คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (10)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเกินกำหนด หากเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอนุญาตได้
การที่จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงไม่มีมูลหนี้และตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่ ถือเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวได้ แม้เป็นการยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 180 กำหนดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดโจทก์, การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, การเพิกถอนการพิจารณา, ผลของการไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยทั้งสามซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยที่ 3 นำพยานเข้าสืบต่อไปและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบหักล้างแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ย่อมหมายถึงว่าศาลฎีกาได้อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้เลื่อนคดีตามที่ร้องขอ และวันสืบพยานตามความหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) คือวันที่ศาลชั้นต้นเริ่มทำการสืบพยานจำเลยที่ 3 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นี้ โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลในวันนัด จึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 201 (เดิม) กล่าวคือ ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ แต่หากจำเลยที่ 3 ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลต้องมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อน แล้วจึงจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 205 ถึงมาตรา 209 เดิม ซึ่งเป็นบทบัญญัติพิเศษโดยเฉพาะของวิธีพิจารณาวิสามัญอันว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกระบวนวิธีพิจารณาสามัญ ดังนั้น การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างวิธีพิจารณาสามัญโดยมีคำสั่งว่าให้จำเลยที่ 3 สืบพยาน แล้วเลื่อนคดีไปให้โจทก์ซักค้านในนัดหน้า จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบที่เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการปฏิบัติผิดระเบียบนั้นร้องขอ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการที่คู่ความจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาผิดระเบียบว่า "ข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ" เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านหรือร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ กลับนำตัวจำเลยที่ 3 เข้าเบิกความจนจบคำซักค้าน แล้วต่อมาเพียงแต่ยื่นคำแถลงคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 201 วรรคสอง โดยไม่ได้ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2) เท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จการพิจารณา กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 27 วรรคสอง อีกทั้งจำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการพิจารณาต่อไปหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ศาลสูงมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นว่านี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7380/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานก่อนครบกำหนดเวลายื่นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะเข้าใจผิดเรื่องวันนัด
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ (ชั้นขอให้พิจารณาใหม่) ++
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเมื่อจำเลยยังไม่ได้รับหมายเรียกและโจทก์ขาดนัด สืบเนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับหมายเรียกและไม่ได้ยื่นคำให้การ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้ว จำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3 ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาและการเลื่อนคดีเพื่อแก้ไขสถานะจำเลย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก นอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้วจำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหนายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเพื่อแก้ไขสถานะจำเลยที่ไม่พร้อม และความชอบธรรมในการสั่งจำหน่ายคดี
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้ว จำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3 ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันสืบพยานและการขาดนัดพิจารณา: การเผชิญสืบที่พิพาทถือเป็นการสืบพยานแล้ว
จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนขอเผชิญสืบที่พิพาท และศาลได้ไปเผชิญสืบในวันที่จำเลยขอ ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานและวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(10)ประกอบมาตรา 102 วรรคแรก การที่โจทก์ได้ร่วมไปเผชิญสืบในวันนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์จะไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมา ก็ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานจำเลยต่อไปโดยมิได้สืบพยานฝ่ายโจทก์ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่มิชอบดังกล่าวเสียตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247โดยพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ขาดนัดพิจารณาและกระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นทั้งหมดกับให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันนัดสืบพยานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเพียง 2 วัน ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 184 วรรคแรกซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องออกหมายกำหนดวันสืบพยานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 วัน การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและดำเนินคดีต่อไปในวันดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนทนายและการขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยยังไม่ได้แต่งตั้งทนายใหม่
ทนายจำเลยขอถอนตัว ศาลชั้นต้นได้แจ้งให้จำเลยทราบคำขอนั้นแล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องแล้วโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยได้แต่งตั้งทนายเข้ามาก่อนวันศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทนายคนเดิมขอถอนตัวหรือไม่แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม2529 แต่ถึงวันนัดได้มีการเลื่อนวันนัดออกไป และมีการเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไปอีกหลายครั้งโดยไม่มีการสืบพยานโจทก์เลยจนกระทั่งได้มีการสืบพยานโจทก์ครั้งรแกในวันที่ 18มีนาคม 2529 ถือได้ว่าวันสืบพยานคือวันที่ 18 มีนาคม 2529 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มาศาล และศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ขาดนัดพิจารณาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 3