พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิ vs. เอกสารปลอม: แบบคำขอใช้บริการ ATM ไม่ใช่เอกสารสิทธิโดยตรง
"เอกสารสิทธิ" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ แต่แบบคำขอใช้บริการบัวหลวง เอ.ที.เอ็ม ที่จำเลยปลอมขึ้นนั้นเป็นเอกสารที่จำเลยใช้ยื่นต่อธนาคารผู้เสียหายเพื่อขอให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ของธนาคารผู้เสียหายได้ใช้บัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติ แต่ยังไม่แน่ว่าธนาคารผู้เสียหายจะอนุมัติตามแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวหรือไม่ แบบคำขอใช้บริการดังกล่าวมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิในการฝาก - ถอนเงินกับธนาคารผู้เสียหายโดยตรง จึงมิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารใบถอนเงินปลอมเป็นเอกสารสิทธิ การปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมมีโทษทางอาญา
ใบถอนเงินที่จำเลยทำปลอมขึ้นและนำไปใช้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าผู้เสียหายได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไปแล้ว เป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารมาเขียนชื่อ ศ. ในช่องชื่อบัญชี เขียนเลขที่บัญชี จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของ ศ. ในช่องผู้รับเงินและในช่องผู้ถอนเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป เป็นการทำเอกสารสิทธิปลอมขึ้นทั้งฉบับ จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้งสองฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ใบถอนเงินที่จำเลยทำปลอมขึ้นและนำไปใช้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าผู้เสียหายได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไปแล้ว ใบถอนเงินจึงเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคารจึงเป็นเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินจากธนาคาร เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนบัญชีของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินธนาคาร ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารดังกล่าว ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปนั้น ใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแต่ละฉบับเป็นกรรมต่างกัน
ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ จริงอยู่ถ้ากระทำความผิดต่างวาระกัน จะต้องกระทำความผิดหลายกรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า ในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันจะเป็นความผิดหลายกรรมไม่ได้
ในทันทีที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีดังกล่าวทีละฉบับ การกระทำของจำเลยแยกออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม เมื่อจำเลยนำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าแต่ละราย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นความผิดหลายกรรม แต่จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้วใช้เอกสารปลอมที่จำเลยปลอมขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในแต่ละกระทงตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง
ในทันทีที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีดังกล่าวทีละฉบับ การกระทำของจำเลยแยกออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม เมื่อจำเลยนำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าแต่ละราย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นความผิดหลายกรรม แต่จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้วใช้เอกสารปลอมที่จำเลยปลอมขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในแต่ละกระทงตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิและเอกสารปลอม
สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งทำปลอมขึ้นโดยระบุให้จำเลยผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทลงชื่อผูกพันบริษัทเป็นหลักฐานเพื่อระงับสิทธิของโจทก์ร่วม ในการร่วมลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)
คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท เป็นเพียงเอกสารที่แจ้งความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขให้ตามรายการที่ขอและหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารที่บุคคลหนึ่งระบุมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจทำกิจการใดแทนตนเท่านั้น เอกสารทั้งสองฉบับมิใช่หลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ
จำเลยยื่นเอกสารปลอม 3 ฉบับ ประกอบกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมีเจตนาเดียวเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขจำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ปัญหาการปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท เป็นเพียงเอกสารที่แจ้งความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขให้ตามรายการที่ขอและหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารที่บุคคลหนึ่งระบุมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจทำกิจการใดแทนตนเท่านั้น เอกสารทั้งสองฉบับมิใช่หลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงมิใช่เอกสารสิทธิ
จำเลยยื่นเอกสารปลอม 3 ฉบับ ประกอบกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมีเจตนาเดียวเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขจำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ปัญหาการปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้ให้ปลอมเอกสารธรรมดาและการพิพากษาจำเลยที่มิได้ฎีกา
จำเลยที่ 1 ได้ปลอมข้อความในใบบันทึกการขายตามที่จำเลยที่ 2และที่ 4 ใช้ให้กระทำครบถ้วนแล้ว โดยปลอมหมายเลขผู้ถือบัตรเครดิตวันหมดอายุบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และลายมือชื่อผู้ถือบัตร แม้ยังไม่อาจนำไปเรียกเก็บเงินได้เพราะจะต้องนำไปลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงินรหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการและหมายเลขหนังสือเดินทางก่อน ก็น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ถือบัตรดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ
ใบบันทึกการขายดังกล่าวยังมิได้ลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงินรหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการและหมายเลขหนังสือเดินทาง ยังไม่สามารถนำไปเรียกเก็บเงินได้ จึงมิใช่เอกสารแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิ การกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4เป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารธรรมดาเท่านั้น และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ใบบันทึกการขายดังกล่าวยังมิได้ลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงินรหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการและหมายเลขหนังสือเดินทาง ยังไม่สามารถนำไปเรียกเก็บเงินได้ จึงมิใช่เอกสารแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิ การกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4เป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารธรรมดาเท่านั้น และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดข่มขืนใจฯ ตามมาตรา 309 และการไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง การอุทธรณ์นอกเหนือจากคำฟ้อง
บันทึกที่มีข้อความว่าโจทก์ไม่ได้รู้เห็นข้อเท็จจริงในการซื้อขายที่ดินไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เพราะไม่ใช่หลักฐานที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแห่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยข่มขืนใจโจทก์ให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ศ.กับส. ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แม้โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยมีมูลความผิดตามมาตรา 309 วรรคสองแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง มาในฟ้องกรณีไม่อาจลงโทษตามมาตรา 309 วรรคสองได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากคำฟ้อง ไม่เป็นข้อที่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าคดีของโจทก์ถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย