พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ และข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยยุติตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการกำหนดความกว้างของทางจำเป็น และการวินิจฉัยประเด็นทางภารจำยอมที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยทางจำเป็นได้ แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นทางภาระจำยอม และต้องระบุความกว้างของทางจำเป็นให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมกว้าง1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภาระจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการและการปฏิเสธการบังคับตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่งซึ่งศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นเลยว่า มีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าพื้นที่ดาดฟ้าและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1 รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมาย จ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2 ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้นเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเช่าทรัพย์สิน: การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนเพื่อความสมบูรณ์ของสิทธิเช่า และค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1 หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมายจ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(3)(4)(5) หรือมาตรา 193/34(1) มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(เดิม)563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการต่างจากสัญญาเช่า และอายุความตามลักษณะธุรกิจ
การบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัยการบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภคเป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่างๆดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคารโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลยอันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้นมิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมดดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(3)(4)(5)หรือมาตรา193/34(1)มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่าจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(เดิม)563โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใดไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอายุความต่างกัน
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้น เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) มีอายุความสองปี
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย