พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: จำเลยยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ เจ้าหนี้รายอื่นไม่ได้เสียประโยชน์
จำเลยมีเงินเหลือจากการไถ่ถอนจำนองเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมดหาใช่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดๆพอจะชำระหนี้ได้ไม่การที่จำเลยนำเงินไปวางชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาแม้จำเลยได้กระทำในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ตามมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 ผู้คัดค้านแก้ฎีกาขอให้ผู้ร้องชดใช้ดอกเบี้ยโดยมิได้ทำเป็นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส.2) การส่งมอบการครอบครองทำให้เกิดสิทธิในที่ดินได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ฎีกา จำเลยยื่นคำแก้ฎีกาเฉพาะประเด็นว่าจำเลยมิได้เจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาท แต่มิได้แก้ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท จึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งมีใบจอง (น.ส.2) ที่รัฐได้ยอมให้ผู้จองเข้าครอบครองทำประโยชน์ชั่วคราว จึงเป็นที่ดินมือเปล่าที่ผู้จองคงมีสิทธิครอบครองเท่านั้น ดังนั้นการโอนสิทธิการครอบครองให้แก่กันย่อมทำได้ด้วยการส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการโอนให้แก่โจทก์ก็ตาม
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งมีใบจอง (น.ส.2) ที่รัฐได้ยอมให้ผู้จองเข้าครอบครองทำประโยชน์ชั่วคราว จึงเป็นที่ดินมือเปล่าที่ผู้จองคงมีสิทธิครอบครองเท่านั้น ดังนั้นการโอนสิทธิการครอบครองให้แก่กันย่อมทำได้ด้วยการส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการโอนให้แก่โจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า การโอนสิทธิครอบครอง และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วเมื่อโจทก์ฎีกาจำเลยยื่นคำแก้ฎีกาเฉพาะประเด็นว่าจำเลยมิได้เจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทแต่มิได้แก้ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งมีใบจอง(น.ส.2)ที่รัฐได้ยอมให้ผู้จองเข้าครอบครองทำประโยชน์ชั่วคราวจึงเป็นที่ดินมือเปล่าที่ผู้จองคงมีสิทธิครอบครองเท่านั้นดังนั้นการโอนสิทธิการครอบครองให้แก่กันย่อมทำได้ด้วยการส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378เมื่อจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการโอนให้แก่โจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ การใช้ทางเป็นเพียงความเอื้อเฟื้อ การลงชื่อในบันทึกไม่ถือเป็นการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ห้ามจำเลยขัดขวางโจทก์ในการใช้ทางพิพาท จำเลยอุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่กล่าวแก้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ดังนั้นประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่จึงยังไม่ยุติ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ โจทก์ก็ย่อมฎีกาได้
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทางจำกัดใช้ ทางสาธารณะ การครอบครองที่ดิน และผลของบันทึกข้อตกลง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีห้ามจำเลยขัดขวางโจทก์ในการใช้ทางพิพาทจำเลยอุทธรณ์โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่กล่าวแก้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะดังนั้นประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่จึงยังไม่เป็นยุติชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะโจทก์ก็ย่อมฎีกาได้ ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง1.50เมตรยาวเพียง160เมตรและเป็นทางตันอยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลยการที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบทหาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก4ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้นมิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดชอบเมื่อผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายประมาท และการจำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นที่ยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและคนขับรถของโจทก์มีความประมาทเท่าๆกันค่าเสียหายของโจทก์จึงตกเป็นพับโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวจำเลยแก้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบแล้วปัญหาว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทด้วยหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาทคงฎีกาได้เพียงว่าคนขับรถยนต์ของโจทก์มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่และเมื่อคดีฟังได้ว่าคนขับรถของโจทก์และจำเลยมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันค่าเสียหายจึงเป็นพับกันไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การพิจารณาจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด, การนับอายุความจากมูลเหตุละเมิดไม่ใช่ความผิดทางอาญา
แม้โจทก์อุทธรณ์ คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ยกปัญหาอายุความขึ้นเป็นประเด็นแห่งอุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาอายุความไว้แต่ คำแก้อุทธรณ์มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้ว่าฟ้องโจทก์ ขาดอายุความด้วยเมื่อชั้น ชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้ กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ไว้การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหา อายุความขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้อง เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์คดีจึง นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามรับ เพราะจำเลยมิได้ยกประเด็นอายุความในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปแล้ว
โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ท. ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยให้การต่อสู้ว่าท. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก่อนตาย โจทก์ฟ้องคดีมรดกหลังจากทราบการตายของ ท. เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย ปัญหาเรื่องอายุความไม่จำต้องวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท.พิพากษากลับให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบองค์ประกอบและลักษณะ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงได้ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงยกคำคัดค้านของโจทก์และให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของจำเลย เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ชอบที่จะให้จดทะเบียนได้ ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นในการชี้สองสถานว่าคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะในประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น กล่าวคือ มีประเด็นว่าคำวินิจฉัยของจำเลยชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต แม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตามนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2478 มาตรา 18คำวินิจฉัยของจำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ จึงพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น แต่จำเลยก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงได้วินิจฉัยต่อไป ในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่แล้วพิพากษากลับ ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่นี้จึงยังไม่ยุติ จำเลยชอบที่จะฎีกาต่อมาได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 นั้นมีส่วนประกอบสามส่วนคือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างส่วนบนเป็นอักษรโรมัน คำว่า "ANCHORBRAND" ในลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือและส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ตราสมอ" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 นั้นมีสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ส่วนล่างเป็นตัวอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น มีอักษรโรมันสองคำอยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE" อีกคำหนึ่งว่า"NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อยในลักษณะภาพสมอเรือเอียงตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.2กับเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย ล.1 แล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายนี้ต่างกันมากรูปสมอเรือก็ต่างกันมากทั้งลายเส้นแนวตั้ง และส่วนประกอบที่มีโซ่กับไม่มีโซ่อักษรโรมันเป็นคนละคำ และวางอยู่คนละตำแหน่งลักษณะการวางของโจทก์เป็นบรรทัดโค้งส่วนของผู้ขอจดทะเบียนเป็นบรรทัดตรงทั้งการที่ของโจทก์มีอักษรภาษาไทย ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนไม่มีอักษรภาษาไทย ย่อมเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนตามเอกสารหมาย ล.1นั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ(ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนมีลักษณะรูปกากบาทระหว่างรูปสมอเรือตัดกับอักษรโรมันรูปสมอเรือของโจทก์เป็นรูปภาพเหมือนตั้งตรงของผู้ขอจดทะเบียนเป็นภาพสเก็ตตั้งเอียง ข้อความอักษรโรมันก็เป็นคนละคำ จึงแตกต่างกันทั้งในภาพรวม ตัวรูปสมอเรือการวางรูป และข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้จึงไม่คล้ายกันอีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และข้อยกเว้นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในต่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงได้ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยวินิจฉัยว่าเครื่องหมาย-การค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยกคำคัดค้านของโจทก์และให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของจำเลย เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ชอบที่จะให้จดทะเบียนได้ ฉะนั้น ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นในการชี้สองสถานไว้ว่าคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ย่อมมีความหมายจำกัดเฉพาะในประเด็นที่โต้เถียงกันในคำฟ้องคำให้การเท่านั้น กล่าวคือ มีประเด็นว่าคำวินิจฉัยของจำเลยชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต แม้เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนจะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันก็ตาม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2478 มาตรา 18 คำวินิจฉัยของจำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ จึงพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น แต่จำเลยก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขดจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงได้วินิจฉัยต่อไป ในประเด็นที่ว่าเครื่องการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษากลับ ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่นี้จึงยังไม่ยุติ จำเลยชอบที่จะฎีกาต่อมาได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 นั้นมีส่วนประกอบสามส่วนคือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง ส่วนบนเป็นอักษรโรมัน คำว่า "ANCHOR BRAND" ในลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือ และส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ตราสมอ" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 นั้น มีสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ส่วนล่างเป็นตัวอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น มีอักษรโรมันสองคำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE" อีกคำหนึ่งว่า"NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อยในลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.2กับเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย ล.1 แล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายนี้ต่างกันมากรูปสมอเรือก็ต่างกันมากทั้งลายเส้น แนวตั้ง และส่วนประกอบที่มีโซ่กับไม่มีโซ่ อักษรโรมันเป็นคนละคำ และวางอยู่คนละตำแหน่ง ลักษณะการวางของโจทก์เป็นบรรทัดโค้ง ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนเป็นบรรทัดตรงทั้งการที่ของโจทก์มีอักษรภาษาไทย ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนไม่มีอักษรภาษาไทย ย่อมเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนมีลักษณะรูปกากบาทระหว่างรูปสมอเรือตัดกับอักษรโรมันรูปสมอเรือของโจทก์เป็นรูปภาพเหมือนตั้งตรงของผู้ขอจดทะเบียนเป็นภาพสเก็ตตั้งเอียง ข้อควมอักษรโรมันก็เป็นคนละคำ จึงแตกต่างกันทั้งในภาพรวม ตัวรูปสมอเรือ การวางรูป และข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้จึงไม่คล้ายกันอีกเช่นกัน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแล้วในต่างประเทศโดยสุจริต นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมรับจดทะเบียนได้ จึงพิพากษายกฟ้อง แม้โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น แต่จำเลยก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขดจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงได้วินิจฉัยต่อไป ในประเด็นที่ว่าเครื่องการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษากลับ ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของผู้ขอจดทะเบียนประเด็นที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่นี้จึงยังไม่ยุติ จำเลยชอบที่จะฎีกาต่อมาได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 นั้นมีส่วนประกอบสามส่วนคือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง ส่วนบนเป็นอักษรโรมัน คำว่า "ANCHOR BRAND" ในลักษณะโค้งเลี้ยวเป็นวงกลมคว่ำลง ส่วนกลางเป็นรูปสมอเรือ และส่วนล่างเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ตราสมอ" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 นั้น มีสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ส่วนล่างเป็นตัวอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น มีอักษรโรมันสองคำ อยู่ตรงบรรทัดเดียวกัน คำหนึ่งว่า "ULYSSE" อีกคำหนึ่งว่า"NARDIN" ระหว่างคำทั้งสองนี้มีรูปภาพสมอเรือตั้งเอียงไปทางขวาเล็กน้อยในลักษณะภาพสมอเรือเองตัดกับอักษรโรมันเป็นรูปกากบาท ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.2กับเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย ล.1 แล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะโครงสร้างหรือการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองรายนี้ต่างกันมากรูปสมอเรือก็ต่างกันมากทั้งลายเส้น แนวตั้ง และส่วนประกอบที่มีโซ่กับไม่มีโซ่ อักษรโรมันเป็นคนละคำ และวางอยู่คนละตำแหน่ง ลักษณะการวางของโจทก์เป็นบรรทัดโค้ง ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนเป็นบรรทัดตรงทั้งการที่ของโจทก์มีอักษรภาษาไทย ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนไม่มีอักษรภาษาไทย ย่อมเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.8 กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปสมอเรือ (ไม่มีโซ่) ตั้งอยู่บนข้อความอักษรโรมันว่า "SPERA" ส่วนของผู้ขอจดทะเบียนมีลักษณะรูปกากบาทระหว่างรูปสมอเรือตัดกับอักษรโรมันรูปสมอเรือของโจทก์เป็นรูปภาพเหมือนตั้งตรงของผู้ขอจดทะเบียนเป็นภาพสเก็ตตั้งเอียง ข้อควมอักษรโรมันก็เป็นคนละคำ จึงแตกต่างกันทั้งในภาพรวม ตัวรูปสมอเรือ การวางรูป และข้อความภาษาโรมันเครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้จึงไม่คล้ายกันอีกเช่นกัน