คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการตามสัญญาซื้อขายข้าว การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และคำชี้ขาดที่ใช้บังคับได้
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่น ทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วย ผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4 และ ร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมาย ร.6ข้อ 29 มีใจความว่า หากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้ว นอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว การแต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530
ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ.แต่อย่างใด ผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ.เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่า หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมาย ร.4และร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6 ข้อ 29 มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125 สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4และร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ. 1982 บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และขอบเขตการชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมายจ.4และร.5ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่าสัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่119ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ(ผู้ร้อง)และผู้ขาย(ผู้คัดค้าน)ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6ข้อ29มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใดๆซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญากฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่ากฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5เกิดขึ้นผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนออ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ข้อ3.7และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้วและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่ออ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วยแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วยดังนั้นเมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้วสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านติดต่อกับอ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่ออ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยังอ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้วจึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมายร.4และร.5และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสมการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมายกรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้นเมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองการที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและค่าเสียหายจากการบุกรุก กรณีตึกและประตูอยู่ในกรรมสิทธิ์ของจำเลย
จำเลยที่2เป็นภริยาของจำเลยที่3จำเลยที่2และที่3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่20,22และ24โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่1ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร35ที่ดินโฉนดเลขที่2021และโฉนดเลขที่2022อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร35 ที่พิพาทและทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3การที่จำเลยที่3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ใช้ถนนซอยเจริญนคร35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่783ไปยังตึกแถวเลขที่20โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่20ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลยแล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบคดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ตึกแถวเลขที่20และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3เองและประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่3ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่าการที่จำเลยที่3ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337จำเลยที่3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม3ข้อคือข้อ(1)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบข้อ(2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ3,000บาทนับแต่วันที่1เมษายน2533จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาทและข้อ(3)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย100,000บาทแก่โจทก์หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ(1)ได้ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(1)ได้เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่2และที่3เองซึ่งจำเลยที่2และที่3ชอบที่จะทำได้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(3)ของโจทก์เพราะคำขอบังคับตามข้อ(2)และข้อ(3)เป็นคำขอต่อเนื่องกันอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดที่ดิน การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20,22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35 ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อคือ ข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1 เมษายน2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2และที่ 3 ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3)ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้ทางและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การติดตั้งประตูและการใช้ทางส่วนบุคคล
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20, 22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35 ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20 แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเพื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ, การร่วมกันจัดสรรที่ดิน, หน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่7808และ8282ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/9จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 ตามมาตรา193/12บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปการเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี2516และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23มิถุนายน2535คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้วโจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใดตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่1เมื่อวันที่20มีนาคม2535จำเลยที่1ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่2และที่3มีใจความว่าจำเลยที่1ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน2แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จึงขอให้จำเลยที่2และที่3ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไปซึ่งจำเลยที่2และที่3ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่1ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใดตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/24แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่อายยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่2และที่3และมีข้อตกลงให้จำเลยที่2และที่3เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรรแล้วจำเลยที่1จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่1ครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่2และที่3แล้วจำเลยที่2และที่3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อพฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ได้ร่วมกับจำเลยที่2และที่3จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่1กล่าวอ้างแต่อย่างใดจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่1มีจำเลยที่2และที่3ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจำเลยที่1ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่2และที่3ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อแต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่1ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริงจึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118 ที่จำเลยที่2และที่3แก้ฎีกาว่าจำเลยที่1มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดีโจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดีเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งอายุความ, ความรับผิดร่วมในการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 7804 และ 8282 ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ผลของการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและขอบเขตกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาขายฝากเอกสารหมาย จ.1 ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ระบุกำหนดเวลาไถ่ 1 ปี การที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่ 2 ปี จึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝาก โดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา144 วรรคสอง จึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมายจ.1ไม่เป็นนิติกรรมอำพรางเมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงระบุกำหนดเวลาไถ่1ปีการที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่2ปีจึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝากโดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินบ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองจึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย
of 11