คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 587

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การแบ่งงานเป็นส่วนๆ และอายุความในการเรียกร้องค่าจ้าง
ข้อกำหนดในการชำระเงินตามสัญญาจ้างข้อ 6.1 ระบุว่าผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ตามปริมาณงานที่ทำแล้วเสร็จตามแบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีข้อความระบุให้เห็นชัดว่าโจทก์และจำเลย ได้ตกลงแบ่งเนื้องานที่จะรับส่งกันเป็นส่วนอย่างไร มีปริมาณงานแต่ละส่วนเท่าใด และระบุค่าจ้างของงานแต่ละส่วนเป็นจำนวนเท่าใด ตารางรายละเอียดมูลค่าจ้างเหมาก็เป็นเพียงวิธีการคิดจำนวนค่าจ้าง ไม่ใช่การแบ่งเนื้องานออกเป็นส่วน ๆ ประกอบกับสัญญาจ้างข้อ 6.2 ระบุว่าให้ผู้รับจ้างต้องรายงานผลการปฏิบัติงานที่แล้วเสร็จทุกวันสิ้นเดือนเพื่อส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้าง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จนั่นเอง ไม่ใช่กรณีการจ้างเหมาที่มีกำหนดว่าจะส่งรับงานกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุสินจ้างไว้เป็นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้เมื่อจำเลยรับมอบงานที่เป็นผลสำเร็จแห่งการที่โจทก์ทำตามมาตรา 587

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพิกถอนพินัยกรรม: ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้อ้างในชั้นต้น
จำเลยเป็นบุตรนาง จ. เดิม จ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่ น.ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาจำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการเพื่อให้ จ.เพิกถอนพินัยกรรมฉบับดังกล่าว โจทก์ได้เกลี้ยกล่อมจน จ.ยอมเพิกถอนพินัยกรรมและทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลย ถือว่าโจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างเสร็จแล้ว สัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพิกถอนพินัยกรรม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม แม้มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นต้น
จำเลยเป็นบุตรนาง จ. เดิม จ. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่ น. ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาจำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการเพื่อให้ จ. เพิกถอนพินัยกรรมฉบับดังกล่าว โจทก์ได้เกลี้ยกล่อมจน จ. ยอมเพิกถอนพินัยกรรมและทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลย ถือว่าโจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างเสร็จแล้ว สัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นแต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดี
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดีทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นต้น จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนและไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแบบปรับราคาได้: การคำนวณราคาค่างานเพิ่มจากสัญญาสัญญาใหม่ที่แก้ไขราคาเดิม
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เดิมระบุค่าก่อสร้าง 18,540,000 บาท และมีสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเดิมอีกสัญญาหนึ่ง โดยทำเป็นข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาดังกล่าวให้มีการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้มาใช้ ต่อมาโจทก์และจำเลยได้มีการทำสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเป็นฉบับที่สามตกลงราคาค่าก่อสร้างเป็น 26,011,005 บาท จึงเป็นสัญญาแก้ไขสัญญาเดิมในเรื่องราคาค่าก่อสร้างเป็นสำคัญ และได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวด้วยว่างานตาม สัญญานี้เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ การคิดคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้จึงต้องคิดจากยอดเงินตาม สัญญาฉบับที่สามโดยใช้ดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ วันที่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย เปรียบเทียบกับวันที่ได้ เสนอราคาใหม่ เมื่อสัญญาฉบับที่สามเป็นการแก้ไขสัญญาเดิมโดยยกเลิกราคาก่อสร้างจากสัญญาเดิมมาเป็นราคาตามสัญญาใหม่ ซึ่งเป็นราคาที่มากกว่าเดิมถึง 7,000,000 เศษ ราคาใหม่เป็นราคาคิดตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่ได้เสนอราคาใหม่บวกกำไรไว้ด้วยแล้ว ฉะนั้นเมื่อมีการส่งมอบงานและจะขอให้มีการจ่ายค่างานเพิ่มจึงย่อมหมายถึงจำนวน 26,011,005 บาท ตามสัญญาใหม่ หาใช่จำนวน 18,540,000 บาท ตามสัญญาเดิม ซึ่งคู่สัญญาตกลงยกเลิกไปแล้วไม่ ดังนั้น การคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้โดยเปรียบเทียบกับดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่โจทก์ได้เสนอราคาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย: สิทธิการปรับเพิ่มราคาตามประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และการพิสูจน์ข้อตกลงการใช้บริการวิทยุสื่อสาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และการไม่มีลักษณะบังคับบัญชาในสัญญาจ้าง
จำเลยให้การว่า อ.ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ.เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้วตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงาน วันเวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์และการลงโทษซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและมีชื่อ อ.ในทะเบียนลูกจ้างโจทก์ แต่กลับได้ความว่า อ.รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้าน อ.และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ.แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ.ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์เป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ.ดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: สัญญาจ้างต้องมีสาระสำคัญและมีการควบคุมดูแล
จำเลยให้การว่า อ. ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้ว
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและจ้างติดตั้ง: การประเมินภาษีถูกต้องตามประเภทสัญญา
ในการตีความในสัญญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา ประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
of 61