พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: ทรัพย์สินตกเป็นของภรรยาผู้รับพินัยกรรมก่อน หากภรรยาเสียชีวิตจึงตกแก่บุตรที่ระบุไว้
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้อ 1. ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่กรรมไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่นางขำ เรืองแสงภรรยาของข้าพเจ้าทั้งสิ้นถ้าภรรยาข้าพเจ้าชีวิตหาไม่แล้ว จึงให้ทรัพย์นั้นตกทอดแก่บุตรผู้ที่ได้ระบุนามไว้ในพินัยกรรมนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ ต้องแปลว่าผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นางขำภรรยาแต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด แต่นางขำหามีชีวิตไม่ กล่าวคือตายเสียก่อน ผู้ทำพินัยกรรมจึงยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ที่ระบุนามไว้ ฉะนั้นเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายก่อนนางขำ ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางขำโดยสิ้นเชิง ข้อความว่าที่ว่า ถ้านางขำหาชีวิตไม่แล้ว จึงให้ตกแก่ผู้มีนามดังระบุไว้ก็ไม่มีผล และเมื่อต่อมานางขำตาย ทรัพย์นั้นก็ตกได้แก่ทายาทนางขำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส, ผลพินัยกรรม, ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตร และการหักค่าใช้จ่าย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปีก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้ามานั้นหาได้ไม่
โจทก์จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรมร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรมก็มีผลบังคับเฉพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็เฉพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้
โจทก์จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรมร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรมก็มีผลบังคับเฉพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็เฉพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส และผลของพินัยกรรมเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรมก่อน
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้านั้นหาได้ไม่
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งมรดกขัดต่อกฎหมายเมื่อทำก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตและเพิกถอนสิทธิในพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแต่ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับพินัยกรรมต่างตกลงแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นกันใหม่ โดยไม่ถือสิทธิที่จะได้ตามพินัยกรรม ดังนี้ สัญญาแบ่งทรัพย์ย่อมไม่มีผลเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเป็นโมฆะเมื่อเงื่อนไขไม่เกิดขึ้น: สามีตายก่อนภรรยา
ในพินัยกรรมมีข้อความว่า ถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนสามีแล้วให้แบ่งทรัพย์ดังนี้ฯลฯ เมื่อปรากฏว่าสามีกลับตายก่อนเช่นนี้ ข้อความในพินัยกรรมนั้น ย่อมเป็นไร้ผล ผู้ใดจะถือสิทธิตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเป็นโมฆะเมื่อเงื่อนไขไม่เกิดขึ้น
ในพินัยกรรมมีข้อความว่า ถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนสามีแล้ว ให้แบ่งทรัพย์ดังนี้ฯลฯ เมื่อปรากฏว่าสามีกลับตายก่อนเช่นนี้ ข้อความในพินัยกรรมนั้น ย่อมเป็นอันไร้ผล ผู้ใดจะถือสิทธิตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดในพินัยกรรมมอบอำนาจจัดแบ่งทรัพย์สินโดยไม่จำกัด เป็นโมฆะตามกฎหมาย และศาลใช้กฎหมาย ณ เวลาที่พินัยกรรมมีผลบังคับใช้
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่มอบให้บุคคลใดเป็นผู้ปกครองทรัพย์จะจัดแบ่งให้แก่ใครเท่าใดแล้วแต่ผู้นั้นจะเห็นสมควรนั้น เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 ข้อ 3
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวด้วยความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมต้องใช้กฎหมายในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมบังคับ แต่ถ้าเป็นปัญหาในเรื่องผลของพินัยกรรม ศาลต้องใช้กฎหมายในขณะที่พินัยกรรมนั้นมีผลบังคับ คือในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
ปัญหาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวด้วยความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมต้องใช้กฎหมายในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมบังคับ แต่ถ้าเป็นปัญหาในเรื่องผลของพินัยกรรม ศาลต้องใช้กฎหมายในขณะที่พินัยกรรมนั้นมีผลบังคับ คือในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
ปัญหาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดในพินัยกรรมมอบอำนาจจัดสรรทรัพย์สินโดยมิได้กำหนดเกณฑ์ชัดเจนเป็นโมฆะ และการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม
ข้อกำหนดในพินัยกรรม์ที่มอบให้บุคคลใดเป็นผู้ปกครองทรัพย์จะจัดแบ่งให้แก่ใครเท่าใดแล้วแต่ผู้นั้นจะเห็นสมควรนั้น เป็นโมฆะตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 1706 ข้อ 3
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวด้วยความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม์ต้องใช้กฎหมายในขณะที่ทำพินัยกรรมบังคับ แต่ถ้าเป็นปัญหาในเรื่องผลของพินัยกรรม์ ศาลต้องใช้กฎหมายในขณะที่พินัยกรรม์นั้นมีผลบังคับ คือในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรม์ตาย
ปัญหาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรม์เป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวด้วยความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม์ต้องใช้กฎหมายในขณะที่ทำพินัยกรรมบังคับ แต่ถ้าเป็นปัญหาในเรื่องผลของพินัยกรรม์ ศาลต้องใช้กฎหมายในขณะที่พินัยกรรม์นั้นมีผลบังคับ คือในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรม์ตาย
ปัญหาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรม์เป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้