คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 587

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร และการคิดดอกเบี้ยจากการต่อสู้คดีไม่สุจริต
กิจการที่ล. ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ7มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ล. เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานๆใดมาสืบได้ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85บัญญัติไว้เมื่อณและกพยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงย่อมไม่ต้องห้ามรับฟังทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดงดังนั้นการสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้วโดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94(ข) จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริตการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง142(6)พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันฟ้องจึงเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การรับฟังพยานหลักฐานการส่งมอบสินค้า และการต่อสู้คดีที่ไม่สุจริต
กิจการที่ ล.ตัวแทนเชิดของจำเลยจ้างโจทก์ผลิตฟองน้ำวิทยาศาสตร์ให้จำเลยโดยใช้สัมภาระที่โจทก์จัดหาให้นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่ง ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 7 มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดการที่ ล.เป็นตัวแทนจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำต้องมีหลักฐานที่ทำเป็นหนังสือมาแสดง
โจทก์ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยรับไว้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 85 บัญญัติไว้ เมื่อ ณ และ ก พยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลย ตามที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง ย่อมไม่ต้องห้ามรับฟัง ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดง ดังนั้น การสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้รับของตามใบส่งของดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว โดยที่ใบส่งของดังกล่าวไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ ก็ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยต่อสู้คดีโดยไม่สุจริต การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามป.วิ.พ. 142(6) พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาและการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องจำนวนค่าตอบแทน ศาลมีอำนาจกำหนดตามผลงาน
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครง-การทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลย-ที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษาทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครงการทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ แม้ไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง แต่ได้ประโยชน์จากผลงาน มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร อายุความต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างจากการทำงานแม้ไม่มีสัญญาจ้าง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความ
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลย และจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วน แม้โจทก์อ้างวันที่ชำระไม่ตรงกับเอกสาร
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526ถือว่าจำเลยที่1รับสภาพหนี้ต่อโจทก์เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ทั้งยังแก้อุทธรณ์ว่าเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่1ชำระเงินบางส่วนให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่14กรกฎาคม2526หาได้ไม่เพราะเป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่าในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526ถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2526และครบ2ปีในวันที่11กรกฎาคม2528โจทก์ฟ้องคดีวันที่12กรกฎาคม2528จึงขาดอายุความ
of 61