คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ ม. 48

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา" ดังนั้นไม้ยางที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จะต้องเป็นไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร ส่วนไม้เต็งและไม้แดงซึ่งเป็นไม้อื่นจะเป็นไม้หวงห้ามก็จะต้องเป็นไม้ในป่า ซึ่งตามนิยามคำว่า "ป่า" ในมาตรา 4(1) ให้หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงต้องแปลความว่าไม้เต็งและไม้แดงจะเป็นไม้หวงห้ามต้องเป็นไม้ในราชอาณาจักร คดีนี้ไม้ยางไม้เต็งและไม้แดงของกลางมิได้เป็นไม้ในราชอาณาจักร แต่เป็นไม้ที่นำเข้าจากประเทศสหภาพพม่า จึงไม่ใช่ไม้หวงห้าม ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไม้แปรรูปของกลางไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 แต่อย่างใด เพราะกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปและไม้สักอันยังมิได้แปรรูปเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ส่วนความผิดฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1) ความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำเลยจะมีไม้ของกลางไว้ในครอบครองคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการตั้งโรงงานแปรรูปไม้เถื่อน และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมีเจตนา
ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่โรงงานแปรรูปไม้นั้นยังตั้งอยู่ และผู้ตั้งโรงงานยังไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ตั้งโรงงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อจำเลยไปช่วยก่อสร้างและรับจ้างทำงานในโรงงานดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทำงานมานานประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยหลบหนีจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าโรงงานนั้นตั้งขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การที่จำเลยทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานโดยทำไม้วงกบประตูให้แก่ ค. นายจ้างที่จะนำไปสร้างบ้านย่อมเป็นการช่วยเหลือ ค. อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของ ค. แล้วและเมื่อจำเลยเป็นผู้แปรรูปไม้สักของกลาง จำเลยย่อมเป็นผู้ดูแลรักษาไม้นั้นเพื่อมอบให้แก่ ค. จำเลยจึงมีความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกันแปรรูปไม้หวงห้าม และบทบาทของผู้ช่วยกระทำความผิด ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดและลดโทษ
การที่จำเลยที่ 2 ช่วยปัดขี้เลื่อยให้จำเลยที่ 3 ในขณะที่จำเลยที่ 3 ใช้เครื่องเลื่อยยนต์แปรรูปไม้ยางของกลางนั้น ย่อมเป็นการแบ่งหน้าที่กับจำเลยที่ 3 ในการร่วมกันแปรรูปไม้ เป็นการร่วมกันในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของคำพิพากษาอาญา: การระบุมาตราผิดและวิธีการลดมาตราส่วนโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 48 และมาตรา 73 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ระบุอ้างบทมาตราที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษยกขึ้นปรับแก่คดีตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)ประกอบมาตรา 214 บัญญัติไว้ถูกต้องแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามวรรคใดนั้นเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น ไม่ทำให้เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76คือการลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำโดยลดลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งแล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงในระหว่างนั้น มิใช่ให้ศาลกำหนดโทษที่จะลงไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่ได้กำหนดไว้ จึงต่างกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 ซึ่งเป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงจากโทษที่ได้กำหนดแล้ว และการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 มิใช่เป็นบทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือบทกำหนดโทษแม้ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทที่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2ว่าเป็นมาตรา 76 ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูป แม้เป็นคนละชนิด ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกและให้รอการลงโทษ
ไม้สักแปรรูป 46 แผ่น ปริมาตร 0.19 ลูกบาศก์เมตรและไม้แดงแปรรูป 12 แผ่นปริมาตร 0.54 ลูกบาศก์เมตร ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ทั้งสองจำนวน เป็นไม้หวงห้ามในประเภท ก. ซึ่งจำเลยมีไว้ในเวลาเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติเป็นความผิดและบทกำหนดโทษก็คือมาตรา 48 และมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อันเป็นบทมาตราเดียวกัน เพียงแต่กำหนดประเภทไม้ทั้งสองและกำหนดระวางโทษไว้ต่างวรรคกันโดยที่มาตรา 73 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้ลงโทษหนักขึ้น สำหรับความผิดเกี่ยวกับไม้สัก ไม้ยางหรือไม้หวงห้ามประเภท ข.แสดงว่าไม้หวงห้ามแปรรูปนั้นไม่ว่าจะเป็นไม้หวงห้ามชนิดใดก็ถือว่าเป็นวัตถุในประเภทเดียวกัน ฉะนั้น การมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวหาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225
จำเลยมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปจำนวนดังกล่าวข้างต้นไว้ในครอบครองซึ่งเป็นไม้เก่าที่จำเลยรื้อถอนจากบ้านหลังเก่ามาเก็บสะสมไว้ส่วนหนึ่งและอีกบางส่วนก็เก็บรวบรวมมาจากไม้เก่าที่มิได้ใช้ประโยชน์แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ใช่เรื่องร้ายแรงและจำเลยพึ่งกระทำความผิดเป็นครั้งแรก การลงโทษจำคุกจำเลยเสียทีเดียวโดยไม่ให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีก่อนน่าจะไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมส่วนรวม ตามพฤติการณ์แห่งคดีโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โดยคุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ต่อครั้งให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติหรือจำเลยเห็นสมควร 30 ชั่วโมง มีกำหนด 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เลื่อยยนต์แปรรูปไม้ผิดกฎหมาย การลดโทษ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองใช้เลื่อยยนต์เป็นเครื่องมือในการแปรรูปไม้ซึ่งสามารถแปรรูปไม่ได้รวดเร็วและเป็นจำนวนมาก เป็นพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นอย่างมากซึ่งเป็นการกระทำที่มีลักษณะร้ายแรง การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสองนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัล และปรากฏตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่าสินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล คดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบของค่าปรับ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
of 3