พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากการบอกเลิกสัญญา, การริบผลงาน, และการหักชดเชยค่าจ้างเพิ่ม
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเป็นเงิน53,200,000 บาท จำเลยที่ 1 ส่งมอบงาน 5 งวด รับเงินไปแล้ว14,151,200 บาท เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสร้าง จำเลยที่ 1ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันที่ธนาคารได้ส่งเงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 2,660,000 บาท แต่หนังสือค้ำประกันมิใช่สิ่งซึ่งจะพึงริบ เมื่อมีการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(2) เงินจำนวน 2,660,000 บาท ที่ธนาคารส่งมอบให้แก่โจทก์จึงมิใช่มัดจำแต่เป็นเงินประกันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองกำหนดว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นใน ฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ ริบเบี้ยปรับแล้วต้องนำเบี้ยปรับที่ริบจำนวน 2,660,000 บาท ไปหักออกจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์ต้องไปจ้าง บุคคลภายนอก ให้ทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในราคา62,900,000 บาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเพียง21,191,200 บาท การที่สัญญาจ้างระบุว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้นผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างจะเรียกค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้นั้น เป็นการที่ผู้รับจ้างให้ สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่จำนวนเงินให้ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา 381 วรรคแรก เมื่อพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้ว่าจ้างกับผลงานและ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างที่ปฏิบัติมาตามสัญญา เห็นได้ว่าเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว โจทก์ย่อม ริบผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ เกี่ยวกับค่าผลงานที่ทำไปแล้วอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การเสนอราคา, การตอบรับที่มีเงื่อนไข, และขอบเขตของสัญญา
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวน ให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญา ก่อสร้างให้จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับ ของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคา คือ บริษัทพ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข อย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอ บางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นโดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาด จะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่ โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุ ให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัท พ. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาและการตอบรับที่มีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง: สัญญาจ้างก่อสร้างเกิดขึ้นเมื่อตอบรับเงื่อนไขใหม่
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาก่อสร้างให้จำเลย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับค่าเสียหายจากทรัพย์สินหาย: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบได้
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูมของจำเลย รถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก.พนักงานของจำเลยซึ่ง ก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูมดังกล่าวได้หายไป ต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 344 และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเมื่อสิทธิเรียกร้องยังไม่เด็ดขาด และจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูม ของจำเลยรถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก. พนักงานของจำเลยซึ่งก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูม ดังกล่าวได้หายไปต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก. ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซ่อมเปียโนโบราณ: การตีความสัญญา ความจำเป็นในการซ่อมแซม และการชำระค่าจ้าง
โจทก์มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ขอซ่อมเปียโน พิพาทแจ้งว่าโจทก์มีความสามารถที่จะซ่อมเปียโน ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ มิได้มีการระบุขอซ่อมเพื่อรักษาสภาพของเก่าตามสัญญาว่าจ้างฉบับพิพาท โจทก์ก็ระบุให้ซ่อมโดยอนุรักษ์ของเก่าเท่าที่ทำได้โดยไม่มีรายละเอียดว่าส่วนใดห้ามเปลี่ยนส่วนใดให้เปลี่ยนได้การตกลงว่าจ้างซ่อมเปียโน เก่าเพื่อให้ใช้ได้โดยสมบูรณ์และให้รักษาของเก่าด้วยเช่นนี้จึงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเปียโน อายุมากกว่า 180 ปี หมดสภาพการใช้งานโดยสิ้นเชิงแล้ว เมื่อการกำหนดรายละเอียดในการซ่อม ไม่ปรากฎในสัญญาจ้างโดยชัดแจ้ง จึงต้องอยู่ในดุลพินิจของ ช่างผู้ชำนาญจะพิจารณา หากรักษาของเก่ามากเปียโน ก็ใช้งาน ไม่ได้ หากจะให้ใช้งานได้สภาพของเก่าจะหมดลง การที่จำเลย ให้ช่างเปลี่ยนชุดแป้นลิ่มนิ้วทั้งสองด้าน ทั้งที่ชุดแป้นลิ่มนิ้วด้านหนึ่งยังพอใช้ได้แต่หากใช้แป้นลิ่มนิ้วเก่า เปียโน จะได้เสียง ไม่สมบูรณ์ตามสัญญาจ้าง จึงถือเป็นความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ นอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างตกลงค่าจ้างแน่นอน ทั้งตามข้อสัญญามิได้มีข้อกำหนดว่าชิ้นส่วนที่ชำรุดดังกล่าวจะต้องส่งคืนโจทก์ การซ่อมแซมของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้างแล้ว และเมื่อการบอกเลิกสัญญาของโจทก์เป็นไปโดยมิชอบ โจทก์จึงต้องชำระค่าจ้างที่ค้างแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อมแซมสิ่งของเก่าตามสัญญาจ้าง: ดุลพินิจช่าง, ความจำเป็น, และค่าจ้าง
โจทก์มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ขอซ่อมเปียโนพิพาทแจ้งว่าโจทก์มีความสามารถที่จะซ่อมเปียโนให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ มิได้มีการระบุขอซ่อมเพื่อรักษาสภาพของเก่า ตามสัญญาว่าจ้างฉบับพิพาท โจทก์ก็ระบุให้ซ่อมโดยอนุรักษ์ของเก่าเท่าที่ทำได้โดยไม่มีรายละเอียดว่าส่วนใดห้ามเปลี่ยน ส่วนใดให้เปลี่ยนได้การตกลงว่าจ้างซ่อมเปียโนเก่าเพื่อให้ใช้ได้โดยสมบูรณ์และให้รักษาของเก่าด้วยเช่นนี้จึงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเปียโนอายุมากกว่า 180 ปี หมดสภาพการใช้งานโดยสิ้นเชิงแล้ว เมื่อการกำหนดรายละเอียดในการซ่อมไม่ปรากฏในสัญญาจ้างโดยชัดแจ้ง จึงต้องอยู่ในดุลพินิจของช่างผู้ชำนาญจะพิจารณา หากรักษาของเก่ามากเปียโนก็ใช้งานไม่ได้ หากจะให้ใช้งานได้สภาพของเก่าจะหมดลง การที่จำเลยให้ช่างเปลี่ยนชุดแป้นลิ่มนิ้วทั้งสองด้าน ทั้งที่ชุดแป้นลิ่มนิ้วด้านหนึ่งยังพอใช้ได้ แต่หากใช้แป้นลิ่มนิ้วเก่าเปียโนจะได้เสียงไม่สมบูรณ์ตามสัญญาจ้าง จึงถือเป็นความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ นอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างตกลงค่าจ้างแน่นอน ทั้งตามข้อสัญญามิได้มีข้อกำหนดว่าชิ้นส่วนที่ชำรุดดังกล่าวจะต้องส่งคืนโจทก์ การซ่อมแซมของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้างแล้ว และเมื่อการบอกเลิกสัญญาของโจทก์เป็นไปโดยมิชอบ โจทก์จึงต้องชำระค่าจ้างที่ค้างแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างทนายความต้องแจ้งเจตนาชัดเจน การประวิงคดีไม่อาจอ้างเหตุเลิกสัญญาได้
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาได้ และไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่างพ.ทนายความจำเลยกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ พ.ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลย สัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ.และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างทำของ vs. ซื้อขาย: หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกเลิกการประเมิน และของดหรือลดเบี้ยปรับโดยให้เหตุผลว่า ในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยถือความเข้าใจและความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ หากมีกรณีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้คำถามนำ และใช้คำพูดในเชิงใช้อำนาจอันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมสรรพากร พร้อมทั้งโจทก์ได้ยื่นหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมาพร้อมด้วย คำอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4