พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยปริยายและการจ่ายค่าแรงงานแทนลูกจ้างเดิม
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 11 คูหาโจทก์ได้ก่อสร้างมาระยะหนึ่งก็หยุดไม่ทำต่อไป เมื่อโจทก์ทิ้งงานแล้ว จำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุแสดงเจตนาไว้ว่าไม่ให้โจทก์มาเกี่ยวข้อง ในการก่อสร้างต่อไป และจำเลยได้สอบถามคนงานว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ หัวหน้าคนงานของโจทก์ก็ตอบว่าสามารถทำงานต่อไปได้แม้จะไม่มีโจทก์ก็ตามและได้ทำงานต่อไปจนเสร็จโดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้แก่คนงานดังกล่าว การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานให้จำเลยโดยทิ้งงานไป จำเลยก็แสดงเจตนาที่ไม่ต้องการให้โจทก์ทำงานตามสัญญาต่อไปอีก สัญญาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลย เป็นอันเลิกกันโดยปริยาย หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยมิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยปริยายและการจ่ายค่าแรงงาน
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 11 คูหา โจทก์ได้ก่อสร้างมาระยะหนึ่งก็หยุดไม่ทำต่อไป เมื่อโจทก์ทิ้งงานแล้ว จำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุแสดงเจตนาไว้ว่าไม่ให้โจทก์มาเกี่ยวข้องในการก่อสร้างต่อไป และจำเลยได้สอบถามคนงานว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ หัวหน้าคนงานของโจทก์ก็ตอบว่าสามารถทำงานต่อไปได้แม้จะไม่มีโจทก์ก็ตามและได้ทำงานต่อไปจนเสร็จโดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้แก่คนงานดังกล่าว การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานให้จำเลยโดยทิ้งงานไป จำเลยก็แสดงเจตนาที่ไม่ต้องการให้โจทก์ทำงานตามสัญญาต่อไปอีก สัญญาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลย เป็นอันเลิกกันโดยปริยาย
หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้ คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้
หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้ คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงและลงมือทำงาน แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ผูกพัน
สัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือเพียงแต่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างตามที่จำเลยว่าจ้าง สัญญาจ้างย่อมเกิดขึ้นผูกพันคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามนั้น
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซ่อมรถ: ผู้ว่าจ้างจริงคือโจทก์ จำเลยตกลงรับภาระแทนโจทก์จากผู้ผิดนัด โจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อม
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดยม. ยอมรับผิดต่อโจทก์ต่อมาโจทก์และม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลยเพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม100,000บาทโจทก์และม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่70,000บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์และม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่าม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา30,000บาทส่วนที่เหลือ40,000บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่30มีนาคม2536หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่100,000บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดโดยมีโจทก์และม. ลงชื่อเป็นคู่สัญญาจำเลยกับพ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยานในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าอู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่5มีนาคม2536ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว30,000บาทส่วนที่เหลือ40,000บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจากม. โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อมแม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยคงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และม.ว่าม. จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วยแต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อมทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และม.ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วยแต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมายจ.5โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อมโจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์หาใช่ม. ไม่ เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จและม. ผิดนัดไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ในโจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลยแต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ40,000บาทจากม. เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจากม. ตามที่ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลยข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตามเมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจากม. ได้เนื่องจากม.ไม่ยอมชำระจำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าม. ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างซ่อมรถยนต์: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การรับภาระแทนกัน, และผลของการผิดสัญญา
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดย ม. ยอมรับผิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์และม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลย เพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม 100,000 บาท โจทก์และม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 70,000 บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์และม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่า ม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่ 30 มีนาคม 2536 หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด โดยมีโจทก์และ ม. ลงชื่อเป็นคู่สัญญา จำเลยกับพ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยาน ในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าอู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่5 มีนาคม 2536 ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว 30,000 บาทส่วนที่เหลือ 40,000 บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจาก ม. โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อม แม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลย คงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และม.ว่า ม. จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วยแต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อม ทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ม.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมาย จ.5 โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อม โจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์หาใช่ ม. ไม่ เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และม. ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจาก ม. เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม. ตามที่ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม. ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม. ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างซ่อมรถยนต์: ผู้ว่าจ้างคือโจทก์ จำเลยรับภาระแทนลูกหนี้ โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดย ม.ยอมรับผิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์และ ม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลย เพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม 100,000 บาท โจทก์และ ม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 70,000 บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่า ม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่ 30 มีนาคม 2536 หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด โดยมีโจทก์และ ม.ลงชื่อเป็นคู่สัญญา จำเลยกับ พ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยาน ในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่า อู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่ 5มีนาคม 2536 ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจาก ม.โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อม จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อม แม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลย คงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และ ม.ว่า ม.จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วย แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่า ม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อม ทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ม.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมาย จ.5 โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา ทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อม โจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์ หาใช่ ม.ไม่
เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และ ม.ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาท จาก ม.เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าว แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์ โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม.ตามที่ ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม.ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม.ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และ ม.ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาท จาก ม.เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าว แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์ โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม.ตามที่ ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม.ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม.ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้, สัญญาค้ำประกัน, และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าจากสัญญารับจ้างทำของ: การประเมินประเภทภาษีที่ถูกต้อง และสิทธิในการขอคืนภาษี
จากสาระสำคัญของสัญญาที่ระบุว่า โจทก์ต้องจัดหาพร้อมทั้งติดตั้งหินอ่อนจนสำเร็จโดยช่างที่มีฝีมือชำนาญ และเมื่องานสำเร็จแล้วจะต้องมีการตรวจรับงาน แล้วผู้ว่าจ้างจึงจะให้สินจ้างโจทก์ตอบแทน หากต่อมาเกิดความเสียหายโจทก์ยังต้องมีหน้าที่ทำการแก้ไข ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขในผลงานของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้ว มิได้เกี่ยวข้องกับตัวหินอ่อนที่โจทก์เป็นผู้ผลิตส่งมอบให้แก่ลูกค้า ย่อมเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของ สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญารับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีการค้าในการรับจ้างทำของโดยโจทก์ไม่ได้รับลดหย่อนภาษีการค้าในการค้าประเภทนี้ เนื่องจากบัตรส่งเสริมการลงทุนลดหย่อนให้เฉพาะการค้าประเภทการขายของเท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน เพราะตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้น ตามมาตรา 79 ทวิ(3) แห่ง ป.รัษฎากร ให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ และเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของ การที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าแรง และอื่น ๆ โดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้าง ไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรง จึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า 4 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ ป.รัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีก ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ด้วย เงินได้จำนวน 23,441,571.50 บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของ เงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) การที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์ จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน เพราะตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้น ตามมาตรา 79 ทวิ(3) แห่ง ป.รัษฎากร ให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ และเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของ การที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าแรง และอื่น ๆ โดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้าง ไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรง จึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า 4 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ ป.รัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีก ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ด้วย เงินได้จำนวน 23,441,571.50 บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของ เงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) การที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์ จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การรับจ้างทำของและการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จากสาระสำคัญของสัญญาที่ระบุว่าโจทก์ต้องจัดหาพร้อมทั้งติดตั้งหินอ่อนจนสำเร็จโดยช่างที่มีฝีมือชำนาญและเมื่องานสำเร็จแล้วจะต้องมีการตรวจรับงานแล้วผู้ว่าจ้างจึงจะให้สินจ้างโจทก์ตอบแทนหากต่อมาเกิดความเสียหายโจทก์ยังต้องมีหน้าที่ทำการแก้ไขซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขในผลงานของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับตัวหินอ่อนที่โจทก์เป็นผู้ผลิตส่งมอบให้แก่ลูกค้าย่อมเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของสัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญารับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีการค้าในการรับจ้างทำของโดยโจทก์ไม่ได้รับลดหย่อนภาษีการค้าในการค้าประเภทนี้เนื่องจากบัตรส่งเสริมการลงทุนลดหย่อนให้เฉพาะการค้าประเภทการขายของเท่านั้น โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนเพราะตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้นตามมาตรา79ทวิ(3)แห่งประมวลรัษฎากรให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า1การขายของและเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของการที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ค่าแรงและอื่นๆโดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้างไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรงจึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า4แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ประมวลรัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีกฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)ด้วยเงินได้จำนวน23,441,571.50บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของเงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)การที่จำเลยที่1ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร กรณีการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยมีประเด็นเรื่องรายได้จากการประกอบการค้าและรายได้จากการจ้างทำของ
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียวและในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียวก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดสัมภาระไม่เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนออีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกันดังนั้นหากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกันแม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ไม่มีกฎหมายห้ามคดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เจตนาทำสัญญากับโจทก์2ลักษณะเอกเทศสัญญาคือสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ดังที่มีข้อความระบุไว้ในManagementProposalSection1Contract2AgreementforSale,InstallationandConstruction(สัญญาซื้อขายติดตั้งและก่อสร้าง)ตามเอกสารหมายจ.6หน้า120ว่า"บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์(โจทก์)ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่างTOT(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์นอกจากนี้ในRecordofNegotiationนั้นSummaryofCostตามเอกสารหมายจ.2หน้า209ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็นMainStemsและOptionalStemsโดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไรจำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วยเอกสารหมายจ.2และจ.6นี้เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมายจ.10ข้อโอและข้อไอซึ่งข้อ1ของสัญญาเอกสารหมายจ.10ระบุว่าเป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉะนั้นจะต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขายคือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์แยกต่างหากจากกันเป็น2ลักษณะเอกเทศสัญญาและแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้างหาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า6เดือนจึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อง5.2(ซ)แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้นความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่ากรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ5.1แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า6เดือนก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่ากับหาได้มีความหมายว่าสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ไปด้วยไม่ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคาซี.ไอ.เอฟ.ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขายณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเองอันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของจึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยโจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยมตามบังคับข้อ7.1แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่18)พ.ศ.2505มาตรา3เมื่อปรากฎว่ารายรับจำนวน41,026,412.58บาทที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นโจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์จำนวน32,473,226.58บาทที่องค์การโทรศํพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรงส่วนอีกจำนวน8,553,186บาทนั้นโจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้างค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้าแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลังเพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58บาทเป็นรายรับตามสัญญาซื้อขายเจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ไม่ได้เพราะไม่ใช้กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆของเงินจำนวน8,553,186บาทอันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน427,659.30บาทเมื่อหักค่าภาษีหักณที่จ่ายจำนวน410,264.17บาทออกให้แล้วโจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน17,395.13บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับจำนวน149,023,234.30บาทและ272,231,011.52บาทนั้นโจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยจึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆในอัตราร้อยละ5ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)จึงชอบแล้ว ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525นั้นเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้412,026,412.58บาทซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58บาทที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน8,553,186บาทเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525เพียงจำนวน106,908.16บาทส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527นั้นเนื่องจากไม่ปรากฎว่ายอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยม เข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม แล้วยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณที่จ่ายและนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม กรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หักณที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน2525จำนวนเพียง8,553,186บาทแต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า2เท่าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(2)กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย