พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: ศาลปรับบทลงโทษและลดโทษจำเลย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทคือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่1ปีถึง20ปีและปรับตั้งแต่5,000บาทถึง200,000บาทและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14,31วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีและปรับตั้งแต่20,000บาทถึง150,000บาทจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองอันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎจำเลยจำเลยทั้งสามทำไม้หวงห้ามในลักษณะเป็นนายทุนมีอิทธิพลเพื่อทำลายป่าแต่จำเลยได้ร่วมกันตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีปริมาตรถึง32.38ลูกบาศก์เมตรนับว่าทำไม้จำนวนมากจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ครอบครองไม้หวงห้าม
จำเลยทั้งสองมีไม้สักแปรรูปและไม้ประดู่กับไม้รังแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกจำนวนและปริมาตรของไม้ทั้งสองชนิดต่างหากจากกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดตามมาตรา 48,73 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 บทมาตราเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ลงโทษฐานหนักสุดตามกฎหมาย
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้พ.ศ. 2484 และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้พ.ศ. 2484 และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5304/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้สักแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นภัยต่อทรัพยากรชาติ ศาลไม่รอการลงโทษ
ไม้สักเป็นไม้หวงห้ามที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองสงวนรักษาเป็นพิเศษ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 และ 73บัญญัติลงโทษผู้ที่มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองเสมอโดยไม่จำกัดว่าจะมีเป็นจำนวนเท่าใด แตกต่างจากการมีไม้แปรรูปชนิดอื่นไว้ในครอบครอง ซึ่งจะต้องมีจำนวนเกิน 0.2 ลูกบาศก์เมตรจึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยมีไม้สักแปรรูปจำนวนถึง 113 แผ่นปริมาตร 3.641 ลูกบาศก์เมตร นับเป็นไม้จำนวนมาก เป็นพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อทรัพยากรของชาติ แม้ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจะปรากฎว่าไม้ของกลางเป็นของวัด ก็ยังไม่ใช่เหตุอันควรปรานีที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4353/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต: การกระทำเป็นกรรมเดียว แม้ไม้ต่างชนิด
จำเลยมีไม้สักและไม้พลวงซึ่งเป็นไม้แปรรูป 2 จำนวนในคราวเดียวกันโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้การมีไม้สักแปรรูปจะเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนปริมาตรของไม้ต่างกับไม้พลวงแปรรูปซึ่งจะต้องมีปริมาตรเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะเป็นความผิดก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ยังคงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวจากการครอบครองไม้ผิดกฎหมายหลายประเภท
การที่จำเลยมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน ซึ่งบทมาตราที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษก็เป็นบทมาตราเดียวกัน เพียงแต่กำหนดประเภทไม้ทั้งสองไว้ต่างวรรคกันตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง (1) และ (2)จึงเป็นความผิดกรรมเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ กรณีมีไม้หวงห้ามและไม้อื่นรวมเกิน 0.20 ลบ.ม. ศาลยืนโทษตามมาตรา 73 วรรคแรก
จำเลยมีไม้ตะเคียน หินแปรรูป ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ปริมาตร 0.37 ลูกบาศก์เมตร กับไม้ยางแปรรูปปริมาตร 0.09ลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครอง รวมเป็นปริมาตรไม้ทั้งสิ้น0.46 ลูกบาศก์เมตร ดังนี้หากจำเลยมีแต่เพียงไม้ยางอย่างเดียวปริมาตรไม่เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร จำเลยย่อมจะไม่มีความผิดตามมาตรา 48 การที่จำเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปประเภท ก. ด้วย ทำให้ปริมาตรไม้ทั้งหมดเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร จำเลยไม่ต้องได้รับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 73 วรรคสอง (1) คงลงโทษจำเลยตามมาตรา 73วรรคแรกเท่านั้น.