันที่จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ถูกต้อง ส่วนที่ศาลชั้นต้นปรับจำเลยทั้งสองฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมกันนั้นโจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาปรับเรียงรายตัว ซึ่งรวมแล้วเกินไปกว่าที่ปรับรวมกัน เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และอุทธรณ์ของโจทก์ถือไม่ได้ว่าอุทธรณ์ให้เพิ่มโทษ.