คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ตั้งใจ ศาสตร์ศศิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานประจำวันเป็นคำร้องทุกข์ได้ หากแสดงเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี และฟ้องภายใน 3 เดือน
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ร. ร่วมกับ ณ. และ อ. หลอกลวงให้โจทก์โอนเงิน 13 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,952,000 บาท โดยแจ้งว่าจะนำเงินที่โจทก์โอนให้ไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืม และจะให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อเดือน ประกอบกับ ร. มากับ ส. เจ้าของรีสอร์ท ทำให้โจทก์หลงเชื่อ เป็นเหตุให้โจทก์โอนเงินเพื่อปล่อยกู้จำนวนดังกล่าว ช่วงแรก ร. โอนเงินดอกเบี้ยให้ร้อยละ 15 ต่อเดือนจริง ประมาณ 4 ครั้ง โจทก์จึงหลงเชื่อโอนเงินให้ แต่เมื่อ ร. กับพวกได้เงินแล้ว โจทก์ติดต่อไป ร. กับพวกกลับเงียบหาย โจทก์จึงทราบว่าถูกหลอกลวง การกระทำของ ร. กับพวก เป็นการฉ้อโกง โจทก์จึงมาที่สถานีตำรวจบ่อผุดเพื่อลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานและเพื่อจะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งพันตำรวจโท พ. พนักงานสอบสวนเวร รับแจ้งไว้ตามประสงค์ของผู้แจ้ง เพื่อดำเนินการต่อไป แสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตลอดจนชื่อของผู้กระทำผิดและโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษทั้งพนักงานสอบสวนเวรผู้รับแจ้งความก็รับว่าจะไปดำเนินการต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แล้ว หาใช่เป็นเพียงข้อความที่โจทก์เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อโจทก์จะไปดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามด้วยตนเองต่อไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: แม้สำคัญผิดว่าที่ดินเป็นของตน ก็สามารถนับระยะเวลาครอบครองได้
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์โดยทำคันนาเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตระหว่างที่ดินโจทก์และจำเลยดังกล่าวและปลูกต้นไม้รวมทั้งทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว ดังนี้เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง หากแต่ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยจำเลยต้องรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์โดยสำคัญผิด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเจตนาเป็นเจ้าของสำคัญกว่าการรู้ว่าที่ดินเป็นของผู้อื่น
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์รวมทั้งทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง หากแต่ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยจำเลยต้องรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาค้ำประกัน การบังคับชำระหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ ที่ระบุที่ดินที่จะซื้อจะขายตามโฉนดเลขที่ 3707 นั้น ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีและคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลตามกฎหมาย เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3707 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 261 ที่ไม่เปิดเผยและถูกอำพรางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้
เมื่อครบกำหนดโอนที่ดินตามสัญญา ฉ. ผิดสัญญาโอนที่ดินแก่ ป. ไม่ได้ ป. ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ ฉ. ปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายได้ การที่ ฉ. ทำสัญญากู้ยืมเงิน ป. 880,000 บาท โดยจำเลยเป็นผู้เขียนสัญญา และจำเลยยอมนำที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยให้ยึดถือเป็นประกันด้วยนั้น จึงเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ ชอบที่ ป. จะบังคับให้ ฉ. ชำระค่าเสียหายที่ไม่สามารถโอนที่ดินแก่ตน แต่เนื่องเพราะ ฉ. ไม่มีทรัพย์สินอะไร เป็นบุคคลล้มละลายและ ป. กลัวว่า ฉ. จะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยแก่โจทก์ในราคา 880,000 บาท เพื่อเป็นประกันไว้แทนสัญญากู้เงินดังกล่าวให้อีก สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2703 ของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี และคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีผลตามกฎหมายเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ประสงค์ให้ใช้บังคับระหว่างกันคือ จำเลยยอมชำระเงินแทน ฉ. ในมูลหนี้ที่ ฉ. ทำสัญญากู้เงิน ป. 880,000 บาท นั่นเอง และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทถือได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินของ ฉ. โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งสัญญาตามเจตนาที่แท้จริงดังกล่าวนี้เป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ ป. ได้วางมัดจำแก่ ฉ. เพื่อชำระราคาที่ดินไปแล้วพร้อมค่าเสียหายมิใช่นิติกรรมอำพรางของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับ ป. ซึ่งเป็นคนละส่วนต่างหากจากกัน เมื่อ ฉ. มิได้ชำระเงินที่ต้องรับผิดแก่ ป. หรือโจทก์และการที่จำเลยยอมทำสัญญารับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ตามที่ ฉ. ป. และโจทก์ยินยอม โดยทุกฝ่ายต่างลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นเพียงการค้ำประกันหนี้ เงินมัดจำคืนได้บางส่วน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีคือจำเลยยอมชำระเงินแทน ฉ. ในมูลหนี้ที่ ฉ. ทำสัญญากู้เงิน ป. สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงถือได้ว่าเป็นการค้ำประกันการกู้ยืมเงินของ ฉ. โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลจำเลยไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปราบปรามยาเสพติด จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดโทษได้
ระหว่างจำเลยต้องคุมขังอยู่ที่เรือนจำ จำเลยเขียนจดหมายถึงเจ้าพนักงานตำรวจว่า จำเลยมีความประสงค์แจ้งเบาะแสและข้อมูลเกี่ยวกับการลำเลียงยาเสพติดครั้งใหม่ ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ไปสอบคำให้การจำเลยเพิ่มเติม จำเลยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเท่านั้น โดยมิได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างในจดหมาย แม้จำเลยเบิกความว่าแจ้งเบาะแสแก่เจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับกลุ่มชาวเขาซึ่งใช้รถกระบะ 2 คัน มารับยาเสพติดตรงตามบันทึกการจับกุมผู้กระทำความผิดในช่วงเวลาเดียวกับที่จำเลยอ้างในจดหมาย แต่ตามบันทึกการจับกุมดังกล่าวได้ความว่า การจับกุมผู้ต้องหาสืบเนื่องมาจากการสืบสวน โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานผู้จับกุมและเจ้าพนักงานตำรวจตามบันทึกการจับกุมนั้นมีการสืบสวนสอบสวนขยายผลในการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยอาศัยข้อมูลของจำเลยแต่ประการใด กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญาซื้อขายกระสุนปืน และความรับผิดของผู้ออกหนังสือค้ำประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กระสุนปืนที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 ผิดขนาดไม่ได้มาตรฐานเป็นสาเหตุให้อาวุธปืนโจทก์เสียหาย โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับฐานผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่ให้รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องที่ต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่พบเห็นความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 ไม่
การฟ้องคดีเรื่องผิดสัญญาซื้อขายไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการติดต่อซื้อขายยาเสพติดข้ามชาติ
จำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเป็นเครื่องมือในการติดต่อรับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเพื่อให้มาอยู่ในความครอบครองของจำเลยก่อน แล้วจึงนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจำหน่าย ดังนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง อันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3422/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีวัตถุระเบิดกับฐานทำให้เกิดระเบิดเป็นกรรมเดียวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ความผิดฐานมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และความผิดฐานใช้วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้นั้น กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกันตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์ให้ความผิดทั้งสองฐานนี้เป็นกรรมเดียวกัน ดังนี้ ความผิดฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและฐานร่วมกันกระทำให้เกิดระเบิดเป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัสจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356-3357/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย, การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในการฟ้องขับไล่, และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อ ข. ถึงแก่ความตายย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. ที่จะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงที่มีชื่อ ข. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ถึงแก่ความตายระหว่างฎีกา จึงไม่สามารถบังคับโจทก์ที่ 3 ได้ คงได้แต่อาศัยคำพิพากษาศาลแสดงเจตนาแทนโจทก์ที่ 3 ตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น
of 5