พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: จ่ายตามผลงาน แม้ตกลงประนีประนอม
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อมอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: แม้ผลคดีไม่เป็นไปตามที่ตกลง ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามผลงานที่กระทำไป
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อยอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดิน: ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นได้ ดังนี้กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็นกิจการที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อขอค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดิน เพิ่มขึ้นได้ ดังนี้ กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์ กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็น กิจการ ที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะ ขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ตามปกติและหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสโมสรเป็นค่าตอบแทนบริการ จัดเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสร ดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือน โดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปี ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานสัญญาจ้างก่อสร้าง จำเลยต้องตกลงเพิ่มเติมงานและราคากับผู้รับเหมา การกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ว่าจ้างถือเป็นความผิดของผู้รับเหมา
คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเพียงคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยผู้ว่าจ้างให้ทำหน้าที่แทนผู้ว่าจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ตามคำสั่งจำเลยที่แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการจ้างและควบคุมงานปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบตลอดจนควบคุมตรวจรับงานให้ถูกต้องตามสัญญาและรายละเอียดตามแบบแปลนคณะกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยก็มิได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจการจ้างตกลงหรือตัดสินใจแทนจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้าง และการที่โจทก์สำรวจพบหินพืดและหินผุในสายทาง ซึ่งต้องระเบิดทิ้งและอยู่นอกเหนือจากแบบและรายการประมูล โจทก์จะต้อง ปฏิบัติตามสัญญาจ้างโดยตกลงเพิ่มเติมงานและคิดราคากับจำเลยใหม่เมื่อโจทก์เพียงแต่สอบถามคณะกรรมการตรวจการจ้างถึงวิธีดำเนินการ แม้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับวิธีการที่จะระเบิดหินและให้ดำเนินการไปได้แต่เมื่อลักษณะงานที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญาเพราะเกี่ยวข้องกับเงินค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมากซึ่งหากจะดำเนินงานต่อไปคู่สัญญาจำต้องทำความตกลงกันใหม่เสียก่อนตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง แต่โจทก์กลับทำข้ามขั้นตอนโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมตกลงด้วยเพราะอุปสรรคที่พบและจำนวนค่าจ้างที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ต้องยกเลิกการจ้างได้ โจทก์จึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเรียกร้องเอาเงินเพิ่มได้ ดังนี้ เป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าจ้างในส่วนงานที่เพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงงานตามสัญญาจ้างและการตกลงเพิ่มเติม: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าจ้างงานเพิ่มหากไม่ได้รับความยินยอม
คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเพียงคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยผู้ว่าจ้างให้ทำหน้าที่แทนผู้ว่าจ้างตามระเบียบสำนักนายก-รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ตามคำสั่งจำเลยที่แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการจ้างและควบคุมงาน ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบตลอดจนควบคุมตรวจรับงานให้ถูกต้องตามสัญญาและรายละเอียดตามแบบแปลนคณะกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยก็มิได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจการจ้างตกลงหรือตัดสินใจแทนจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้าง และการที่โจทก์สำรวจพบหินพืดและหินผุในสายทาง ซึ่งต้องระเบิดทิ้งและอยู่นอกเหนือจากแบบและรายการประมูล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างโดยตกลงเพิ่มเติมงานและคิดราคากับจำเลยใหม่ เมื่อโจทก์เพียงแต่สอบถามคณะกรรมการตรวจการจ้างถึงวิธีดำเนินการ แม้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับวิธีการที่จะระเบิดหินและให้ดำเนินการไปได้แต่เมื่อลักษณะงานที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญาเพราะเกี่ยวข้องกับเงินค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจะดำเนินงานต่อไปคู่สัญญาจำต้องทำความตกลงกันใหม่เสียก่อนตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง แต่โจทก์กลับทำข้ามขั้นตอน โดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมตกลงด้วยเพราะอุปสรรคที่พบและจำนวนค่าจ้างที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ต้องยกเลิกการจ้างได้ โจทก์จึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเรียกร้องเอาเงินเพิ่มได้ ดังนี้ เป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าจ้างในส่วนงานที่เพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาออกแบบตกแต่งภายใน: ความรับผิดส่วนตัวของผู้ว่าจ้าง แม้จะไม่ได้ระบุฐานะตัวแทนบริษัท
แม้ผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาท คือบริษัทค. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ และมีการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินซึ่งเป็นของบริษัท ค. เองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในโดยไม่ได้แจ้งว่ากระทำการในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทเจ้าของอาคาร ดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตามสัญญานั้น จำเลยได้ว่าจ้างให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอและยังไม่ได้รบอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จเมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดพฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจ กำหนดให้โจทก์ได้