พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์, โต้แย้งดุลพินิจ, และประเด็นใหม่นอกเหนือคำอุทธรณ์เดิม
การที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่า การนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทภายในเส้นสีเขียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก มีผลเป็นการยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ไปด้วย เมื่อผู้ร้องที่ 2 ไม่อุทธรณ์ได้แต่แก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ดังนั้น ประเด็นในเรื่องที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องที่ 2 หรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องที่ 2 ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาว่าสิทธิในการเป็นทายาทผู้รับมรดกของผู้ร้องที่ 2 ยังคงมีอยู่ต่อไปนั้น เป็นฎีกาในข้อที่นอกเหนือไปจากประเด็นในคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขชื่อผู้รับมรดกโดยไม่มีการลงลายมือชื่อ ทำให้ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจำเลยสละการครอบครองให้แล้ว และพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเท่าที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่า ม. ยกที่พิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 สมบูรณ์หรือไม่ เพราะโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น โจทก์ได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ล.1 มีรอยน้ำยาลบหมึกสีขาวลบชื่อผู้รับมรดกแล้วพิมพ์ใหม่เป็นชื่อจำเลย โดยมิได้มีผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรรมการอำเภอลงลายมือชื่อกำกับไว้ จึงทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658วรรคสอง จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ทำพินัยกรรมคือตกได้แก่โจทก์ซึ่งรับมรดกแทนที่บิดา กับตกได้แก่จำเลยซึ่งเป็นพี่บิดาโจทก์คนละครึ่ง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้โจทก์จึงได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลล่าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, หักบัญชีเกินวงเงิน, สัญญาค้ำประกัน, บังคับจำนอง: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การพิจารณาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ต้องพิจารณาจากการบรรยายฟ้องเท่านั้น ไม่ต้องเอาทางนำสืบมาพิจารณาด้วย คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ระบุให้โจทก์นำหนี้สินความรับผิดชอบไม่ว่าประเภทใด ๆ มาหักบัญชีได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เป็นข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์หักบัญชีมิใช่เฉพาะแต่เงินในบัญชีเท่านั้น ถึงแม้ในบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน โจทก์ก็อาจนำหนี้สินอื่นมาหักจากบัญชีได้ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นการบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์กล่าวอ้างและนำสืบ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะไม่ยกขึ้นว่ากล่าวต่อสู้ ศาลก็จะต้องยกขึ้นวินิจฉัยให้อยู่แล้ว และถึงแม้ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวน คำบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 ไม่จำต้องบอกกล่าววิธีบังคับจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย คำแก้ฎีกาจะขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดให้ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนน้อยเกินไปไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นฉ้อฉลได้ แม้ไม่ได้ยกขึ้นในคำฟ้องอุทธรณ์ หากเป็นประเด็นที่เคยว่ากันในศาลชั้นต้นและถูกยกขึ้นในคำแก้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฉ้อฉลหลอกลวงขายสินค้าให้แก่จำเลย แต่จำเลยต้องรับผิดชำระค่าสินค้า และพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยอุทธรณ์โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นที่วินิจฉัยให้โจทก์แพ้ โดยตั้งประเด็นเรื่องโจทก์ฉ้อฉลหลอกลวงขายสินค้าให้แก่จำเลยหรือไม่นั้นมาในคำแก้ อุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 237 และมาตรา 240.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน-นายจ้าง และขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นตัวแทน ไม่ใช่รับขนส่ง ทำให้จำเลยต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขนทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการแก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้ออาคารตามคำพิพากษาศาลฎีกา: การพิจารณาความสูงที่แท้จริงและการไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาสั่งให้จำเลยรื้ออาคารเหลือความสูง 8 เมตรโดยไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าวัดจากจุดไหนถึงจุดไหน จำเลยได้รื้ออาคารออกไปแล้ว 2 ชั้น เหลือพื้นชั้นที่ 3 เป็นหลังคา ถ้าวัดส่วนสูงสุดของอาคารถึงพื้นที่ทำการจะสูง 8.59 เมตร แต่ถ้าวัดถึงพื้นโดยรอบอาคารจะสูง 7.90 เมตร หากจะให้จำเลยรื้อออกอีก 1 ชั้น ก็จะทำให้อาคารของจำเลยมีความสูงต่ำกว่า 8 เมตรมาก ทั้งจะเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยมากเกินควร สำหรับห้องคลุมบันไดนั้นห่างจากผนังตึกที่ติดกับอาคารของโจทก์ 4 เมตร และผนังตึกของอาคารพิพาทห่างจากชายคาบ้านโจทก์ถึง 3 เมตร รวมแล้วห่างจากชายคาบ้านโจทก์ 7 เมตร ไม่มีผลที่จะบังลมหรือแสงอาทิตย์ที่จะเข้าบ้านโจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำพิพากษาศาลฎีกาแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำ: สัญญาจำนำจำกัดความรับผิดตามวงเงินประกัน ไม่ขยายไปถึงหนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การรับผิดร่วมกันของผู้อ้างสลักหลัง และผลกระทบจากการชำระหนี้บางส่วน
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน 3,500 บาทจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท และแม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทั้งมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่รูปคดีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ได้รับผลตามคำพิพากษานี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2451 และ 247