พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การต่ออายุสัญญาและการสละสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง 46,000 บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า446,000 บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่ออายุสัญญาจ้างเหมา และสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญา
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง 46,000 บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 446,000 บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วันนับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไป ถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น อันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้วแสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทุนทรัพย์ตามสัญญา และการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกำหนด
หนี้ตามสัญญายืมที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องและหนี้ตามสัญญาจ้างที่โจทก์ฟ้อง ต่างเป็นหนี้คนละรายกัน และมูลความแห่งคดีของหนี้ทั้งสองรายสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุนทรัพย์ในคดีจึงต้องแยกตามสัญญายืมและสัญญาจ้างเป็นคนละส่วนกัน
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะ ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535 ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะ ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535 ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทุนทรัพย์คดีสัญญาจ้างและสัญญายืม และการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกำหนด
หนี้ตามสัญญายืมที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องและหนี้ตามสัญญาจ้าง ที่โจทก์ฟ้อง ต่างเป็นหนี้คนละรายกัน และมูลความแห่งคดี ของหนี้ทั้งสองรายสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุนทรัพย์ในคดี จึงต้องแยกตามสัญญายืมและสัญญาจ้างเป็นคนละส่วนกัน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่าโจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่งกำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาชุบทองคำขาว: ความรับผิดชอบค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องและราคาทรัพย์สิน
ก่อนที่โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยชุบทองคำขาวเครื่องประดับได้มีการตกลงกันถึงกรรมวิธีในการชุบทองคำขาวด้วย การที่จำเลยทำผิดขั้นตอนที่ตกลงกันหรือผิดปกติประเพณีการชุบทองคำขาว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้นโจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมด จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้นบุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฏิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไป โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้นโจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมด จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้นบุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฏิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไป โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชุบทองคำขาว: การผิดสัญญา, ความเสียหายจากสินค้าชำรุด, และการเรียกค่าเสียหาย
ก่อนที่โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยชุบทองคำขาวเครื่องประดับได้มีการตกลงกันถึงกรรมวิธีในการชุบทองคำขาวด้วย การที่จำเลยทำผิดขั้นตอนที่ตกลงกันหรือผิดปรกติประเพณีการชุบทองคำขาว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน 13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฎิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้น โจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมดจำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้น บุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน 288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้นเนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฎิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจาณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา215 แต่เมื่อไม่ปรากฎว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน 13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฎิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้น โจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมดจำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้น บุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน 288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้นเนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฎิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจาณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา215 แต่เมื่อไม่ปรากฎว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญาจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1 ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับจ้างผิดสัญญา โดยสิทธิเหล่านี้สามารถใช้ได้ควบคู่กัน
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าวแม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้ เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาพร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไปโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้วโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ใน อันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: จ่ายตามผลงาน แม้ตกลงประนีประนอม
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อมอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ