พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังพ้นกำหนดห้ามโอน และการขาดเจตนาครอบครองของผู้จัดการมรดก
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2519 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ค. และเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ป. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ก่อนครบกำหนดห้ามโอน แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิที่ดินพิพาทในปี 2540 โดยก่อนหน้านั้นผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. รวมทั้ง พ. ที่อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทแทนไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ประการใด แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับแต่ระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายล่วงเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน คือนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของ ป. และผู้ร้องสอดที่ 1 มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และกรณีดังกล่าวโจทก์ที่ 1 มิได้ครอบครองแทน ป. หรือทายาทของ ป. จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ป. หรือทายาท เมื่อผู้ร้องสอดที่ 1 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 ที่โจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครอง ผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่มีอำนาจร้องสอดหรือฟ้องโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
ป. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ก่อนครบกำหนดห้ามโอน แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิที่ดินพิพาทในปี 2540 โดยก่อนหน้านั้นผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. รวมทั้ง พ. ที่อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทแทนไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ประการใด แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับแต่ระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายล่วงเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน คือนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของ ป. และผู้ร้องสอดที่ 1 มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และกรณีดังกล่าวโจทก์ที่ 1 มิได้ครอบครองแทน ป. หรือทายาทของ ป. จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ป. หรือทายาท เมื่อผู้ร้องสอดที่ 1 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 ที่โจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครอง ผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่มีอำนาจร้องสอดหรือฟ้องโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก การรับฟังพยานหลักฐาน และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
กรณีห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หมายถึงกรณีที่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิที่ใช้เป็นหลักในการฟ้องคดี แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องอ้างสิทธิความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนาย ก. โดยจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของตนซึ่งจำเลยถือครองไว้แทนคืนได้ กรณีมิใช่การใช้สิทธิฟ้องคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และส่วนข้ออ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกเป็นเอกสารมหาชนนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งตามมาตรา 127 แห่ง ป.วิ.พ. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยมานั้นไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีมรดก การครอบครองปรปักษ์ และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
ป.วิ.พ. มาตรา 94 บังคับแก่กรณีห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น หมายถึงกรณีที่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิที่ใช้เป็นหลักในการฟ้องคดี แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องอ้างสิทธิความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ก. โดยจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินมรดกไว้แทนโจทก์ทั้งห้า จึงใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของตนคืน กรณีมิใช่ใช้สิทธิฟ้องคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การวินิจฉัยโดยรับฟังพยานบุคคลเป็นหลักในการพิจารณา ชอบต่อการรับฟังพยานหลักฐานแล้ว
แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น โจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมานาน 30 ปี ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผย โจทก์ทั้งห้าไม่เคยฟ้องเรียกที่ดินคืน คดีขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น โจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมานาน 30 ปี ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผย โจทก์ทั้งห้าไม่เคยฟ้องเรียกที่ดินคืน คดีขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดและการสวมสิทธิเจ้าหนี้: เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาประเมินและสิทธิเจ้าหนี้ใหม่
ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีส่วนได้เสียในการบังคับคดี การที่ทนายความผู้ร้องนำสำเนาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์พร้อมหมายนัดไปส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โดย ณ. เจ้าพนักงานบังคับคดีได้สั่งในหมายนัดว่า ทราบ รวม และรอฟังคำสั่งศาล แสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้วว่าผู้ร้องได้ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ แม้จะไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาด แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับในวันขายทอดตลาด มีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวและเสนอซื้อในราคา 1,620,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ประเมินไว้ในราคา 3,240,000 บาท และต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีควรที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 เพื่อรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ก่อนจึงดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับขายทอดตลาดในวันรุ่งขึ้นโดยไม่รอฟังคำสั่งศาล เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีและต้องคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ให้ต้องเสียหายโดยต้องไม่ขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาที่ต่ำเกินสมควร จนลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับภาระหนักขึ้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดในราคา 1,620,000 บาท โดยมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองในราคาที่ต่ำเกินสมควรโดยไม่ให้โอกาสผู้ร้องซึ่งเล็งเห็นได้ว่าจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้ามารักษาประโยชน์ของตน และเห็นได้ว่าต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 และ ป.วิ.พ. มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18042/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเมินราคาหลักประกันผิดพลาด ธนาคารอนุมัติสินเชื่อโดยประมาทเลินเล่อ ศาลลดค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกำหนดความรับผิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาตามสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สิน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินราย ก. เนื่องจากไม่รายงานและประเมินราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันอย่างถูกต้องตามความจริง โจทก์คิดค่าเสียหายจากต้นเงินส่วนที่ธนาคารให้สินเชื่อไปเกินกว่าที่ควรจะเป็นตามมติคณะกรรมการควบคุมบริษัทประเมินของโจทก์ ทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเท่ากับจำนวนเงินสินเชื่อที่โจทก์อนุมัติให้ ก. กู้ก็ไม่ปรากฏว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ มติดังกล่าวระบุด้วยว่า กรณีลูกหนี้ผ่อนชำระปกติ ให้บริษัทประเมินรับสภาพหนี้ยังไม่ต้องชำระค่าเสียหาย ถ้าลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้จนหลักประกันคุ้มยอดหนี้ บริษัทประเมินหลุดพ้นจากการรับสภาพหนี้ แสดงว่าโจทก์เห็นว่ากรณีที่ผู้กู้ยังคงชำระหนี้ให้แก่โจทก์ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น เพียงแต่มีความเสี่ยงว่าผู้กู้จะไม่ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าโจทก์เสียหายอย่างอื่นหรือจะเสียประโยชน์จากการนำเงินจำนวนนี้ไปเพื่อการอย่างอื่นและจะได้ประโยชน์มากกว่าการได้ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อแก่ ก. การที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย 300,000 บาท จึงสูงเกินไป
สัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินกำหนดหน้าที่ของบริษัทประเมินต้องสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินให้ครบถ้วนตามแบบและวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด แบบสำรวจและประเมินกำหนดรายการประเมินราคาหลักประกันไว้ คือ ราคาประเมินซึ่งเป็นราคาสำหรับการประเมินที่ดินต่อตารางวาและราคาอาคาร กับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยคำนวณจากข้อมูลเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นราคาประเมินหรือราคารับเป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องให้ความเห็นตามมาตรฐานหลักวิชาและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้โจทก์พิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างถูกต้อง หลักประกันราย ร. จำเลยที่ 1 กำหนดราคาประเมิน 10,844,626 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 22,000,000 บาท โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน อ. นักประเมินราคาหลักทรัพย์ของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันสูงกว่าราคาประเมินของธนาคารร้อยละ 127.41 อ. ประเมินใหม่ได้ราคาประเมิน 8,081,085 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 9,674,000 บาท โดยเปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน นอกจากนี้ปรากฏว่าบริษัทประเมินอื่นรวมทั้งจำเลยที่ 1 เคยประเมินราคาในโครงการดังกล่าว ราคาประเมินกับราคารับเป็นหลักประกันจะต่างกันไม่เกินร้อยละ 30 โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันไม่เกินร้อยละ 20 มาตรฐานการประเมินราคารับเป็นหลักประกันจึงไม่เกินกึ่งหนึ่งของราคาประเมิน การที่จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันถึง 22,000,000 บาท จึงเป็นการประเมินราคารับเป็นหลักประกันเกินกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประเมินราคารับเป็นหลักประกันตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นการผิดสัญญา
การให้สินเชื่อ โจทก์ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออนุมัติวงเงินกู้ โดยฝ่ายประเมินสินทรัพย์ของโจทก์ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ราคาที่จำเลยที่ 1 ประเมินนั้นเหมาะสมหรือไม่ และต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งโจทก์ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อเพื่อวิเคราะห์สินเชื่อด้วย ไม่ได้ใช้ราคาประเมินของจำเลยที่ 1 แต่เพียงอย่างเดียว ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เมื่อโจทก์ได้รับรายงานการประเมินราคาจากจำเลยที่ 1 แล้วต้องทราบว่าราคาประเมินซึ่งเป็นราคาต้นทุนกับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นราคาตลาดต่างกันกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ แต่ยังคงอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ ต้องถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดทั้งหมดในส่วนต่างจากการให้สินเชื่อย่อมเป็นการโอนภาระความเสี่ยงของโจทก์แก่ผู้ประเมินราคาหลักประกัน ทั้งที่เป็นความผิดของโจทก์ที่วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดและไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของลูกค้า
สัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินกำหนดหน้าที่ของบริษัทประเมินต้องสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินให้ครบถ้วนตามแบบและวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด แบบสำรวจและประเมินกำหนดรายการประเมินราคาหลักประกันไว้ คือ ราคาประเมินซึ่งเป็นราคาสำหรับการประเมินที่ดินต่อตารางวาและราคาอาคาร กับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยคำนวณจากข้อมูลเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นราคาประเมินหรือราคารับเป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องให้ความเห็นตามมาตรฐานหลักวิชาและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้โจทก์พิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างถูกต้อง หลักประกันราย ร. จำเลยที่ 1 กำหนดราคาประเมิน 10,844,626 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 22,000,000 บาท โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน อ. นักประเมินราคาหลักทรัพย์ของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันสูงกว่าราคาประเมินของธนาคารร้อยละ 127.41 อ. ประเมินใหม่ได้ราคาประเมิน 8,081,085 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 9,674,000 บาท โดยเปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน นอกจากนี้ปรากฏว่าบริษัทประเมินอื่นรวมทั้งจำเลยที่ 1 เคยประเมินราคาในโครงการดังกล่าว ราคาประเมินกับราคารับเป็นหลักประกันจะต่างกันไม่เกินร้อยละ 30 โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันไม่เกินร้อยละ 20 มาตรฐานการประเมินราคารับเป็นหลักประกันจึงไม่เกินกึ่งหนึ่งของราคาประเมิน การที่จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันถึง 22,000,000 บาท จึงเป็นการประเมินราคารับเป็นหลักประกันเกินกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประเมินราคารับเป็นหลักประกันตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นการผิดสัญญา
การให้สินเชื่อ โจทก์ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออนุมัติวงเงินกู้ โดยฝ่ายประเมินสินทรัพย์ของโจทก์ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ราคาที่จำเลยที่ 1 ประเมินนั้นเหมาะสมหรือไม่ และต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งโจทก์ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อเพื่อวิเคราะห์สินเชื่อด้วย ไม่ได้ใช้ราคาประเมินของจำเลยที่ 1 แต่เพียงอย่างเดียว ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เมื่อโจทก์ได้รับรายงานการประเมินราคาจากจำเลยที่ 1 แล้วต้องทราบว่าราคาประเมินซึ่งเป็นราคาต้นทุนกับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นราคาตลาดต่างกันกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ แต่ยังคงอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ ต้องถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดทั้งหมดในส่วนต่างจากการให้สินเชื่อย่อมเป็นการโอนภาระความเสี่ยงของโจทก์แก่ผู้ประเมินราคาหลักประกัน ทั้งที่เป็นความผิดของโจทก์ที่วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดและไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของลูกค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15718/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา และการแก้ไขฐานความผิดตามกฎหมายอาญาโดยศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 ซึ่งความผิดทั้งสองฐานมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้เถียงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนอาญา คงอุทธรณ์เฉพาะส่วนแพ่ง ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนอาญา อันมีผลทำให้ไม่มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 เฉพาะในส่วนอาญาให้จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ขอให้รอการลงโทษต่อไปอีก
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225