พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในเช็คพิพาท: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการขาดมูลหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน3,500 บาท จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด vs. ราคาประเมิน และดอกเบี้ยตามประกาศ คปป.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด และดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนหน้าเกี่ยวกับที่ดินเดียวกัน เพราะประเด็นต่างกัน และการครอบครองเป็นไปแทนโจทก์
จำเลยขายฝากที่ดินกับโจทก์จนครบกำหนดไถ่ถอนคืนแล้วโจทก์จำเลยตกลงกันเป็นหนังสือว่าโจทก์จะเอาที่ดินไว้เฉพาะด้านที่ติดถนน ส่วนด้านหลังทั้งหมดคืนให้แก่จำเลย และได้มอบที่ดินให้จำเลยครอบครอง ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยจึงฟ้องบังคับให้โจทก์โอนที่ดินให้ตามสัญญา ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นคดีนี้ เช่นนี้แม้คดีทั้งสองจะพิพาทเกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกัน คู่ความรายเดียวกันและต่อมาคดีแรกศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะคดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญา คดีมีประเด็นว่าสัญญามีผลบังคับหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคำฟ้องในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับที่ดินทั้งแปลง ประเด็นแห่งคดีต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
แม้โจทก์จะยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาโดยมีเจตนาจะให้ที่พิพาทแก่จำเลยก็เป็นเรื่องจะให้หรือคำมั่นจะให้ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิการครอบครองแล้ว การครอบครองของจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยได้ฟ้องให้โจทก์โอนที่ดินแก่จำเลยตามสัญญาเพื่อแสดงการโต้แย้งสิทธิ หรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่โจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่จำเลยฟ้องคดีดังกล่าว จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่พิพาท
ปัญหาเรื่องค่าเสียหาย โจทก์ไม่ได้ฎีกา การที่โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
แม้โจทก์จะยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาโดยมีเจตนาจะให้ที่พิพาทแก่จำเลยก็เป็นเรื่องจะให้หรือคำมั่นจะให้ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิการครอบครองแล้ว การครอบครองของจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยได้ฟ้องให้โจทก์โอนที่ดินแก่จำเลยตามสัญญาเพื่อแสดงการโต้แย้งสิทธิ หรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่โจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่จำเลยฟ้องคดีดังกล่าว จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่พิพาท
ปัญหาเรื่องค่าเสียหาย โจทก์ไม่ได้ฎีกา การที่โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้พิพาทที่ดินเดียวกัน เพราะประเด็นต่างกัน การครอบครองแทนโจทก์ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
จำเลยขายฝากที่ดินกับโจทก์จนครบกำหนดไถ่ถอนคืนแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันเป็นหนังสือว่าโจทก์จะเอาที่ดินไว้เฉพาะด้านที่ติดถนน ส่วนด้านหลังทั้งหมดคืนให้แก่จำเลย และได้มอบที่ดินให้จำเลยครอบครอง ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนด ที่ดินพิพาท จำเลยจึงฟ้องบังคับให้โจทก์โอนที่ดินให้ตามสัญญา ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นคดีนี้เช่นนี้แม้คดีทั้งสองจะพิพาทเกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกัน คู่ความรายเดียวกันและต่อมาคดีแรกศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไปแล้วก็ตามแต่ก็ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะคดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญา คดีมีประเด็นว่าสัญญามีผลบังคับหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคำฟ้องในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับที่ดินทั้งแปลง ประเด็นแห่งคดีต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้โจทก์จะยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาโดยมีเจตนาจะให้ที่พิพาทแก่จำเลยก็เป็นเรื่องจะให้หรือคำมั่นจะให้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิการครอบครองแล้ว การครอบครองของจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยได้ฟ้องให้โจทก์โอนที่ดินแก่จำเลยตามสัญญาเพื่อแสดงการโต้แย้งสิทธิ หรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่โจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่จำเลยฟ้องคดีดังกล่าว จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่พิพาท ปัญหาเรื่องค่าเสียหาย โจทก์ไม่ได้ฎีกา การที่โจทก์ยื่นคำแก้ ฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยด้วยเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างหลังสัญญา สิทธิปรับล่าช้า และอายุความคดี
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างสะพานตามแบบแปลนต่อท้ายสัญญา โจทก์สร้างสะพานผิดแบบแปลนโดยแจ้งให้จำเลยทราบถึงสาเหตุที่จำเป็นแล้วและวิศวกรของจำเลยก็เห็นด้วย เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้างได้ตามที่จำเลยเสนอ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อสร้างสะพานผิดแบบแปลน
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปการที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนองว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปการที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนองว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญา, การขยายเวลา, และสิทธิในการปรับสัญญาจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างสะพานตามแบบแปลนต่อท้ายสัญญา โจทก์สร้างสะพานผิดแบบแปลนโดยแจ้งให้จำเลยทราบถึงสาเหตุที่จำเป็นแล้วและวิศวกรของจำเลยก็เห็นด้วย เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้างได้ตามที่จำเลยเสนอ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อสร้างสะพานผิดแบบแปลน
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไป การที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนอง ว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไป การที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนอง ว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำขอทางสิทธิในที่ดิน: โจทก์ต้องอุทธรณ์หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็น จึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทคำขออื่นๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางภารจำยอมย่อมต้องยกขึ้นอุทธรณ์หากไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น การยกขึ้นฎีกาจึงเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอม เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่เป็นทางภารจำยอม แต่เป็นทางจำเป็นจึงพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาท คำขออื่น ๆ ให้ยก หากโจทก์เห็นว่าโจทก์ได้สิทธิทางภารจำยอม โจทก์ก็จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมด้วย ฉะนั้นประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยทำสัญญาจำนองอำพรางและเจตนาไม่จดทะเบียน: สัญญาเป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกัน แต่ได้ทำนิติกรรมจำนองอำพรางไว้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การซื้อขายที่ดินต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีว่า ตั้งใจจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ หากไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสัญญาตกเป็นโมฆะ หากมีเจตนาดังกล่าว ก็เป็นสัญญาจะซื้อขายการชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะบังคับตามสัญญาซื้อขายได้ เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาชัดแจ้งที่จะไม่นำการซื้อขายที่ดินพิพาทไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังอีก แต่โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นต่อไปโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลยจึงเป็นการซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456
การซื้อขายที่ดินต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีว่า ตั้งใจจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ หากไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสัญญาตกเป็นโมฆะ หากมีเจตนาดังกล่าว ก็เป็นสัญญาจะซื้อขายการชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนซึ่งจะบังคับตามสัญญาซื้อขายได้ เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาชัดแจ้งที่จะไม่นำการซื้อขายที่ดินพิพาทไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังอีก แต่โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นต่อไปโดยอาศัยใบมอบอำนาจของจำเลยจึงเป็นการซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456