คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 235

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระ แก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาล: การขยายเวลาอุทธรณ์และการไม่รับอุทธรณ์ - ผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223,229 ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า จำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088-9089/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความ ทำให้สิทธิในการโต้แย้งถูกละเมิด การฎีกาจึงยังไม่สมบูรณ์
คดีนี้จำเลยที่3ได้เป็นโจทก์สำนวนหลังฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่3เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่3แพ้คดีในสำนวนแรกและพิพากษายกฟ้องของจำเลยที่3ในสำนวนหลังจำเลยที่3ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นทั้งสองสำนวนโดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในสำนวนหลังให้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นจำเลยที่2ในสำนวนหลังร่วมกับโจทก์ที่1รับผิดต่อจำเลยที่3ด้วยดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่3และจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เฉพาะโจทก์ที่1โดยไม่ได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ที่2ซึ่งเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วยเพื่อแก้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา235และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่3พร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาและที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาพิจารณาดังกล่าวเสียก่อนกับที่ศาลชั้นต้นไม่นัดให้โจทก์ที่2มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบด้วยมาตรา247และต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยที่3ฎีกาต่อมายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์จำเลยที่3จึงยังไม่มีสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลฎีกา
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และ ส.เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันจำเลย ต้องชำระหนี้แก่โจทก์และ ส.เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียว ซึ่งโจทก์และ ส.มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนอง ซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดย ส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วย ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ 3 ขึ้นให้การต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ดังนั้น ที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไป โจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้น โจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 247บัญญัติไว้ โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาต้องรับผิดชำระหนี้ แม้ผู้ซื้อมารับโอนเพียงผู้เดียว
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และส. เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์และส. เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียวซึ่งโจทก์และส. มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดยส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วยไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ3ขึ้นให้การต่อสู้การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังนั้นที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไปโจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้นโจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247บัญญัติไว้โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจกำหนดเวลาเหมาะสมได้ แม้ต่ำกว่า 7 วัน
การกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์นั้น เป็นการกำหนดเวลาเกี่ยวกับการดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ซึ่งกำหนดเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลชั้นต้น กฎหมายมิได้จำกัดดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าจะต้องสั่งให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เกินกว่า 7 วัน จึงจะเป็นการสมควร เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเวลาโดยเหมาะสมแล้ว และจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์เอง & ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์แล้วสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์ไม่ได้นำส่งเองโดยเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการในการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานเดินหมายเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้โจทก์ก็มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดจนเจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอศาลเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง 24 วันแล้ว ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงให้ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายในเวลาที่ศาลกำหนดโดยโจทก์ทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ กำหนดเวลาที่ศาลให้โจทก์แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้นั้น ให้นับตั้งแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้หาใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ และเมื่อศาลกำหนดให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคอยติดตามทราบผลการส่งหมายจากเจ้าหน้าที่ศาลเอง เจ้าหน้าที่ศาลหามีหน้าที่ต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์แล้วสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์ไม่ได้นำส่งเองโดยเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการในการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานเดินหมายเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้ โจทก์ก็มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดจนเจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอศาลเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง 24 วันแล้ว ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงให้ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายในเวลาที่ศาลกำหนดโดยโจทก์ทราบคำสั่งโดยชอบแล้วเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
กำหนดเวลาที่ให้โจทก์แถลงเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นั้น ศาลให้นับตั้งแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้หาใช่นับตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ และเมื่อศาลกำหนดให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคอยติดตามทราบผลการส่งหมายจากเจ้าหน้าที่ศาลเอง เจ้าหน้าที่ศาลหามีหน้าที่ต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบก่อนไม่.(ที่มาส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ประเด็นกรรมสิทธิ์และการหมดอายุความฟ้องร้อง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาเพราะศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดี แต่จำเลยก็ยื่นคำแก้ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาในชั้นฎีกาด้วยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาทั้งหมด ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์ทั้งสองนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่ไม่ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียได้.
of 7