คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 70

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10672/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาต้องเป็นไปตามข้อกำหนดใน ป.วิ.อ. และต้องเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 จะบัญญัติว่า ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ จะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมไม่อาจไปยื่นคำร้องในคดีความผิดอื่นของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายได้ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการร่วมกันดัดแปลงขึ้นด้วยการต่อเติมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
บนที่ว่างด้านหลังเชื่อมต่ออาคารหลังเดิมให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงต่อเติมอาคาร แต่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอันเป็นคนละข้อหากับที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารมาในคดีนี้ หากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยทั้งสองจริงก็ต้องยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีบทแก้ไขโทษ แต่ศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุกและปรับ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ไม่อาจฎีกาได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหก, 65 วรรคหนึ่ง, 70 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 69 ด้วย ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ อันเป็นเหตุฉกรรจ์ หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ โดยมิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหกของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีจุดมุ่งหมายห้ามมิให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารในระหว่างอุทธรณ์ในทันทีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพอาคารมิให้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะถ้าหากปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอาจทำให้อาคารมีสภาพเปลี่ยนแปลงยากแก่การแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนั้นข้อห้ามกระทำการใดแก่อาคารจึงเริ่มตั้งแต่วันที่มีการยื่นอุทธรณ์ หาใช่นับแต่วันที่ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้พ้นจากตำแหน่งแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายจะดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยและการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นความผิดตลอดเวลาที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2547 อันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ตาม แต่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุไม่ หากจำเลยที่ 2 ต้องเสียหายจากการที่ยังไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องดังกล่าวหลังจากนั้นอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าปรับตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันเกินกว่าที่ฟ้อง และการเพิ่มโทษเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกาแก้เป็นไปตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ไม่มีเลขที่ 1 หลัง ขนาดประมาณ 8.08 เมตร x 10.00 เมตร สูง 10.07 เมตร มีพื้นที่ 251 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29634 จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อพักอยู่อาศัย เมื่อระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารไม่มีเลขที่ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เป็น 4 ชั้น ขนาดกว้าง 8.08 เมตร ยาว 10.00 สูง 10.17 เมตร เพื่อพาณิชยกรรม อันเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่าจำเลยเจตนาก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบโดยขออนุญาตก่อสร้างเพื่อพักอยู่อาศัย แต่มาปรับเพื่อพาณิชยกรรม หรือจำเลยมีเจตนาหรือจงใจที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่ก่อสร้างเพื่อพาณิชยกรรม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฐานก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่ง รวมถึงการกำหนดโทษปรับรายวันเกินเลยขอบเขตฟ้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือนด้วยเมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้งคงลงโทษจำคุก 2 เดือน จึงไม่ห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้น ๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาโดยตรงแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ตรงกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องที่ส่งผลต่อการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอแก้ไขบทลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดความผิดก่อนที่ศาลชั้นพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง หากจำเลยเห็นว่าที่จำเลยรับสารภาพไปจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลล่างทั้งสองย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานใช้อาคารผิดประเภทและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นถือเป็นความผิดหลายกรรม
เมื่อจำเลยได้ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยและหอพักที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 จำเลยกลับใช้อาคารดังกล่าวเป็นโรงแรม โดยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารดังกล่าวจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และยังไม่ได้ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม กระทงหนึ่ง กับมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้แจ้งคำสั่งให้ระงับการการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกัน และจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองดังกล่าวในขณะเดียวกันก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองข้อหามีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน แต่ละข้อหาจะมีความผิดตลอดไปจนกว่าจำเลยได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและจนกว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารแล้วแต่กรณี และการได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในแต่ละกรณี เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน และอาจได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วย ทั้งความผิดฐานใช้อาคารโดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและฐานใช้อาคารเพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมอีกด้วย การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองลักษณะจึงย่อมเป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 จึงต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เพียงถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งสองวรรค
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกัน คือ นอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การพิจารณานับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 นี้ จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกัน ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและสอง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกันกล่าวคือนอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การนับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกันไม่ ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
of 5