พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการลงโทษทางอาญา: การนับระยะเวลาเริ่มต้นจากวันคดีถึงที่สุด แม้ผู้ต้องหาหลบหนี
ป.อ. มาตรา 98 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณีเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้... บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมาย 2 กรณี กล่าวคือเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ และกรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไปซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ คดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา และเพิ่งได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงยังไม่เกินห้าปีอันจะล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ ป.อ.มาตรา 98: เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ผู้ต้องหาหลบหนี
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 98 มีความหมาย 2 กรณี คือเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษ ซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ กรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไป ซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงไม่เกินห้าปีอันล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10493/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด โจทก์ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติตามข้อยกเว้นให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังกล่าวมิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสามแก้ จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10438/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การยึดโฉนดที่ดินเพื่อประกันตัวไม่ใช่การมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 ได้ให้นิยามเจ้าหนี้มีประกันว่า เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ และ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด การที่เจ้าหนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในฐานะเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงนั้นจะต้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้ครอบครองทรัพย์สินของลูกหนี้และมีหนี้อันเป็นคุณแก่ตนเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น คดีนี้ลูกหนี้ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 14088 มาเป็นทรัพย์หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา ดังนั้นในการทำประกัน เจ้าหนี้ก็เพียงแต่ยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้เท่านั้น แม้ศาลจะได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินดังกล่าวก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการห้ามไม่ให้ลูกหนี้โอนทรัพย์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่น หาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเหนือที่ดินอันเป็นทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใดไม่ การที่ลูกหนี้มอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เช่นนี้จึงมีผลเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่เจ้าหนี้จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามสัญญาประกันหรือสัญญาประกันนั้นสิ้นสุดลง จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9928/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย" ดังนั้น เมื่อบริษัท ส. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้รับอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวย่อมมีผลเฉพาะบริษัทดังกล่าวเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผน ส่วนจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นไปด้วยไม่ เนื่องจากแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวตามแผนซึ่งเมื่อพิจารณาตามมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่นำมาชำระหนี้ทำให้หนี้ลดลงไปได้บางส่วน หนี้ส่วนของจำเลยผู้ค้ำประกันย่อมระงับไปเพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน จำเลยจึงต้องมีความรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่เหลือตามฟ้องให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีนำมาขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา และหลังจากนั้นก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อยและสาขาธนบุรี ก็ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างในส่วนนี้ได้ว่าตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยังคงต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามฟ้อง และไม่มีพฤติการณ์อย่างอื่นที่แสดงว่ามีเหตุอื่นที่จำเลยไม่ควรล้มละลายแต่อย่างใด การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีนำมาขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา และหลังจากนั้นก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อยและสาขาธนบุรี ก็ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างในส่วนนี้ได้ว่าตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยังคงต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามฟ้อง และไม่มีพฤติการณ์อย่างอื่นที่แสดงว่ามีเหตุอื่นที่จำเลยไม่ควรล้มละลายแต่อย่างใด การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญาโดยตรง การกล่าวอ้างเรื่องอายุความไม่ถือเป็นความเท็จตามมาตรา 175
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ. มาตรา 175 ต้องเป็นการนำความเท็จในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาไปแกล้งฟ้องผู้อื่นให้รับโทษ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง ส่วนเรื่องอายุความนั้น ป.อ. มาตรา 95 และมาตรา 96 ได้บัญญัติไว้ต่างหากเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดี ซึ่งเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาโดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าคดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความนั้นแม้จะไม่เป็นความจริง จำเลยทั้งหกก็หามีความผิดฐานฟ้องเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8805/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยต้องวางค่าทนายความก่อนฎีกา มิเช่นนั้นฎีกาเป็นโมฆะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 1,500 บาท แทนโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 5 จึงต้องนำเงินค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายมาวางศาลพร้อมกับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่นำเงินค่าทนายความมาวางศาลพร้อมฎีกา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 5 ก็ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวระงับเมื่อผู้ประกันเสียชีวิตก่อนผิดสัญญา ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิด
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันตายลงในระหว่างที่มีสัญญาประกันและยังไม่มีหนี้ปรับฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลงผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกัน และไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดถือหลักประกันไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้จำนำทรัพย์สิน: เจ้าหนี้เลือกใช้สิทธิได้ทางเดียว (96(3) หรือ 95) และจำกัดความรับผิดตามสัญญาจำนำ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 และฉบับลงวันที่ 5 เมษายน 2549 และหนี้ค่าประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองซึ่งบริษัท ค. เป็นผู้กู้และผู้จำนอง ส่วนลูกหนี้ที่ 2 เป็นเพียงผู้จำนำใบหุ้นเลขที่ 58 - 59 ทะเบียนผู้ถือหุ้นเลขที่ 2850001 ถึง 2950000 จำนวน 100,000 หุ้น เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวต่อเจ้าหนี้เท่านั้น มิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นที่เมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระแล้วยังจะต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 767 วรรคสอง อีกทั้งตามข้อตกลงในสัญญาจำนำ ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว หรือหากบังคับจำนำแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกันและเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ภายในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) ได้ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้าย
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงและการร่วมกันกระทำผิด: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์และฟ้องได้ แม้ไม่ได้มีเจตนาเข้าร่วมเล่นพนัน
การที่โจทก์ร่วมทั้งสองไปที่เกิดเหตุก็เพื่อต้องการขายที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะร่วมเล่นการพนันกับจำเลยและพวกมาตั้งแต่ต้น และการที่โจทก์ร่วมทั้งสองยอมมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกไปก็สืบเนื่องมาจากแผนการหรือกลอุบายที่จำเลยกับพวกร่วมกันสร้างเรื่องขึ้นมาโดยพูดจาหว่านล้อมโจทก์ร่วมทั้งสองให้หลงเชื่อ ทั้งยังให้โจทก์ร่วมทั้งสองดื่มกาแฟซึ่งมีอาจมีส่วนผสมของยาที่ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองเกิดอาการมึนงงอีกด้วย เพื่อจะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสองด้วยวิธีการอันแนบเนียนตามที่ได้วางแผนกันมาก่อน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองมีเจตนาเข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยและพวกโดยไม่ได้รับอนุญาต อันจะเป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด โจทก์ร่วมทั้งสองจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 2 (7) และมาตรา 120