พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การพิมพ์เอกสารไม่ทันไม่ใช่เหตุขยายเวลาได้
คำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาของจำเลยยอมรับว่าทนายจำเลยได้เรียงฎีกาเสร็จแล้ว แต่จัดพิมพ์ไม่ทัน จึงขอเลื่อนการยื่นฎีกาไปอีก 7 วันเพื่อจัดพิมพ์เท่านั้น จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษ เพราะฎีกาเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) และ (5) ซึ่งตามมาตรา 46 วรรค 2 ทนายจำเลยจะเขียนฎีกาที่เรียงไว้เสร็จแล้วด้วยหมึกไม่ต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยจะยื่นฎีกาที่เรียงเขียนไว้เสร็จแล้วต่อศาลในวันนั้นก็ทำได้โดยชอบ ปรากฏในฎีกาของจำเลยว่าได้พิมพ์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2513 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกา แต่ขีดฆ่าตัวพิมพ์วันที่ 9 แล้วเขียนแก้เป็นวันที่ 14 ที่นำฎีกามายื่นต่อศาลฎีกานี้มี 19 แผ่น หรือ 38 หน้าพิมพ์ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอเลื่อนเวลาเมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา และยังมีเวลาอีก 5 ชั่วโมงเศษที่จะพิมพ์ต่อไปให้เสร็จได้แน่นอน เพราะจะต้องได้พิมพ์ฎีกาบางส่วนมาแล้วตั้งแต่ตอนเช้าวันที่ 9 นั้นเองเป็นอย่างช้า ดังนี้ จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายเวลาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การจัดพิมพ์ฎีกาไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายเวลาไม่ชอบ
คำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาของจำเลยยอมรับว่าทนายจำเลยได้เรียงฎีกาเสร็จแล้ว แต่จัดพิมพ์ไม่ทัน จึงขอเลื่อนการยื่นฎีกาไปอีก 7 วันเพื่อจัดพิมพ์เท่านั้น จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษ เพราะฎีกาเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) และ (5) ซึ่งตามมาตรา 46 วรรคสอง ทนายจำเลยจะเขียนฎีกาที่เรียงไว้เสร็จแล้วด้วยหมึก ไม่ต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยจะยื่นฎีกาที่เรียงเขียนไว้เสร็จแล้วต่อศาลในวันนั้นก็ทำได้โดยชอบ ปรากฏในฎีกาของจำเลยว่าได้พิมพ์แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2513 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาแต่ขีดฆ่าตัวพิมพ์วันที่ 9 แล้วเขียนแก้เป็นวันที่ 14 ที่นำฎีกามายื่นต่อศาลฎีกานี้มี 19 แผ่น หรือ 38 หน้าพิมพ์ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอเลื่อนเวลาเมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา และยังมีเวลาอีก 5 ชั่วโมงเศษที่จะพิมพ์ต่อไปให้เสร็จได้แน่นอน เพราะจะต้องได้พิมพ์ฎีกาบางส่วนมาแล้วตั้งแต่ตอนเช้าวันที่ 9 นั้นเองเป็นอย่างช้า ดังนี้ จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายเวลาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทนายจำเลยในการยื่นคำให้การ และการพิจารณาค่าทนายในชั้นอุทธรณ์
ทนายจำเลยมอบหมายให้ผู้ใดมายื่นคำให้การก็ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของผู้นั้น เสมือนหนึ่งว่าทนายจำเลยมายื่นคำให้การด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทนายจำเลยในการยื่นคำให้การล่าช้า และการปฏิบัติหน้าที่ทนายโจทก์ในชั้นอุทธรณ์
ทนายจำเลยมอบหมายให้ผู้ใดมายื่นคำให้การก็ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของผู้นั้น เสมือนหนึ่งว่าทนายจำเลยมายื่นคำให้การด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นใหม่จากคำแก้ฟ้อง และการพิสูจน์การรับเงินกินเปล่า
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินกินเปล่าโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าไม่เคยเรียกเกินจากจำเลย ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์เรียกเงินกินเปล่าจากจำเลยจริง แต่จำเลยได้ใช้ห้องพิพาทสมควรแก่เงินค่ากินเปล่าแล้ว พิพากษาให้ยกฟ้องแย้ง ดังนี้ แม้จำเลยจะอุทธรณ์ให้โจทก์คืนเงินกินเปล่า ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์เรียกจากจำเลยจริงก็ดี หากโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ของจำเลยให้ปรากฎไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่เคยรับเงินกินเปล่าดังกล่าวนี้เลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์เคยรับเงินกินเปล่ารายนี้หรือไม่ได้ เพราะประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยนั้น มิใช่ว่าจะมีอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์เท่านั้น ในคำแก้อุทธรณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจตั้งประเด็นขึ้นมาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาฎีกาและการทิ้งฟ้อง: ศาลสั่งซ้ำความในกฎหมายไม่ได้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ตามปกติในคดีแพ่ง เมื่อศาลสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว ก็สั่งไว้ด้วยว่าให้คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกานั้นนำส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกี่วันก็ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด หมายความว่า คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องมานำส่งสำเนาภายในกำหนดเวลานั้นนับแต่วันทราบคำสั่งศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามและไม่สามารถชี้แจงเหตุขัดข้อง ศาลก็อาจวินิจฉัยสั่งว่าเป็นการทิ้งฟ้องได้
เมื่อศาลสั่งว่า "ให้รับฎีกาและนำส่งสำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่วันรับสำเนาฎีกา" เป็นการสั่งซ้ำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237, 247 และมิได้สั่งกำหนดวันให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ครบกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ยังไม่ติดต่อนำส่งสำเนาฎีกา ศาลก็จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาไม่ได้
เมื่อศาลสั่งว่า "ให้รับฎีกาและนำส่งสำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่วันรับสำเนาฎีกา" เป็นการสั่งซ้ำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237, 247 และมิได้สั่งกำหนดวันให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ครบกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ยังไม่ติดต่อนำส่งสำเนาฎีกา ศาลก็จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162-1164/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินมรดกที่มีข้อพิพาท และการเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากผู้รับโอนรู้ถึงการเสียเปรียบของเจ้าหนี้เดิม
สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบ นายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป 410 บาท โดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ " ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกับประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วน แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะมี+สิทธิชำระได้ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.ม. 237
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกับประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วน แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะมี+สิทธิชำระได้ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.ม. 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162-1164/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ผลกระทบต่อเจ้าหนี้และการได้ลาภงอกเงย
สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบนายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป410บาทโดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ" ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วนแต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้เพราะไม่มีทางบังคับชำระได้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. ม.237
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วนแต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้เพราะไม่มีทางบังคับชำระได้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. ม.237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิชายคู่หมั้น สิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสได้ แม้ของหมั้นเป็นของผู้อื่น
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน