พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความโดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนจากทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นการพนัน
ตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวออกใช้บังคับมิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ส่วนข้อตกลงที่ให้คิดค่าทนายความเป็นร้อยละของทุนทรัพย์ และลดส่วนลงหากบังคับคดีได้เพียงบางส่วน หรือมีการประนีประนอมยอมความกัน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความจึงไม่เป็นโมฆะ และตามสัญญาจ้างว่าความเมื่อไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค และไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่ทนายความต้องลงแรงว่าต่างให้แก่ลูกความจึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 853 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน และการเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาจ้างทำของไม่ต้องกระทำตามแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในรายการเพิ่มเติมมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมและมีการเพิ่มงานมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าราคาค่าก่อสร้างจะต้องเพิ่มขึ้นกว่าราคาเดิมอย่างมาก ประกอบกับเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแบบจะต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์เสียก่อน จึงฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องชุดตามรายการเพิ่มเติมโครงการจริง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต่อโจทก์
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน
สัญญาจ้างทำของ กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เพียงแต่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น แม้เอกสารตามที่โจทก์อ้างจะไม่มีลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้าง ก็ใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้โจทก์ทำการดังกล่าวหรือไม่ได้
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทธุรกรรมเป็น 'จ้างทำของ' ไม่ใช่ 'ซื้อขาย' และผลกระทบต่อการเสียอากรแสตมป์
โจทก์ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์โดยในการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ดังกล่าว โจทก์ต้องผลิตตามแบบแม่พิมพ์ที่ทางบริษัท ซ. ซึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ร้อยละเก้าสิบห้ากำหนดขึ้น เป็นการผลิตตามแบบรูปทรงและขนาดที่บริษัท ซ. ต้องการและกำหนดให้โจทก์ทำขึ้น โจทก์ต้องผลิตให้แล้วเสร็จตามที่บริษัท ซ. ต้องการโดยมิได้ตีตราหรือยี่ห้อของโจทก์ไว้และโจทก์มิได้นำออกจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการรับจ้างหล่อโลหะ (ชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ (ไม่สำเร็จรูป) และเหล็กหล่ออื่น ๆ ) เท่านั้น เมื่อโจทก์ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์เสร็จและส่งมอบให้บริษัท ซ. โจทก์จะระบุถึงรายละเอียดในการส่งของไว้ตามเอกสารว่าเป็นใบส่งของ และระบุไว้ด้วยว่าส่งตามใบจ้างทำของของบริษัท ซ. พฤติการณ์ต่าง ๆ เห็นได้ชัดว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการรับจ้างทำของ ไม่ใช่เป็นเรื่องการซื้อขายดังที่โจทก์อุทธรณ์
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตรายได้จากการขายที่ดินและอาคาร: สัญญาพัฒนาที่ดินและการเสียภาษี
ตามหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. จำกัด มีข้อความระบุแต่เพียงว่าให้บริษัท ส. จำกัด จำหน่าย ที่ดินของโจทก์ให้แก่บุคคลทั่วไปได้โดยให้ทำการจำหน่ายเป็นแปลงย่อย ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าโจทก์ว่าจ้างให้ บริษัท ส. จำกัด ก่อสร้างอาคารให้แก่โจทก์ แต่กลับปรากฏข้อความว่าบรรดาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคภายในบริเวณที่ดินของโจทก์นั้น บริษัท ส. จำกัด เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น อีกทั้งตามปกติแล้วสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารจะต้องมีแบบแปลน รายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างรวมทั้งสินจ้างด้วย จึงจะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถึงแม้ในหนังสือสัญญาจะมีข้อความบางตอนว่าโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด รับเหมาก่อสร้างและ จัดจำหน่าย แต่ผู้เดียวก็ตามจะฟังว่าหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ได้
โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารที่ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เลยไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ทำโครงการขาย หรือรับเงินจากผู้ซื้อ โจทก์เพียงแต่มอบอำนาจให้พนักงานของบริษัท ส. จำกัด ไปโอนที่ดินและอาคารที่ปลูกอยู่บน ที่ดินของโจทก์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น และบริษัท ส. จำกัด ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนรายรับจากการขายอาคารต่อ เจ้าพนักงานของจำเลยในนามของบริษัท ส. จำกัด แล้ว เมื่อโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด เข้ามาลงทุนพัฒนาที่ดินและจำหน่ายที่ดินแทนโจทก์ โดยบริษัท ส. จำกัด ได้รับผลประโยชน์จากการขายอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ และผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากสัญญาดังกล่าว คือสามารถขายที่ดินได้ในราคาที่โจทก์กำหนดโดยไม่ต้องลงทุนเท่านั้น บริษัท ส. จำกัด จะขายอาคารแล้วมีผลกำไรหรือขาดทุนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ ดังนั้น รายรับจากการขายอาคารบนที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของบริษัท ส. จำกัด มิใช่รายรับของโจทก์ โจทก์คงมีรายรับจากการขายที่ดินเพียงอย่างเดียวเป็นเงิน 9,336,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในปี 2537 จากยอดรายรับดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับซึ่งคำนวณจากราคาที่ดินและอาคารรวมกันจึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารที่ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เลยไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ทำโครงการขาย หรือรับเงินจากผู้ซื้อ โจทก์เพียงแต่มอบอำนาจให้พนักงานของบริษัท ส. จำกัด ไปโอนที่ดินและอาคารที่ปลูกอยู่บน ที่ดินของโจทก์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น และบริษัท ส. จำกัด ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนรายรับจากการขายอาคารต่อ เจ้าพนักงานของจำเลยในนามของบริษัท ส. จำกัด แล้ว เมื่อโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด เข้ามาลงทุนพัฒนาที่ดินและจำหน่ายที่ดินแทนโจทก์ โดยบริษัท ส. จำกัด ได้รับผลประโยชน์จากการขายอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ และผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากสัญญาดังกล่าว คือสามารถขายที่ดินได้ในราคาที่โจทก์กำหนดโดยไม่ต้องลงทุนเท่านั้น บริษัท ส. จำกัด จะขายอาคารแล้วมีผลกำไรหรือขาดทุนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ ดังนั้น รายรับจากการขายอาคารบนที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของบริษัท ส. จำกัด มิใช่รายรับของโจทก์ โจทก์คงมีรายรับจากการขายที่ดินเพียงอย่างเดียวเป็นเงิน 9,336,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในปี 2537 จากยอดรายรับดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับซึ่งคำนวณจากราคาที่ดินและอาคารรวมกันจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874-3878/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของ: การแยกสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้าง และการเริ่มต้นระยะอายุความ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับ ช. และ อ. และได้ทำสัญญาต่อเติมตกแต่งอาคารกับโจทก์ โดยคำฟ้องของโจทก์แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเป็นเรื่องจ้างทำของ และสภาพแห่งข้อหาคือ ไม่ชำระเงินค่าว่าจ้างให้ครบตามสัญญา โดยไม่ได้กล่าวอ้างถึงนิติสัมพันธ์ตามสัญญาอื่นรวมอยู่กับสัญญาว่าจ้างต่อเติมตกแต่งอาคารด้วย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมี ช. กับ อ. เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย แต่สัญญาว่าจ้างต่อเติมตกแต่งอาคารมีโจทก์เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้รับจ้าง สัญญาทั้งสองฉบับไม่ปรากฏว่ามีข้อความใด ๆ ที่อ้างถึงสัญญาอีกฉบับหนึ่งหรือระบุให้เห็นว่าสัญญาทั้งสองฉบับมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นสัญญาทั้งสองฉบับจึงแยกต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาว่าจ้างต่อเติมตกแต่งอาคารซึ่งอยู่ในลักษณะจ้างทำของ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอยู่ในลักษณะซื้อขาย การนำสัญญาทั้งสองฉบับมารวมกันแล้วถือว่าเป็นสัญญาฉบับเดียวกัน ย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้กำหนดลักษณะของสัญญาแต่ละชนิดไว้ ดังนั้นในระหว่างโจทก์กับจำเลย การปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญากับการบังคับตามสัญญาต้องเป็นไปตามลักษณะจ้างทำของ จึงต้องใช้อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยดัดแปลงภาพถ่ายโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีเจตนาค้ากำไรโดยตรง
โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเป็นผู้คิดสร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมขึ้นมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามมาตรา 6,8 และ 15 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯส่วนจำเลยจะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นเพราะโจทก์สร้างสรรค์งานนี้โดยการรับจ้างจำเลยหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 10
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาติดตามทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิใช่โมฆะหรือโมฆียะ แต่เป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้
ข้อสัญญาให้โจทก์มีหน้าที่ติดตามรวบรวมทรัพย์สินของ อ.เพื่อนำเข้ากองทรัพย์สินของ อ. และระบุถึงมูลเหตุที่ทำให้จำเลยยินยอมจ่ายค่าบำเหน็จให้โจทก์ว่า การรวบรวมทรัพย์สินมีความ ยากลำบากต่อการสืบเสาะค้นหาทรัพย์สินและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง การทำงานของโจทก์จึงกระทำไปเพื่อ ประโยชน์ของจำเลยและเจ้าหนี้อื่นโดยตรง ข้อสัญญาจึงมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นสัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้ประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: คำให้การไม่ชัดเจนถือเป็นประเด็นข้อพิพาท และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ทราบและไม่รับรองว่า ป. เป็นผู้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือไม่ และตกลงค่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่า ป. ไม่ได้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองโดยให้ค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ถือได้ว่าเป็นคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายโดยมีส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดหลักจริยธรรมและขัดต่อความสงบเรียบร้อย
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หลายประการ รวมทั้งการห้ามมิให้ผู้ที่มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นอย่างผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตน ในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลย จะได้รับแบ่งมานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วย หลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความ ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความอย่าง พ.ร.บ.ทนายความสองฉบับก่อน แต่การวางระเบียบบังคับแก่ทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน การที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ อย่าง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลจะลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลให้ข้อสัญญาซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความกลับมี ความสมบูรณ์แต่ประการใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2542)