พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณา ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนเพราะลายมือชื่อของ จ. และ ศ. ผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม เท่ากับจำเลยโต้แย้งคัดค้านว่าหนังสือมอบอำนาจไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง เมื่อต้นฉบับเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 โดยหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 มี จ. และ ศ. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ แต่หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2536 มี จ. และ ป. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ จึงมิใช่เอกสารฉบับเดียวกัน เมื่อโจทก์ไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 มาแสดง โดยไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น จึงรับฟังข้อความตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ฟ้องของโจทก์จึงถือว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ถึงแม้จะฟังว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ตามข้ออ้างของโจทก์ก็ตาม แต่เป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับที่โจทก์ใช้ยื่นฟ้องคดีนี้ และมิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาจ้างทำของและการรับรองใบกำกับภาษี แม้ไม่มีต้นฉบับสัญญา
ต้นฉบับสัญญาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ โจทก์จึงต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 และมาตรา 125 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 เมื่อโจทก์ไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง และมิใช่กรณีที่จะนำสำเนามาสืบแทนต้นฉบับได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 สำเนาสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานไม่ได้
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์มีสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้คัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับเป็นพยาน เมื่อฟังได้เช่นนี้จึงมีเหตุเชื่อได้ว่า โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินค่าจ้างจริง ใบกำกับภาษีที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้เนื่องจากการรับเงินค่าจ้าง เป็นใบกำกับภาษีที่โจทก์ผู้ได้รับประโยชน์สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงมิใช่ใบกำกับภาษีปลอมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) วรรคสอง เมื่อขณะออกใบกำกับภาษีนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์สำหรับใบกำกับภาษีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพบริษัท, อำนาจฟ้อง, และการยอมรับเอกสาร - การบังคับจำนอง
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัดเป็นการแปรสภาพไปตามกฎหมายไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือเมื่อโจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลจำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวแต่ประการใดถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ ปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองจากโจทก์แล้วหรือไม่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการบังคับอายุความสิทธิเรียกร้องเงินคืน
เอกสารหมาย ล.3 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารและโจทก์ก็มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับโจทก์ไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนาเอกสารมาเบิกความรับรอง จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการแปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยและลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไรหรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญเมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายคำฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9CH-1935แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว"ช"และ"ฉ"คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว"ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9CH-1935 คือ9 ช-1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ-1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อความเสียหายจากรถยนต์, การแปลเลขทะเบียน, และการนำสืบพยาน
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลย และลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไร หรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้
ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9 CH - 1935 แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว "ช" และ "ฉ" คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว "ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9 CH -1935 คือ 9 ช - 1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ - 1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้
ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9 CH - 1935 แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว "ช" และ "ฉ" คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว "ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9 CH -1935 คือ 9 ช - 1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ - 1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาซื้อขาย: สำเนาเอกสารที่ไม่สามารถแสดงต้นฉบับได้
ตามสำเนาสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างส่งนั้น เป็นสำเนาเอกสารซึ่งโจทก์อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย แต่จำเลยคัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารนี้ไม่อยู่ในความครอบครองของจำเลย และนำสืบว่าไม่มีต้นฉบับเอกสารนี้ เมื่อชั้นพิจารณาโจทก์ไม่มีต้นฉบับเอกสารมาแสดงโดยไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย การอ้างสำเนาเอกสารของโจทก์จึงรับฟังข้อความตามเอกสารไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานผู้เชี่ยวชาญและน้ำหนักพยานหลักฐาน: การรับฟังเอกสารและการชำระค่าเอกสาร
พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาแม้จะเป็นพยานที่ศาลรับฟัง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเชื่อเสมอไป คำพยานชนิดนี้จะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ต้องพิจารณา ตามรูปเรื่อง เหตุผล และพยานหลักฐานอื่นประกอบกัน
แม้โจทก์จะไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่โจทก์ก็ได้ขอชำระค่าอ้างเอกสารนั้นแล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ อ้างว่าโจทก์เข้าใจผิดคิดว่าเสียค่าอ้างแล้ว มิได้จงใจที่จะไม่ชำระ ดังนี้ เมื่อศาลได้ยอมรับชำระเงินค่าอ้างเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานได้
แม้โจทก์จะไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่โจทก์ก็ได้ขอชำระค่าอ้างเอกสารนั้นแล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ อ้างว่าโจทก์เข้าใจผิดคิดว่าเสียค่าอ้างแล้ว มิได้จงใจที่จะไม่ชำระ ดังนี้ เมื่อศาลได้ยอมรับชำระเงินค่าอ้างเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดก: ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมและผลของการสละสิทธิรับมรดก
ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมตกได้แก่บุตรผู้เยาว์ของจำเลยทั้งจำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้
โจทก์รับว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสละสิทธิรับมรดกสิทธิรับจำนอง ตามเอกสารที่เป็นพยานเอกสารของจำเลย จำเลยเบิกความประกอบเอกสารนั้น โจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ได้ทำหนังสือนี้ เอกสารนี้ชอบด้วยกฎหมายศาลฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้น
โจทก์รับว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสละสิทธิรับมรดกสิทธิรับจำนอง ตามเอกสารที่เป็นพยานเอกสารของจำเลย จำเลยเบิกความประกอบเอกสารนั้น โจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ได้ทำหนังสือนี้ เอกสารนี้ชอบด้วยกฎหมายศาลฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยตัวแทน และการพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
ต้นฉบับเอกสารอันแท้จริงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ส่วนข้อความในเอกสารจะถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ เป็นข้อที่ศาลจะได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนอีกชั้นหนึ่ง
ข้อความในเอกสารซึ่งแสดงว่าบริษัทโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ทำนิติกรรมมอบอำนาจได้ในนามของบริษัทโจทก์ โดยทำต่อเจ้าหน้าที่เป็นทางการ เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์มีฐานะที่จะฟ้องคดีได้ในนามของตนเอง
การพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่จำต้องพิสูจน์โดยวิจักขณ์พยานผู้รู้กฎหมายต่างประเทศโดยตรงแต่ทางเดียวพฤติการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการมีฐานะใช้สิทธิได้ตามกฎหมายดุจบุคคลทั่วไป ก็เป็นข้อเท็จจริงให้ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นได้
ตามคำฟ้องปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีโดยการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องคดีนี้เป็นส่วนตัวไม่ได้ แต่จะยกฟ้อง เลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ที่ฟ้องโดยโจทก์ที่ 2 รับมอบอำนาจด้วยไม่ได้
ข้อความในเอกสารซึ่งแสดงว่าบริษัทโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ทำนิติกรรมมอบอำนาจได้ในนามของบริษัทโจทก์ โดยทำต่อเจ้าหน้าที่เป็นทางการ เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์มีฐานะที่จะฟ้องคดีได้ในนามของตนเอง
การพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่จำต้องพิสูจน์โดยวิจักขณ์พยานผู้รู้กฎหมายต่างประเทศโดยตรงแต่ทางเดียวพฤติการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการมีฐานะใช้สิทธิได้ตามกฎหมายดุจบุคคลทั่วไป ก็เป็นข้อเท็จจริงให้ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นได้
ตามคำฟ้องปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีโดยการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องคดีนี้เป็นส่วนตัวไม่ได้ แต่จะยกฟ้อง เลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ที่ฟ้องโดยโจทก์ที่ 2 รับมอบอำนาจด้วยไม่ได้