คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 587

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีจากการแยกสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ สัญญาต่างประเทศ สถานประกอบการถาวร
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียว และในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียว ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนอ อีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกัน ดังนั้น หากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกัน แม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ ไม่มีกฎหมายห้าม คดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญากับโจทก์ 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา คือ สัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ ดังที่มีข้อความระบุไว้ใน ManagementProposal Section 1 Contract 2 Agreement for Sale,Installationand Construction (สัญญาซื้อขาย ติดตั้ง และก่อสร้าง) ตามเอกสารหมาย จ.6หน้า 120 ว่า " บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์ (โจทก์) ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่าง TOT (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์ นอกจากนี้ใน Record of Negotiation นั้น Summary of Cost ตามเอกสารหมายจ.2 หน้า 209 ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็น Main Stems และ OptionalStems โดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไร จำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วย เอกสารหมาย จ.2 และ จ.6 นี้ เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ข้อ โอ และข้อ ไอ ซึ่งข้อ 1 ของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ระบุว่า เป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ฉะนั้นจึงต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขาย คือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้าง ติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ แยกต่างหากจากกันเป็น 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา และแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้าง หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5.2 (ซ) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้น ความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า กรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ 5.1 แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 6 เดือน ก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่านั้น หาได้มีความหมายว่า สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขาย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ไปด้วยไม่ ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ. ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขาย ณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเอง อันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของ จึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม ตามบังคับข้อ 7.1 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยม เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่า รายรับจำนวน 41,026,412.58 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 32,473,226.58 บาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรง ส่วนอีกจำนวน 8,553,186 บาท นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้า แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลัง เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58 บาท เป็นรายรับตามสัญญาซื้อขาย เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของเงินจำนวน 8,553,186 บาท อันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น คำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน 427,659.30 บาท เมื่อหักค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 410,264.17 บาทออกให้แล้ว โจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน 17,395.13 บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับ จำนวน 149,023,234.30 บาทและ 272,231,011.52 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ตามป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) จึงชอบแล้ว
ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 นั้น เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้ 41,026,412.58 บาท ซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58 บาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 8,553,186 บาท เท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 เพียงจำนวน 106,908.16 บาท ส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏว่า ยอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีก สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมกรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างไม่
โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2525 จำนวนเพียง8,553,186 บาท แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้ จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า 2 เท่า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (2) กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเลิกกัน การชดใช้ค่างานที่ทำเสร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่าได้ทำงานไป2เดือนเป็นเงิน1ล้านบาทซึ่งเป็นไปตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ข้อ3แล้วว่ากำหนดงวดละ30วันส่วนที่ว่าโจทก์ได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างก็ดีได้เนื้องานเท่าใดก็ดีเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านี้นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยที่1ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งแต่เนื่องจากโจทก์ได้ทำงานถางป่าให้จำเลยที่1แล้วจึงไม่อาจให้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้กรณีต้องบังคับตามมาตรา391วรรคสามที่บัญญัติว่า"ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นการที่จะชดใช้คืนท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นไว้"ดังนั้นจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จะต้องร่วมกันใช้เงินให้แก่โจทก์แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัย: ความรับผิดต่อรถยนต์ที่จอดในบริเวณที่ดูแล ความประมาทเลินเล่อ
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยจำเลยจะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทั้งหมดภายในและภายนอกห้ามพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยมีหน้าที่ดูแลรถยนต์ทุกคันที่นำมาจอดรับมอบและเก็บรักษากุญแจรถไว้และพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดูแลทรัพย์สินของห้างในบริเวณโรงงานและรถยนต์ที่จอดอยู่นอกโรงงานด้วยและต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ทุกๆชั่วโมงการที่ว.นำรถไปจอดแล้วนำกุญแจรถมามอบให้แก่ส.พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยและส.รับมอบกุญแจรถไว้โดยมิได้ทักท้วงซึ่งแสดงว่าว.นำรถไปจอดในเขตความรับผิดชอบดูแลของพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยแล้วต่อมามีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไปแสดงว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาจ้างและข้อตกลงการจ่ายโบนัส จำเป็นต้องมีพยานบุคคลยืนยันความแท้จริงของเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงาน โครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจาก ก.จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลย คู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือ ซ. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดี คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้น ๆ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาและการรับผิดในสัญญาจ้างเหมา โจทก์ต้องมีหลักฐานยืนยันการทำสัญญาและข้อตกลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจากก.จำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลยคู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือซ. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดีคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้นๆเว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้วดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าเอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างเพิ่มเติม: ศาลไม่วินิจฉัยเกินคำขอ แม้ถ้อยคำในฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์รื้อถอนต่อเติมซ่อมแซมและทาสีอาคารของจำเลย ในระหว่างก่อสร้างจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ตกลงไว้เดิม รวมเงินค่าจ้างทั้งงานเดิมและงานเพิ่มเติมเป็นเงิน 811,722 บาท จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จ550,000 บาท ทั้งงานที่ตกลงว่าจ้างครั้งแรกกับงานที่เพิ่มเติมภายหลังโจทก์ได้ทำแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างงานส่วนที่เพิ่มเติมเป็นเงิน261,722 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 261,722 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่เรียกเอาเงินค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่นั่นเอง เพียงแต่โจทก์อาจใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยเองก็เบิกความว่า เงินค่าจ้างจำนวน 550,000 บาทที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปนั้น ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นค่างานปกติ ส่วนใดเป็นค่างานที่เพิ่มเติม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระ จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9100/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาแบ่งผลประโยชน์: ศาลฎีกายกฟ้องศาลชั้นต้น เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นและประเภทสัญญาไม่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 คดีจึงมีประเด็นเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตามมาตรา 601เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงไม่ชอบ สัญญาเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนสำหรับไก่ ให้จำเลยที่ 1 เลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนซึ่งจำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ คงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่หากมูลค่าไก่ อาหารไก่ ยาและวัคซีนสูงกว่ามูลค่าไก่ใหญ่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินส่วนที่ขาดให้โจทก์เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน มิใช่สัญญาจ้างทำของสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเลิกกันด้วยความยินยอม โจทก์ต้องใช้ค่าจ้างตามรูปคดี จำเลยต้องคืนส่วนที่เหลือ
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัทตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่าบริษัทมีกรรมการ4คนจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดีจำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว. ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงานส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้างจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทแม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัทแต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรา391วรรคสองวรรคสามและวรรคสี่โดยเฉพาะในวรรคสามโจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่จำเลยต้องคนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การผูกพันของกรรมการบริษัท และการใช้สิทธิคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัท ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่า บริษัทมีกรรมการ 4 คน จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ: การสั่งทอผ้าและการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น การซื้อขาย ต่างจากการรับจ้างทำของตรงที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการรับจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ซึ่งในเรื่องจ้างทำของนั้น ป.พ.พ. มาตรา 592 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้ว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา และมาตรา 605 กำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างไว้ว่าถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญา คดีนี้ การติดต่อสั่งทอผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยในครั้งแรก ๆ ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ ต่อมาจึงสั่งทอด้วยวาจาโดยจำเลยสั่งโจทก์ให้ทอผ้าตามลายที่จำเลยกำหนดโดยกำหนดจำนวนที่จำเลยต้องการแน่นอน ข้อตกลงในการส่งมอบผ้าและการชำระราคายังเป็นไปตามที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาและในการทอผ้าตามที่จำเลยสั่ง โจทก์จะแจ้งให้ผู้อื่นเป็นผู้ทอให้ ในระหว่างที่มีการทอผ้าจำเลยไม่ได้เข้าไปควบคุมตรวจตราการทอและจะบอกยกเลิกการทอไม่ได้ ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ทอผ้าหลายครั้ง การสั่งทอผ้าครั้งใดที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท และไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 สำหรับผ้าที่มีการสั่งทอในครั้งดังกล่าวไม่ได้
of 61