คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1673

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินตามพินัยกรรมและการครอบครองจริง แม้โฉนดจะระบุผิดพลาด แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ
แม้การแบ่งแยกโฉนดจะทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมและได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา การที่จำเลยสร้างรั้วในเขตที่ดินพิพาทจึงเป็นการสร้างในที่ดินของจำเลยเอง ไม่เป็นการสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้โฉนดไม่ตรงตามพินัยกรรม แต่จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมและครอบครองตลอดมา จึงไม่เป็นการรุกล้ำ
แม้การแบ่งแยกโฉนดจะไม่ตรงตามแนวเขตที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมและได้ครอบครองตลอดมา การที่จำเลยสร้างรั้วในเขตที่ดินพิพาทจึงเป็นการสร้างในที่ดินของจำเลยเอง ไม่เป็นการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต่อเนื่องจากผู้จัดการมรดกคนเดิม, การตีความพินัยกรรม, และสิทธิของผู้รับพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ตามคำสั่งศาล จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรม ป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดก จำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ของ ป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ ฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของ ฉ. สืบต่อจาก ป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.แต่ประการเดียว ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของ ฉ.ด้วยผู้หนึ่ง ได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้ว จำเลยปฏิเสธ สิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาท, การครอบครองทรัพย์สิน, และการตีความพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของฉ.ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ.จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ.สืบต่อจากป.และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป.แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ.ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป.ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป.แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ. ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: อำนาจฟ้องของผู้รับพินัยกรรมและหน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริง
ป. เป็นผู้จัดการมรดกของฉ. ตามคำสั่งศาลจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรมป. ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกจำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่างๆของป. ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของฉ. สืบต่อจากป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วยมิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของป. แต่ประการเดียวดังนี้เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของฉ. ด้วยผู้หนึ่งได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย พินัยกรรมข้อ4ระบุว่าป. ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่นๆถือประโยชน์ได้บ้างและเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้เว้นแต่ข้อ4.10ให้จัดการทันทีและความในข้อต่อๆไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นๆแต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ป.ด้วยและความในข้อ4.10กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆไว้ยกเว้นป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีกพินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่าเมื่อป. ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลายระหว่างที่ป.ยังมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้นหาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ป.แต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม2รายการแต่ทรัพย์2รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลยและจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรมดังนี้ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงินความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงินจำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในทรัพย์มรดก การเช่าที่ดิน และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ซื้อ
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีคนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ.และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังพินัยกรรม: สิทธิของผู้รับมรดกและผลของการเช่าที่ไม่สุจริต
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปี คนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ. และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินตามพินัยกรรม, อำนาจฟ้อง, และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี
(1) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ที่ดินซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โดยมิพักต้องทำพิธีรับมรดก และหรือเข้าครอบครองที่ดินนั้น โดยเหตุนี้ เจ้าของที่ดินเช่นว่านี้ย่อมมีอำนาจฟ้องให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และขับไล่ผู้อาศัย (2) ใบนำเพื่อจะไปเสียเงินบำรุงท้องที่นั้น ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน (3) เนื่องจากคำให้การต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี อันเป็นอำนาจที่โจทก์และศาลจะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 ดังนั้นฎีกาจำเลยที่ว่าก่อนฟ้องโจทก์มิได้บอกกล่าวจำเลยร่วมและโจทก์มิได้โต้แย้งสิทธิของจำเลย จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขพินัยกรรม: การไม่ทราบเงื่อนไขของผู้รับ ไม่ทำให้การวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงตามความประสงค์ผู้ทำพินัยกรรม
เจ้าของพินัยกรรมผู้ให้ระบุเงื่อนไขไว้ในพินัยกรรมว่า ให้มารดาของผู้รับเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามสัญญากลัดต่อท้ายพินัยกรรมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทำพินัยกรรมฉบับนั้น แม้มารดาของผู้รับ และผู้รับจะไม่ทราบเงื่อนไขนี้ก็ตาม เมื่อปรากฏว่ามารดาของผู้รับมิได้เซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวไว้ในพินัยกรรมแล้ว ผู้รับก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขพินัยกรรม: การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขทำให้เสียสิทธิรับมรดก แม้ผู้รับไม่ทราบเงื่อนไข
เจ้าของพินัยกรรม์ผู้ให้ระบุเงื่อนไขไว้ในพินัยกรรม์ว่าให้มารดาของผู้รับเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม สัญญากลัดต่อท้ายพินัยกรรม์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทำพินัยกรรม์ฉะบับนั้น แม้มารดาของผู้รับและผู้รับจะไม่ทราบเงื่อนไขนี้ก็ตาม เมื่อปรากฎว่ามารดาของผู้รับมิได้เซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวไว้ในพินัยกรรม์แล้ว ผู้รับก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามที่พินัยกรรม์กำหนดไว้
of 4