พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ต้องสงบเปิดเผยและต่อเนื่อง โต้แย้งสิทธิเจ้าของเดิมไม่ได้
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7882/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การกลับคืนสู่ฐานะเดิมและภาระจำนอง
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แล้วย่อมมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านย่อมกลับคืนมาเป็นของจำเลยตามเดิมศาลจะสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกไม่ได้แต่คำร้องของผู้ร้องพอแปลได้ว่าผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านในลักษณะที่ให้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นของจำเลยโดยปลอดจากภาระจำนองระหว่างผู้คัดค้านกับผู้รับจำนองซึ่งรับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนซึ่งไม่อาจถูกเพิกถอนการจำนองตามมาตรา116ได้นั่นเองดังนั้นศาลจึงมีอำนาจที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านโดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อให้คู่กรณีได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ การขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินล้มละลาย: สิทธิการกลับคืนสู่ฐานะเดิม และการไถ่ถอนจำนอง
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 แล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านย่อมกลับคืนมาเป็นของจำเลยตามเดิม ศาลจะสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกไม่ได้แต่คำร้องของผู้ร้องพอแปลได้ว่าผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านในลักษณะที่ให้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นของจำเลยโดยปลอดจากภาระจำนองระหว่างผู้คัดค้านกับผู้รับจำนองซึ่งรับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ซึ่งไม่อาจถูกเพิกถอนการจำนองตามมาตรา 116 ได้นั่นเอง ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านโดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อให้คู่กรณีได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
การขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในชั้นฎีกา, เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาด-ประโยชน์จำนวน 45,000 บาท และค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน 301,800 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 15,000 บาทแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน 301,800 บาท จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน 15,000 บาท แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 15,000 บาท ออก ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และจำเลยมิอาจอ้างเหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน45,000บาทและค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน301,800บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน15,000บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน301,800บาทจำเลยที่1แก้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน15,000บาทแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000บาทแล้วจำเลยที่1ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตามทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่1พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน15,000บาทออกทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบความหมายของคำว่า"ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก"มีว่าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายเป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคาแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ที่จำเลยฎีกาว่ากรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นโจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000บาทเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000บาทจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อดอกเบี้ยอัตราร้อยละ18ต่อปีเป็นเบี้ยปรับแต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมากเงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรโดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000บาทเป็นเงิน15,000บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควรเพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้วขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์15,000บาทแล้วฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ แม้ไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง แต่ได้ประโยชน์จากผลงาน มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร อายุความต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างจากการทำงานแม้ไม่มีสัญญาจ้าง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความ
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลย และจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: จำเลยอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ ย่อมไม่เกิดการแย่งการครอบครองจากโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง คดีโจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องร้องและพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องฟ้องเคลือบคลุม ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง คดีโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ แต่จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์ทั้งสามไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาท แสดงว่าจำเลยหาได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความหรือไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง คดีโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ แต่จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์ทั้งสามไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาท แสดงว่าจำเลยหาได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: จำเลยยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ เจ้าหนี้รายอื่นไม่ได้เสียประโยชน์
จำเลยมีเงินเหลือจากการไถ่ถอนจำนองเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมดหาใช่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดๆพอจะชำระหนี้ได้ไม่การที่จำเลยนำเงินไปวางชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาแม้จำเลยได้กระทำในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ตามมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 ผู้คัดค้านแก้ฎีกาขอให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ยโดยมิได้ทำเป็นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย