คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาญวิทย์ รักษ์กุลชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตใหม่โดยความยินยอมของผู้เอาประกัน การกระทำไม่เข้าข่ายฉ้อฉล
ข้อที่โจทก์แก้ฎีกาอ้างมาเป็นเหตุผลบางประการที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาประกอบคำวินิจฉัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ฉ้อฉลหลอกลวงในประเด็นว่าจำเลยทั้งสามใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาวินิจฉัยดังกล่าวโดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งฉบับแล้ว ก็เห็นได้ว่าเนื้อหาของฎีกาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องและมีรายละเอียดแสดงเหตุผลว่าที่ถูกควรเป็นเช่นไร ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง)
พฤติการณ์ของโจทก์บ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 และร่วมกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้โจทก์มาก่อนลงลายมือชื่อเป็นตัวแทนในใบคำขอเอาประกันชีวิตของโจทก์และเอกสารที่เกี่ยวข้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ไม่เป็นธรรม: ศาลลดค่าเสียหายตามสัดส่วนความรับผิดของผู้เช่าซื้อ
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น" เมื่อพิจารณาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้ผู้ให้เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากไม่อาจส่งมอบคืนได้ ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้ราคาแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของราคาเช่าซื้อ ในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จึงย่อมหมายความรวมถึงผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อที่จะต้องคืนหรือใช้ราคารถในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยเหตุที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายด้วย สัญญาข้อดังกล่าวกำหนดบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์โดยเด็ดขาดทุกกรณี โดยไม่ได้แบ่งแยกความรับผิดกรณีเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ และกรณีไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อไว้ต่างหากจากกัน จึงเป็นการได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดให้ข้อตกลงในสัญญาที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นโมฆะ เพียงแต่ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพียงแต่ศาลมีอำนาจกำหนดให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคาแทนเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหุ้นครอบคลุมถึงเงินปันผลที่เป็นดอกผลนิตินัย แม้พ้น 10 ปีหลังคำพิพากษา
เงินปันผลเป็นเงินที่จ่ายจากกำไรของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งเป็นคราวตามส่วนจำนวนหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 และมาตรา 1201 เงินปันผลจึงเป็นดอกผลนิตินัยตามมาตรา 148 วรรคสาม
เมื่อโจทก์ยึดหุ้นของบริษัท น. ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว การยึดหุ้นย่อมครอบไปถึงเงินปันผลอันเป็นดอกผลนิตินัยแห่งทรัพย์นั้นด้วย โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15209/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยหลังจ่ายค่าสินไหมทดแทน แม้มีการประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทผู้รับประโยชน์กับผู้กระทำละเมิด
แม้จำเลยกับ ส. ทายาทของ ป. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุจากโจทก์จะตกลงระงับข้อพิพาทต่อกันอันเป็นการประนีประนอมยอมความกัน ทำให้มูลหนี้ระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลยระงับไปก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ส. ทายาทของ ป. ผู้เอาประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ส. ทายาทของ ป. และอาจใช้สิทธิในฐานะผู้รับช่วงสิทธิที่มีต่อจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ตั้งแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ 880 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยกับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทต่อกันในภายหลัง ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้วไม่ โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของ ส. ทายาทของ ป. จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14516/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้จัดการมรดกรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องอันมีต่อ อ. เจ้ามรดก ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ซึ่งต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม หาได้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 7824/2550 หมายเลขแดงที่ 2979/2551 ของศาลชั้นต้นที่นำมาผูกรวมกับคดีนี้ว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกรู้ถึงความตายของ อ. ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2549 เมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 มิถุนายน 2551 จึงพ้นกำหนด 1 ปี คดีเป็นอันขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการได้รู้หรือควรได้รู้อย่างแน่นอนและมีหลักฐานยืนยันได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 18 มกราคม 2545 ให้จ่าสิบตำรวจ ก. ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา และได้ส่งให้จ่าสิบตำรวจ ก. ที่ภูมิลำเนาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2545 ตามใบตอบรับทางไปรษณีย์และซองจดหมาย ซึ่งไม่มีผู้รับแต่มีข้อความเขียนระบุไว้ที่ซองจดหมายว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตายแล้วโดยไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แจ้งให้ผู้ส่งจดหมายบันทึกข้อความดังกล่าว กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตาย ต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรมีข้อความระบุว่า จำหน่ายชื่อจ่าสิบตำรวจ ก. จากทะเบียนบ้านเนื่องจากตายเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2545 จึงต้องฟังว่าโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของจ่าสิบตำรวจ ก. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้น 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจ่าสิบตำรวจ ก. ตามฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13076/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังกฎกระทรวงโดยศาล แม้จำเลยมิได้นำสืบ: จำนวนเงินเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2540) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่จำเลยที่ 3 แนบท้ายอุทธรณ์มารับฟังว่า กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อคนตามข้อ 2 (1) (ค) ที่ระบุว่า แปดหมื่นบาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต แล้ววินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และกฎกระทรวงดังกล่าวให้ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้นำสืบกฎกระทรวงดังกล่าว ศาลก็ชอบที่จะนำมารับฟังได้ เพราะเมื่อมีการประกาศกฎกระทรวงดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎกระทรวงย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมายอันเป็นที่รู้แก่บุคคลทั่วไปและศาลย่อมรู้ได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12356/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิที่ได้จากการซื้อขายและจดทะเบียน: การคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริต
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. และ ม. และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าโจทก์อย่างไร ทั้งตามคำร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เมื่อผู้ร้องมิได้ตั้งประเด็นในคำร้องว่า โจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. และ ม. โดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 6 นอกจากนี้ ผู้ร้องยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำร้องว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนโจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามบทมาตราดังกล่าว และเมื่อตามคำร้องของผู้ร้องไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าโจทก์ที่อยู่ในที่ดินพิพาทได้จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10816/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน ผู้ร้องมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วนแพ่งเมื่อมิได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา
ผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำร้องของผู้ร้องเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้ร้องอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ผู้ร้องย่อมไม่มีฐานะเป็นคู่ความอันจะมีสิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาได้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีส่วนอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10319/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายสัตว์ ลักทรัพย์ และความผิดกรรมเดียวความผิดหลายบท ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันนำยาฆ่าแมลงใส่ในผลมะละกอให้ช้างกิน ช้างได้รับสารพิษทำให้ล้มลงกับพื้น ขณะที่ยังไม่ถึงแก่ความตายจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เลื่อยเหล็กตัดงาช้าง เป็นเหตุให้ช้างได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็นและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันลักงาช้างไปโดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น และร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ แต่การกระทำดังกล่าวมุ่งประสงค์เพื่อลักงาช้างเป็นสำคัญ จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
of 3