พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4759/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ ย่อมต้องรับผิดต่อความเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารพาณิชย์ พนักงานของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องระมัดระวังและต้องใช้ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย หากมีการแก้ไขชื่อผู้รับเงินซึ่งเป็นข้อความสำคัญในเช็คโดยเห็นประจักษ์ ก็ชอบที่จะปฏิเสธการใช้เงิน เพราะเหตุที่เป็นตั๋วเงินปลอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 โดยแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเช็คทราบทันที ไม่เช่นนั้นแล้วหากมีการจ่ายเงินตามเช็คไปย่อมเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของพนักงานของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทแล้ว อ. แก้ไขปลอมแปลงเช็คนั้นภายหลัง ไม่อาจถือเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ การใช้เงินไปตามเช็คของจำเลยที่ 1 จะได้รับความคุ้มครองเพียงใด ต้องเป็นไปตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1009 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเช็คหลังหมดอายุความไม่ถือเป็นการขยายอายุความ และการให้การเรื่องอายุความต้องชัดเจน
แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธแล้ว ไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงไม่เกิดขึ้นซ้ำ
จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ไปชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่ผู้เสียหาย แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 แต่เป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สอง จึงไม่ได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีก เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง จะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: การแก้ไขวันที่เช็คและการถือเอาประโยชน์จากเช็คเดิม
จำเลยเป็นผู้ออกเช็ค ปรากฏว่ามีการแก้ไขวันที่ออกเช็คของปีพ.ศ.2544 เป็น พ.ศ.2541 แต่ไม่ได้ความว่าถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อใด อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังจากออกเช็ค คือ ในระหว่างที่เช็คอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ได้ ทั้งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์และเช็คตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคสอง จึงฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโจทก์นำเช็คมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขปี ชำระหนี้เกินอายุความ ศาลยืนตามเดิม
โจทก์ยอมรับว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อปี 2542 แต่ปรากฏว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขตัวเลขปี พ.ศ.2541 เป็น 2544 โดยแก้ไขเลขสุดท้ายของปีจากเลข 1 เป็นเลข 4 ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดแก้ไข ทั้งผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อาจให้ความเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขและไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทแก้ไขตั้งแต่เมื่อใด การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ เช็คนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยหรือโจทก์ได้ยินยอมให้มีการแก้ไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ประจักษ์ เมื่อเช็คพิพาทตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 1007 วรรคสอง ซึ่งผู้ทรงจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นเสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับใช้เงินตามเช็คนั้นก็ได้เมื่อฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 โจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คก่อน/หลังแก้ไขวันที่ และผลต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คก่อนที่มีการนำไปขายให้โจทก์ ไม่ใช่สลักหลังภายหลังที่มีการแก้ไขวันที่ลงในเช็คและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมให้แก้ไข การแก้ไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญและเห็นประจักษ์เช็คเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันที่ในเช็คโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้สลักหลัง ทำให้เช็คเสียเฉพาะผู้สลักหลัง และไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขวันที่ลงในเช็ค ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น เช็คพิพาทเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิดละเมิด
++ เรื่อง ละเมิด ++
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถระงับหนี้ได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้มีการเปลี่ยนเช็ค และการแก้ไขวันที่สั่งจ่ายไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ
จำเลยชำระหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ค่าซื้อขายผ้าด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงินแต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอดธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายประกอบการที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิมจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ ศ. แก้ไขวันที่สั่งจ่ายซึ่งเป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้ยินยอมด้วย จำเลยกับ ศ.ได้ร่วมกันซื้อสินค้าจากโจทก์และจำเลยกับ ศ. มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท จำเลยและศ.มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีที่เปิดร่วมกันได้จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ศ. เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทยังคงใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง และแม้จะมีการบังคับคดีแพ่งโดยมีการยึดทรัพย์ของจำเลยกับ ศ. สามีจำเลย แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ยังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงยังไม่เกินกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เช็คชำระหนี้ซื้อขายสินค้า การแก้ไขเช็ค และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงิน
เดิมจำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าผ้าแก่โจทก์ด้วยเช็คหลายฉบับและหลายครั้ง แต่เช็คส่วนใหญ่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงเปลี่ยนเช็คเป็นเช็คพิพาทและเช็คอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ฉบับ ให้แก่โจทก์แทน ซึ่งเช็คพิพาทธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์มีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อสินค้าผ้ายืดของโจทก์ การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7