พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 180 ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 182/1 วรรคหนึ่ง และไม่มีบทบัญญัติใดให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อเท็จจริง กรณีก็ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ เพราะเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ: ต้องรอคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้อนุบาลก่อน
ที่ผู้ร้องอ้างว่าจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 เพื่อจัดการทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถนั้นที่จะยื่นคำร้องขอได้ เมื่อปรากฏว่าในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ศาลยังไม่มีคำสั่งว่า ม. เป็นคนไร้ความสามารถ และมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ ม. ผู้ร้องซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะผู้อนุบาล จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมแทน ม. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนห้องชุดสินสมรส และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้อง
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนห้องชุดกึ่งหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แล้ว ห้องชุดดังกล่าวกลับเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกิดจากการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นความบกพร่องของโจทก์ที่มิได้บรรยายฟ้องถึงฐานะแห่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย และเมื่อพิจารณาจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยทั้งสองส่งมอบห้องชุดตามฟ้องคืนแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น ฟังว่าโจทก์มีคำขอบังคับตามลำดับโดยชัดแจ้งแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย ประกอบกับตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 19 มิได้ห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเสียทีเดียว ฉะนั้น คนต่างด้าวจึงอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจึงไม่ชอบ เพราะนอกจากโจทก์จะชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังไม่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกิดจากการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นความบกพร่องของโจทก์ที่มิได้บรรยายฟ้องถึงฐานะแห่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย และเมื่อพิจารณาจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยทั้งสองส่งมอบห้องชุดตามฟ้องคืนแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น ฟังว่าโจทก์มีคำขอบังคับตามลำดับโดยชัดแจ้งแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย ประกอบกับตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 19 มิได้ห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเสียทีเดียว ฉะนั้น คนต่างด้าวจึงอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจึงไม่ชอบ เพราะนอกจากโจทก์จะชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังไม่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมายซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำ หากคดีเดิมยุติด้วยการประนีประนอมและยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำซ้อนกับคดีที่ศาลยังพิจารณาอยู่ แม้จะมีการจำหน่ายคดีชั่วคราว
คดีก่อน จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทและเรียกค่าเสียหายอ้างว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อคืนโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระราคาและรับโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 1 ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้กรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของตนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตลอดจนสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ส่วนคำร้องสอดของโจทก์ที่ยื่นเข้าไปขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม และจำเลยที่ 2 กับสามีซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้กระทำการโดยไม่สุจริต โดยมีคำขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่า คำร้องสอดของโจทก์ตั้งข้อพิพาทเป็นปฏิปักษ์กับทั้งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และจำเลยในคดีก่อน มีผลให้คดีตามคำร้องสอดของโจทก์มีลักษณะเป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลแล้ว แม้คดีก่อนศาลจะจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลในคดีนี้ ก็ถือว่าคดีตามคำร้องสอดของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ โดยมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3857/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวซื้อที่ดินร่วมกับคู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้
จำเลยแก้ฎีกาอ้างข้อเท็จจริงว่าคุ้นเคยสนิทสนมกับ ฉ. และได้โทรศัพท์ขอบคุณ ฉ. ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้นำสืบในชั้นพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกา ก็ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
เงินที่ ฉ. บิดาของโจทก์โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยมีจำนวนมากถึง 13,500,000 บาท ไม่ใช่จำนวนเล็กน้อยที่ ฉ. จะยกให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ทั้งจำเลยไม่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอเงินจาก ฉ. แม้ ฉ. จะเป็นบิดาของโจทก์แต่ก็หาเป็นข้อระแวงว่าจะเบิกความช่วยเหลือโจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่ ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวที่ ฉ. โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นเงินที่ ฉ. ให้โจทก์โดยเสน่หาอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและอาคารพิพาท เช่นนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทร่วมกัน และให้ใส่ชื่อโจทก์และจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากัน หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469
การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอยู่ ถือว่าเป็นการบอกล้างภายในกำหนดตามกฎหมายข้างต้น โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ให้โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประการหนึ่งตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้ชัดแจ้ง
เงินที่ ฉ. บิดาของโจทก์โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยมีจำนวนมากถึง 13,500,000 บาท ไม่ใช่จำนวนเล็กน้อยที่ ฉ. จะยกให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ทั้งจำเลยไม่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอเงินจาก ฉ. แม้ ฉ. จะเป็นบิดาของโจทก์แต่ก็หาเป็นข้อระแวงว่าจะเบิกความช่วยเหลือโจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่ ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวที่ ฉ. โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นเงินที่ ฉ. ให้โจทก์โดยเสน่หาอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและอาคารพิพาท เช่นนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทร่วมกัน และให้ใส่ชื่อโจทก์และจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากัน หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469
การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอยู่ ถือว่าเป็นการบอกล้างภายในกำหนดตามกฎหมายข้างต้น โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ให้โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประการหนึ่งตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3404/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอุทธรณ์คดีเยาวชน: ผู้ร้องต้องเป็นคู่ความหรือผู้เสียหายเท่านั้น ศาลต้องยกคำร้องที่ไม่ชอบ
บุคคลที่มีอำนาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ของศาลต้องเป็นผู้เสียหาย หรือคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดี ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 คู่ความ หมายความถึง โจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องเป็นโจทก์หรือจำเลยคดีนี้ ทั้งศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า อ. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ด้วยแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ และถือไม่ได้ว่า อ. เป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นมาตั้งแต่แรก ตลอดทั้งไม่มีอำนาจอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น และผู้ร้องในฐานะบิดาของ อ. ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทน อ. ที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นได้เช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยในเนื้อหาของคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษฟังว่า ผู้ร้องมิใช่คู่ความและมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นและไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้อง จึงชอบแล้วและมีผลให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นฎีกาต่อมาได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษฟังว่า ผู้ร้องมิใช่คู่ความและมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษชอบที่จะยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับคำร้องของผู้ร้อง และยกฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง: ผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดของจำเลย
แม้ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 24 ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และผู้พิพากษาสมทบอีกสองคน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้.. ก็ตาม แต่การพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัวตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (1) ถึง (5) คดีนี้เดิมเป็นเรื่องที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญา การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เมื่อพิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดเสร็จแล้ว ในหมวด 11 การพิพากษาคดีอาญา กำหนดให้มีการประชุมปรึกษาคดีเพื่อมีคำพิพากษาตามมาตรา 134 แสดงให้เห็นว่า การพิจารณาพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต้องมีการประชุมปรึกษาและให้ถามความเห็นของผู้พิพากษาสมทบก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่บทบาทของผู้พิพากษาสมทบในการร่วมนั่งพิจารณาคดีกับผู้พิพากษาเป็นการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน รวมทั้งการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การใช้วิธีการให้เหมาะสมแก่เด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิด ดังที่บทบัญญัติไว้ในหมวด 12 สำหรับคดีร้องขอคืนของกลางในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 36 แม้มีผลสืบเนื่องมาจากคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงคดีสาขา เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยจำเลยหาได้เป็นคู่ความในคดีร้องขอคืนของกลางไม่ และปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน (จำเลย) หรือไม่ เท่านั้น ไม่มีปัญหาที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิด หรือต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนแต่อย่างใด และไม่ได้พิจารณาเนื้อหาของคดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนโดยตรง การพิจารณาพิพากษาคดีขอคืนของกลาง มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน หรือมีผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชนไม่ว่าในทางใด แต่เป็นการมุ่งถึงตัวทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งริบเป็นสำคัญ จึงไม่มีเหตุที่จะต้องมีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง รวมทั้งไม่ต้องสอบถามความเห็นของผู้พิพากษาสมทบก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 134 ด้วย เมื่อคดีนี้มีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสองคนร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีร้องขอคืนของกลาง โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะ ก็เป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5747/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ผลต่อการฟ้องคดีอาญา – พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ และอำนาจฟ้อง
เจตนารมณ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดในชั้นที่ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เพื่อเยียวยาแก้ไขเสียก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาล และเป็นบทบังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าวไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คดีนี้จำเลยทั้งสามถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และเสพเมทแอมเฟตามีน รวม 3 ฐาน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยทั้งสามไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรา 19 จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบ เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน เพราะเมื่อพนักงานสอบสวนได้กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิด 3 ฐาน หากจำเลยทั้งสามได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนและผลการฟื้นฟูเป็นที่พอใจแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ก็จะพ้นจากความผิดทุกข้อหาที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 ในทางกลับกันการที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย ย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องทุกข้อกล่าวหาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 หาใช่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะพิจารณาสั่งฟ้องเป็นรายข้อหาเฉพาะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนว่า จำเลยทั้งสามถูกแจ้งข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสามในห้องพิจารณา จำเลยทั้งสามรับว่าเสพเมทแอมเฟตามีน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยทั้งสามมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เสี่ยงต่อการกระทำความผิดหรืออาจถูกชักนำให้กระทำความผิดได้ หาใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไม่ เพราะมิได้ปรับบทกฎหมายหรือกำหนดโทษฐานนี้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจคุมความประพฤติจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 138 มิใช่การพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง จึงไม่ชอบเพราะศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง มิใช่ทรัพย์ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดตามฐานที่ฟ้อง จึงไม่อาจริบได้ ให้คืนแก่เจ้าของตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33
แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนว่า จำเลยทั้งสามถูกแจ้งข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสามในห้องพิจารณา จำเลยทั้งสามรับว่าเสพเมทแอมเฟตามีน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยทั้งสามมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เสี่ยงต่อการกระทำความผิดหรืออาจถูกชักนำให้กระทำความผิดได้ หาใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไม่ เพราะมิได้ปรับบทกฎหมายหรือกำหนดโทษฐานนี้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจคุมความประพฤติจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 138 มิใช่การพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง จึงไม่ชอบเพราะศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง มิใช่ทรัพย์ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดตามฐานที่ฟ้อง จึงไม่อาจริบได้ ให้คืนแก่เจ้าของตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2854/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแยกสินสมรสและค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีหย่า การพิสูจน์สินสมรสและฐานะทางการเงินของคู่สมรส
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันและแบ่งสินสมรส ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้หย่า จึงจะมีการแบ่งสินสมรสว่ามีทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรส เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุให้แยกสินสมรสหรือไม่ และจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ และสินสมรสที่ต้องแยกได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และประเด็นคดีก่อนจึงต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่เมื่อคดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ ต้องแบ่ง จึงถือไม่ได้ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมโจทก์และจำเลยประกอบกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด น. และต่อมาจดทะเบียนเลิกห้าง และจัดตั้งบริษัท อ. โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยจะไม่ใช้อำนาจบริหารกิจการบริษัท อ. แต่ให้ อ. บุตรชายของโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริหารแทน กิจการโรงงานเป็นของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก หาใช่สินสมรสไม่ ทั้งคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัท อ. เนื่องจากโจทก์ติดการพนันและมีปัญหาหนี้สิน โจทก์จะไม่เกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้มีอำนาจ และโจทก์เคยทำลายทรัพย์สินของบริษัทจนถูกห้ามเข้าบริษัท ข้อเท็จจริงในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบกับโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องหลังจากคดีก่อนถึงที่สุดเพียง 4 เดือน บ่งชี้ถึงความไม่สุจริตของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์
บริษัท อ. และ บริษัท ซ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลอื่นและผู้ถือหุ้น มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ เป็นของตนเอง การดำเนินกิจการต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่กรรมการบริษัทภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับจัดตั้ง กิจการบริษัททั้งสองรวมทั้งทรัพย์สินของบริษัทหาใช่สินสมรสไม่ แต่เป็นของบริษัทภายใต้การดำเนินกิจการของบริษัท หากจะเกิดความเสียหายหรือเกิดความหายนะ ก็เป็นเรื่องที่กรรมการบริษัทจะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 กรณีจึงไม่มีเหตุแยกสินสมรส
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ แต่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลยคือ ให้ อ. บุตรชาย นำรายได้ของบริษัทส่วนหนึ่งมาจ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยคนละ 300,000 บาท ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของบริษัทที่นำมาจ่ายให้โจทก์และจำเลยเมื่อมีกำไร หาใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่คู่สมรสต้องอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง อันจะถือเป็นเหตุให้แยกสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (2) ไม่ ทั้งบริษัท อ. ถูกศาลล้มละลายกลางพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีรายได้ที่จะนำมาชำระค่าเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยได้ ดังนี้จะถือว่าจำเลยผิดข้อตกลงหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมโจทก์และจำเลยประกอบกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด น. และต่อมาจดทะเบียนเลิกห้าง และจัดตั้งบริษัท อ. โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยจะไม่ใช้อำนาจบริหารกิจการบริษัท อ. แต่ให้ อ. บุตรชายของโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริหารแทน กิจการโรงงานเป็นของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก หาใช่สินสมรสไม่ ทั้งคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัท อ. เนื่องจากโจทก์ติดการพนันและมีปัญหาหนี้สิน โจทก์จะไม่เกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้มีอำนาจ และโจทก์เคยทำลายทรัพย์สินของบริษัทจนถูกห้ามเข้าบริษัท ข้อเท็จจริงในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบกับโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องหลังจากคดีก่อนถึงที่สุดเพียง 4 เดือน บ่งชี้ถึงความไม่สุจริตของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์
บริษัท อ. และ บริษัท ซ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลอื่นและผู้ถือหุ้น มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ เป็นของตนเอง การดำเนินกิจการต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่กรรมการบริษัทภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับจัดตั้ง กิจการบริษัททั้งสองรวมทั้งทรัพย์สินของบริษัทหาใช่สินสมรสไม่ แต่เป็นของบริษัทภายใต้การดำเนินกิจการของบริษัท หากจะเกิดความเสียหายหรือเกิดความหายนะ ก็เป็นเรื่องที่กรรมการบริษัทจะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 กรณีจึงไม่มีเหตุแยกสินสมรส
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ แต่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลยคือ ให้ อ. บุตรชาย นำรายได้ของบริษัทส่วนหนึ่งมาจ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยคนละ 300,000 บาท ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของบริษัทที่นำมาจ่ายให้โจทก์และจำเลยเมื่อมีกำไร หาใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่คู่สมรสต้องอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง อันจะถือเป็นเหตุให้แยกสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (2) ไม่ ทั้งบริษัท อ. ถูกศาลล้มละลายกลางพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีรายได้ที่จะนำมาชำระค่าเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยได้ ดังนี้จะถือว่าจำเลยผิดข้อตกลงหาได้ไม่